Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64686
Title: | การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดตารางการผลิตโดยวิธีฮิวริสติกและเทคนิคการจำลองแบบปัญหาในอุตสาหกรรม ประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ |
Other Titles: | Efficiency Improvement of Scheduling Using Heuristic Method and Simulation Technique in Electronic Assemblies Industry Production |
Authors: | ศิวรักษ์ อินต๊ะวงค์ สันติชัย ชีวสุทธิศิลป์ |
Authors: | ศิวรักษ์ อินต๊ะวงค์ สันติชัย ชีวสุทธิศิลป์ |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วารสารวิศวกรรมศาสตร์ |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดตารางการผลิต โดยลดความคลาดเคลื่อนของการวางแผนการผลิตที่เทียบกับการผลิตจริง และเพื่อหาวิธีการจัดลำดับงานที่เหมาะสม ที่ทำให้เวลาปิดงานของระบบ (Makespan) มีค่าน้อยที่สุด สำหรับการผลิตแผงวงจรชนิดอ่อน (Flex Cable Circuit) ในกระบวนการผลิต Roll to Roll processing ของสายการผลิต Double Side ในกลุ่มสินค้าประเภท Full Plate ซึ่งเป็นกระบวนการผลิตแบบไหลเลื่อน (Flowshop) มีลักษณะของปัญหาแบบ NP-Hard (Nonpolynomial Hard) คือใช้เวลาหาคำตอบที่ยาวนาน โดยสินค้าประเภท Full Plate มีจำนวนการสั่งผลิตเฉลี่ยกว่า 97% และมีรายการสินค้ากว่า 18 รายการของโรงงานผู้ผลิตชิ้นส่วนประกอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำพูน โดยปัญหาที่พบของโรงงานคือ ความคลาดเคลื่อนของเวลาปิดงานของระบบ จากการวางแผนการผลิตเทียบกับการผลิตจริง มีมากกว่า 20% และปัญหาการจัดลำดับงานที่ยังไม่มีความเหมาะสม ซึ่งทำให้เกิดการรอคอยเครื่องจักรในแต่ละสถานีงาน และเวลาปิดงานของระบบมีระยะเวลานาน ดังนั้นจึงได้พัฒนาแบบจำลองการผลิต (Simulation) ด้วยโปรแกรมอารีนาให้สอดคล้องกับการผลิตจริง เพื่อใช้เป็นตัวแบบในการหาเวลาปิดงานของระบบ ซึ่งสามารถลดความคลาดเคลื่อนเวลาปิดงาน ในการวางแผนการผลิตได้และหาวิธีจัดลำดับการผลิตด้วยวิธีฮิวริสติก 3 วิธีคือ Palmer, Gupta และ CDS (Campbell, Dudek and Smith) เปรียบเทียบกับการจัดลำดับงานด้วยวิธีเดิม เพื่อหาวิธีการจัดลำดับงานที่เหมาะสม ซึ่งให้เวลาปิดงานของระบบน้อยที่สุด โดยใช้แบบจำลองการผลิตข้างต้นเป็นตัวแบบในการหาเวลาปิดงาน ซึ่งผลการทดสอบความถูกต้องของ แบบจำลองการผลิต ด้วยวิธี Z-test เปรียบเทียบกับการผลิตจริง ที่ระดับความเชื่อมั่นทางสถิติ 95% พบว่าแบบจำลองดังกล่าวสามารถช่วยให้การวางแผนการผลิต มีความถูกต้องโดยสามารถลดความคลาดเคลื่อนจาก 12.80% เป็น 5.04% และนอกจากนี้ยังพบว่าวิธีการจัดลำดับการผลิตของ CDS เป็นวิธีที่ให้ผลดีกว่าเทคนิคอื่น ที่ทำให้เวลาปิดงานของระบบลดลงจากวิธีเดิมที่ระดับนัยสำคัญ 95% |
Description: | วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Engineering Journal Chiang Mai University) เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความวิชาการในลักษณะบทความวิจัย และบทความปริทัศน์ที่มีคุณภาพสูง ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีเนื้อหาที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐานจนกระทั่งการนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งในแง่ทฤษฎี การวางแผน การทดลอง การออกแบบ หรือการพัฒนาอุปกรณ์และการจำลองการทำงานของระบบ หรือกระบวนการต่างๆ เป็นต้น โดยเปิดรับบทความวิชาการทางสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ตลอดทั้งปี |
URI: | http://researchs.eng.cmu.ac.th/UserFiles/File/Journal/17_2/7Sivarak.pdf http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64686 |
ISSN: | 0857-2178 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.