Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65029
Title: นิพนธ์ต้นฉบับ : การเปรียบเทียบวิธีการเพาะเลี้ยงเชื้อกับวิธี duplex-PCR ในการตรวจหาเชื้อ Legionella pneumophila ในน้ําจากหอหล่อเย็น
Other Titles: The comparison in detection of Legionella pneumophila from water in cooling tower between cultivation method and duplex-PCR
Authors: อมรรัตน์ อินทรสูต
อนุสรณ์ บุญธรรม
สรศักดิ์ อินทรสูต
Authors: อมรรัตน์ อินทรสูต
อนุสรณ์ บุญธรรม
สรศักดิ์ อินทรสูต
Issue Date: 2016
Publisher: Faculty of Medicine, Chiang Mai University
Abstract: วัตถุประสงค์ เพื่อตรวจหาการปนเปื้อนของเชื้อ Legionella pneumophila (L. pneumophila) ในหอ หล่อเย็นภายในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โดยการพัฒนาวิธี duplex-PCR เปรียบเทียบกับวิธีการ เพาะเลี้ยงเชื้อที่เป็นวิธีมาตรฐาน วิธีการศึกษา ตรวจหาการปนเปื้อนของเชื้อ Legionella spp. ในน้ําที่เก็บจากหอหล่อเย็นภายในโรง พยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ภายในปี พ.ศ. 2553 โดยวิธี duplex-PCR ซึ่งใช้ genus– specifi c primers และ species–specifi c primers ที่ออกแบบจากยีน 16S rDNA และ macrophage infectivity potentiator (mip) gene ของเชื้อ L. pneumophila และ Legionella spp. อื่นโดยการ ศึกษาในครั้งนี้ทําการศึกษาเปรียบเทียบกับวิธีเพาะเลี้ยงเชื้อ ผลการศึกษา จากการตรวจสอบการปนเปื้อนเชื้อ Legionella ของน้ําจากหอหล่อเย็นจํานวนทั้งสิ้น 40 ตัวอย่างด้วยวิธี duplex- PCR พบมีการปนเปื้อนของเชื้อในตัวอย่างน้ําทั้งหมด 27 ตัวอย่าง โดยแยกเป็น เชื้อ L. pneumophila 8 ตัวอย่างและ Legionella spp. 19 ตัวอย่าง เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีเพาะเลี้ยง เชื้อ ซึ่งพบการปนเปื้อนของเชื้อ L. pneumophila จํานวน 4 ตัวอย่าง (วิธี duplex- PCR ให้ผลบวกเป็น Legionella spp. จํานวน 3 ตัวอย่าง และให้ผลลบ 1 ตัวอย่าง) เมื่อทดสอบความจําเพาะของไพรเมอร์ ที่ ใช้พบว่ามีแถบดีเอ็นเอที่มีขนาดใกล้เคียงกับที่ amplifi ed ได้จาก mip gene ในเชื้อ Salmonella Typhi และ Salmonella Enteritidis อย่างไรก็ตามผลจาก direct sequencing พบว่ามีลําดับนิวคลีโอไทด์ตรง ตําแหน่งของไพรเมอร์เหมือนกับ mip primers (17/20 นิวคลีโอไทด์) สรุปผลการศึกษา วิธี duplex-PCR มีความไวและความจําเพาะสูง สะดวก และรวดเร็วในการตรวจหาเชื้อ L. pneumophila และ Legionella spp. ทั้งนี้เนื่องจากวิธีการเพาะเลี้ยงเชื้อต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3-5 วัน และผลการทดสอบทางชีวเคมีของเชื้อในกลุ่มนี้มีความหลากหลาย จึงไม่เหมาะที่จะนํามาใช้ในการแยก เชื้อ อย่างไรก็ตามหากจะใช้วิธี duplex-PCR นี้ อาจจําเป็นต้องใช้การตรวจหายีน mip ร่วมกับยีน 16S rDNA เพื่อลดการเกิดผลบวกปลอมจากเชื้อแบคทีเรียอื่น ๆ
Description: Chiang Mai Medical Journal (Formerly Chiang Mai Medical Bulletin) is an official journal of the Faculty of Medicine, Chiang Mai University. It accepts original papers on clinical and experimental research that are pertinent in the biomedical sciences. The Journal is published 4 issues/year (i.e., Mar, Jun, Sep, and Dec).
URI: https://www.tci-thaijo.org/index.php/CMMJ-MedCMJ/article/view/87751/69222
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65029
ISSN: 0125-5983
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.