Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65045
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างจิตกรรมฝาผนังพม่ากับจิตรกรรมฝาผนังสยามและล้านนา ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 |
Other Titles: | 17th To Early 19th Century Burmese Murals in Relation to Murals of Siam and Lan Na. |
Authors: | คริสตอฟ มูนิเย่ร์ - กัยยาร์ด |
Authors: | คริสตอฟ มูนิเย่ร์ - กัยยาร์ด |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Abstract: | เป็นเวลาไม่ถึง 20 ปีภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าในปี ค.ศ. 1767 การปฏิวัติด้านการเขียนภาพได้เกิดขึ้นที่พุกาม ดังหลักฐานในโบราณสถานเดี่ยวๆ หลังหนึ่ง ซึ่งรวบรวมนวัตกรรมใหม่ๆ กว่าสิบลักษณะซึ่งได้เกิดขึ้นเป็นเวลา 150 ถึง 50 ปีมาแล้วในงานจิตรกรรมฝาผนังสยามเข้าไว้ด้วยกัน ภาพจิตรกรรมฝาผนังในโบราณสถานดังกล่าว คือ อานันดาโอวจาวง์ เสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1786 รวมทั้งจิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถอุปาลีเต่ยซึ่งกำหนดอายุอยู่ใน ค.ศ. 1794 และจิตรกรรมฝาผนังของกัมมะจาวง์ อู พยา และเฉว่จาวง์ อู พยา กำหนดอายุใน ค.ศ. 1790 จนสิ้นสุดทศวรรษที่ 1800 สามารถจัดตั้งเป็นกลุ่มจิตรกรรมที่มีลักษณะสอดคล้องกันซึ่งผู้เขียนได้ขนานนามว่า“แบบอานันดา” ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 เทคนิควิธีการและคุณค่าความงามแบบใหม่ในงานจิตรกรรมฝาผนังเหล่านี้ได้แพร่กระจายออกไปนอกพุกาม ขณะที่ธรรมเนียมนิยมในการเขียนภาพแบบพม่าก็ยังคงรักษาไว้ได้อย่างเข้มแข็งในระดับพื้นฐาน หากพิจารณาถึงอิทธิพลเชิงมโนทัศน์ นวัตกรรมแบบสยามเหล่านี้ซึ่งเริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกที่อานันดาโอวจาวง์ ได้กลายเป็นตัวแปรในระดับรากฐานต่อการปฏิวัติงานจิตรกรรมฝาผนังพม่า ทั้งยังยอมรับการพัฒนาอย่างรวดเร็วเกี่ยวกับหนึ่งในบรรดาการเปลี่ยนแปลงราวกับละครที่สุดนับตั้งแต่ยุคพุกามเป็นต้นมา นั่นคือการเปลี่ยนจากภาพเล่าเรื่องพระพุทธเจ้า มาสู่ภาพเล่าเรื่องสังคมชาวพุทธ ดังหลักฐานที่พบในงานจิตรกรรมฝาผนังนับตั้งแต่ครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 18 |
Description: | วารสารวิจิตรศิลป์ ตีพิมพ์บทความวิจัยหรือบทความงานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปกรรม และบทความวิชาการทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ เป็นบทความที่เสนอองค์ความรู้ แนวคิด วิธีการ และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่างๆ ทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ (การวิจัยงานศิลปะ การออกแบบ ประยุกต์ศิลป์ ดนตรี การแสดง สื่อศิลปะ ปรัชญาศิลป์ สุนทรียศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดี) |
URI: | https://www.tci-thaijo.org/index.php/fineartsJournal/article/view/77642/62268 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65045 |
ISSN: | 1906-0572 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.