Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65114
Title: วัฒนธรรมการบรรเลงดนตรีไทใหญ่ จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Tai Yai’s Musical Performing Culture in Chiang Mai Province
Authors: ขำคม พรประสิทธิ์
Authors: ขำคม พรประสิทธิ์
Issue Date: 2559
Publisher: คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract: งานวิจัยเรื่องวัฒนธรรมการบรรเลงดนตรีไทใหญ่ จังหวัดชียงใหม่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบรรเลงดนตรีไทใหญ่ที่ปรากฏในจังหวัดเชียงใหม่และรวบรวมทำนองเพลง ผลการวิจัยพบการอ่านธรรมการเฮ็ดความ การตีกลองก้นยาว การตีกลองมองเซิง การเป่าปี่นํ้าเต้า การดีดติ่งตุม การตีสีคาบและการบรรเลงวงดนตรีที่เรียกว่าดนตรีจ้าดไต และยังพบว่าจังหวัดเชียงใหม่ มีการบรรเลงดนตรีไทใหญ่ที่มีความเข้มแข็งมากที่สุดจังหวัดหนึ่งในประเทศไทยด้วย การศึกษาการบรรเลงดนตรีไทใหญ่พบว่าการตีกลองก้นยาวมีการใช้เครื่องกำกับจังหวะขึ้นต้นทุกครั้ง สำนวนช่วงลงจบการตีกลองก้นยาวไม่ว่าจะตีด้วยวัตถุประสงค์ใดจะลงจบด้วยเสียงปิดหรือการหยุดเสียงด้วยการตีกดลงบนหน้ากลองทั้งสิ้น และกระสวนทำนองกลองเมื่อนำไปใช้ต่างโอกาสสามารถนำมาตีทดแทนกันไปมาได้ การตีกลองมองเซิง มีลักษณะที่โดดเด่นคือขึ้นต้นด้วยเสียงฉาบเป็นอันดับแรกเพื่อลักษณะเสียงที่อ่อนหวาน เสียงกลองมองเซิงได้แก่ “เสียงตึง” จะตีพร้อมกับเสียงมอง และลักษณะกระสวนทำนองกลองมองเซิงปรากฏ 6 กระสวนหลัก การเป่าปี่น้ำเต่าพบลักษณะการการเป่าทำนองยาวๆ โดยไม่มีจังหวะเข้ามาควบคุม ทำนองส่วนใหญ่ใช้เสียงทางเสียงสูงและมีการรวบเสียงการดีดติ่งตุม เป็นการดีดไม้ไผ่ด้วยมือขวาและมือซ้ายประกอบกันเพื่อเลียนแบบให้เกิดเป็นทำนองอย่างกลองก้นยาวและกลองมองเซิง โดยมือขวาจะดีดยืนเป็นเสียงมอง มือซ้ายดำเนินทำนองกลอง การตีสีคาบเป็นลักษณะการกำกับจังหวะหนัก เช่นเดียวกับการตีกรับในวงดนตรีไทย เพื่อให้การบรรเลงรวมวงเกิดความหนักแน่น และเพื่อเป็นจังหวะให้กับนักดนตรีทุกคนสามารถบรรเลงได้พร้อมเพรียงกัน การศึกษาและรวบรวมทำนองเพลงที่ปรากฏพบว่า การอ่านธรรม ถือได้ว่าเป็นภูมิปัญญาไทใหญ่ โดยผู้สูงอายุที่ได้รับการยอมรับในสังคม ใช้เป็นสื่อในการสอนคนในสังคมและเยาวชนให้เป็นคนดี การอ่านธรรมมีการใช้เสียงน้อยที่สุด 3 เสียงและใช้เสียงมากที่สุดไม่เกิน 5 เสียง ทำนองส่วนใหญ่เมื่อขึ้นต้นด้วยเสียงใดจะจบทำนองสุดท้ายด้วยเสียงเดิม การดำเนินทำนองยังพบการลากเสียงไหลเป็นคู่ 2 คู่ 3 คู่ 5 และพบว่าการลากเสียงลูกตกของทำนองเพลงห้องที่ 3 การเฮ็ดความ แบ่งทำนองออกเป็น 4 วรรค แต่ละวรรคมีแนวการบรรเลงแตกต่างกัน วรรคแรกจังหวะช้า วรรคที่ 2 จังหวะ “ช้า-เร็ว-ช้า” วรรคที่ 3 จังหวะเร็วขึ้น 1 เท่าตัวจากวรรคที่ 1 วรรคสุดท้ายเป็นทำนองลงจบมีลีลาคล้ายการพูดและจบท้ายด้วยการลากเสียงร้องยาว ส่วนเสียงของลูกตกวรรคที่ 1 วรรคที่ 2 และวรรคที่ 4 เป็นเสียงเดียวกันคือเสียงซอล ส่วนวรรคที่ 3 มีลูกตกเสียงที่ทำนองดนตรีจ้าดไต เป็นทำนองเพลงที่เน้นเนื้อร้องเพื่อดำเนินเรื่องราวเป็นสำคัญดนตรีทำหน้าที่บรรเลงคลอไปกับเสียงร้องและบรรเลงรับทำนองเดียวกับการขับร้องโดยไม่เน้นการเปลี่ยนแปลงทำนองเป็นอย่างอื่น การบรรเลงมีทำนองขึ้นต้นหรือท่อนนำก่อนเข้าสู่บทร้อง พบการใช้เสียงครบทั้ง 7 เสียงเรียงร้อยเป็นทำนอง ทำนองร้องจะร้องเป็นเสียงตรงไปตามคำร้องที่กำหนดในบทเพลงนั้น ไม่มีการร้องเอื้อนประกอบ หากไม่มีคำร้องจะมีการกำหนดเสียงลูกตกที่สม่ำเสมอกันทุกวรรคเพลง และพบลักษณะการใช้เสียงเรียงกันปรากฏทั้งเรียง 3 เสียงและเรียง 4 เสียงเป็นส่วนใหญ่
Description: วารสารวิจิตรศิลป์ ตีพิมพ์บทความวิจัยหรือบทความงานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปกรรม และบทความวิชาการทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ เป็นบทความที่เสนอองค์ความรู้ แนวคิด วิธีการ และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่างๆ ทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ (การวิจัยงานศิลปะ การออกแบบ ประยุกต์ศิลป์ ดนตรี การแสดง สื่อศิลปะ ปรัชญาศิลป์ สุนทรียศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดี)
URI: https://www.tci-thaijo.org/index.php/fineartsJournal/article/view/77442/62102
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65114
ISSN: 1906-0572
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.