Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45904
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรัทยา แจ้งกระจ่าง-
dc.contributor.authorปฐมพงศ์ หอมวิเชียรen_US
dc.date.accessioned2018-03-26T04:05:06Z-
dc.date.available2018-03-26T04:05:06Z-
dc.date.issued2557-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45904-
dc.description.abstractThe study on behavior of people in Mueang Lamphun district towards waste management aimed to explore behavior of people in the studied area towards waste management. In order to collect data, questionnaires were distributed, according to the convenient sampling method, to400 people residing in Mueang Lamphun district. Then, data obtained were analyzed by the application of descriptive statistics, consisting of frequency, percentage and means. Hereafter were shown summary of the findings. The results presented that most respondents were male in the age of 20-30 years old with Bachelor’s degree. They were students with an income of 5,001-10,000 Baht. They or their family member owned the house where they lived and the house was found as a detached house with 2-3 members. They had perceived knowledge on waste and its management before and sources of information introducing this knowledge to them were television programs, school, educational institutes and government units. The findings on level of behavior towards waste management revealed that in an overall view, all 3 behavioral aspects: reuse, waste reduction, and waste sorting were ranked respectively at the moderate level. In an aspect of reuse, the top three behavioral sub-aspects were 1) collecting used-plastic bags nicely in order to reuse them later, 2) reusing the packages like plastic and glass bottles, and 3) collecting junk cloths, stuff and utensils and donating them for other’s benefits or to charity organizations. In an aspect of waste reduction, the top three behavioral sub-aspects were 1) purchasing refilled products, 2) purchasing products and services from shops promoting policy on and going along with waste reduction campaign, and 3) coordinating with community and municipality to reduce the waste. In an aspect of waste sorting, the top three behavioral sub-aspects were 1) having waste sorted by all family members before throwing, 2) throwing wastes into the right types of garbage containers, and 3) separating hazardous wastes to clearly indicate dustmen to beware of them. The findings on level of opinions towards waste management presented that in an overall view, people in Mueang Lamphun district ranked their opinions towards waste management at high level. Their top three opinions were respectively listed as follows. 1) Waste sorting made waste collecting simply and strengthened household and community’s sanitations. 2) Selling recycle wastes was not a shameful practice. 3) Waste management was considered as the base to establish discipline on environment preservation among people and youth in the community and environmental problems could be solved out by applying 3 R methods: Reuse, Reduce, and Recycle.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectพฤติกรรมen_US
dc.subjectประชาชนen_US
dc.subjectการจัดการขยะen_US
dc.titleพฤติกรรมของประชาชนในอำเภอเมืองลำพูนในการจัดการขยะen_US
dc.title.alternativeBehavior of People in Mueang Lamphun District Towards Waste Managementen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc363.728-
thailis.controlvocab.thashขยะ -- เมือง (ลำพูน)-
thailis.controlvocab.thashพฤติกรรมผู้บริโภค -- เมือง (ลำพูน)-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 363.728 ป136พ-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาพฤติกรรมของประชาชนในอำเภอเมืองลำพูนในการจัดการขยะมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของประชาชนในอำเภอเมืองลำพูนในการจัดการขยะโดยใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่อาศัยในเขตอำเภอเมืองจังหวัดลำพูน จำนวน 400 ราย โดยใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวกและนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ซึ่งสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้ จากการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 20-30 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพนักเรียนนักศึกษา ระดับรายได้ 5,001-10,000 บาท มีจำนวนสมาชิกในครอบครัว 2-3 คน การถือครองที่อยู่อาศัยโดยเป็นบ้านของตนเองหรือครอบครัว ประเภทที่พักอาศัยเป็นบ้านเดี่ยว ส่วนใหญ่ เคยได้รับข่าวสารเกี่ยวกับความรู้และวิธีการจัดการ-ขยะ โดยรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากแหล่งข้อมูล ได้แก่ รายการโทรทัศน์ โรงเรียน สถาบันการศึกษาและหน่วยงานราชการ ผลการศึกษาระดับของพฤติกรรมที่มีต่อการจัดการขยะในภาพรวมทั้ง 3 ด้านอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่การนำกลับมาใช้ใหม่ การลดการเกิดขยะและการคัดแยกขยะ ตามลำดับ ด้านการนำกลับมาใช้ใหม่ ระดับพฤติกรรมรายข้อ 3 ลำดับแรก คือ 1) เก็บถุงพลาสติกที่ใช้แล้วอย่างเป็นระเบียบเพื่อนำกลับมาใช้อีกครั้งหนึ่ง 2) นำบรรจุภัณฑ์ ประเภทขวดพลาสติก ขวดแก้ว นำกลับมาใช้ประโยชน์ซ้ำ และ3) เก็บเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม สิ่งของ เครื่องใช้ ที่ไม่ใช้แล้ว และนำไปบริจาคเพื่อเป็นประโยชน์แก่บุคคล หรือ องค์กรการกุศล ด้านการลดการเกิดขยะ ระดับพฤติกรรมรายข้อ 3 ลำดับแรก คือ 1)เลือกซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ชนิดเติม (Refill) 2) ตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าที่มีนโยบายและร่วมมือในการลดปริมาณขยะมูลฝอย 3) ให้ความร่วมมือกับชุมชน เทศบาล ในการช่วยกันลดขยะ ด้านการคัดแยกขยะ ระดับพฤติกรรมรายข้อ 3 ลำดับแรก คือ 1) สมาชิกในครอบครัวแยกขยะประเภทต่าง ๆ ก่อนทิ้ง 2) ทิ้งขยะลงถังแบ่งตามประเภท และ 3) แยกขยะอันตรายมีพิษ เพื่อให้ผู้เก็บขยะสังเกตได้อย่างชัดเจน ผลการศึกษาระดับของความคิดเห็นของประชาชนในเขตอำเภอเมืองลำพูนต่อการจัดการขยะ ในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก โดยระดับความคิดเห็นรายข้อ 3 ลำดับแรก คือ 1) การคัดแยกขยะทำให้ง่ายต่อการจัดเก็บและสร้างสุขอนามัยให้กับครัวเรือนและชุมชน 2) การจำหน่ายขยะรีไซเคิลเป็นเรื่องไม่น่าอาย3) การจัดการขยะเป็นการสร้างวินัยให้กับคนในชุมชน เยาวชน ในการรักษาสิ่งแวดล้อม และ ปัญหาสิ่งแวดล้อมสามารถแก้ไขโดย วิธี 3 R ได้แก่ Reuse การใช้ซ้ำ Reduce การลดการใช้ และ Recycle การนำกลับมาใช้ใหม่en_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT243.5 kBAdobe PDFView/Open
APPENDIX.pdfAPPENDIX419.44 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1249.06 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2295.88 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3425.06 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 4996.75 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5468.39 kBAdobe PDFView/Open
CONTENT.pdfCONTENT236.51 kBAdobe PDFView/Open
COVER.pdfCOVER997.04 kBAdobe PDFView/Open
REFERENCE.pdfREFERENCE245.71 kBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.