Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/37678
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | จีราวรรณ ดาววี | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-02-03T07:27:49Z | - |
dc.date.available | 2015-02-03T07:27:49Z | - |
dc.date.issued | 2014-08 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/handle/6653943832/37678 | - |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้บริโภคในชุมชน 2) ศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อสินค้าเกษตรอินทรีย์ของโรงเรียนป่าจี้วังแดงวิทยา 3) ศึกษาทัศนคติของผู้บริโภคต่อสินค้าเกษตรอินทรีย์ของโรงเรียนป่าจี้วังแดงวิทยา 4) ทราบข้อคิดเห็น ปัญหา และอุปสรรคในการซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ของผู้บริโภค ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามทำการสุ่มผู้บริโภคตัวอย่างจำนวน 204 ตัวอย่าง และนอกจากนั้นยังได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา มาตรวัดแบบ likert scale, chi-square test และ วิเคราะห์สรุปผลการศึกษาด้วยเชิงพรรณนา จากการวิเคราะห์ลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้บริโภคทำให้ทราบว่าส่วนใหญ่ผู้บริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ของโรงเรียนป่าจี้วังแดงวิทยาเป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ยอยู่ที่ 40.93 ปี มีสถานภาพสมรสซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มที่มีความห่วงใยในสุขภาพและความปลอดภัยในอาหารของสมาชิกในครอบครัวมากที่สุด มีระดับการศึกษาในระดับประถมศึกษา ส่วนมากประกอบอาชีพค้าขายและมีรายได้น้อยสอดคล้องกับการผลการวิเคราะห์การประกอบอาชีพของกลุ่มผู้บริโภคตัวอย่าง จากการศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ทั่วไปและการบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ของโรงเรียนป่าจี้วังแดงวิทยาพบว่าผู้บริโภคมีการซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ 1 ครั้งต่อสัปดาห์และครั้งละ 2 ชนิดมากที่สุดเช่นเดียวกัน ผู้บริโภคมีความรู้สึกนิยมในสินค้าเกษตรอินทรีย์ทั่วไปมากกว่าสินค้าเกษตรอินทรีย์ของโรงเรียนป่าจี้วังแดงวิทยา เพราะภาพลักษณ์ของตัวสินค้าเกษตรอินทรีย์ทั่วไปในด้านมีป้ายบอกว่าเป็นสินค้าเกษตรอินทรีย์ มีตราสินค้าและ สินค้าที่วางจำหน่ายดูมีคุณภาพ ผู้บริโภคมีความรู้สึกมั่นใจในสินค้าเกษตรอินทรีย์ของโรงเรียนป่าจี้วังแดงวิทยา มากกว่าสินค้าเกษตรอินทรีย์ทั่วไป เพราะสินค้าเกษตรอินทรีย์ของโรงเรียนป่าจี้วังแดงวิทยาจำหน่ายใกล้กับแหล่งผลิต ผู้บริโภคทราบแหล่งผลิตอย่างชัดเจนทำให้เกิดความมั่นใจในสินค้าเกษตรอินทรีย์ของโรงเรียนป่าจี้วังแดงวิทยา จากการศึกษาความสัมพันธ์ด้านพฤติกรรมการบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ทั่วไปและการบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ของโรงเรียนป่าจี้วังแดงวิทยาแล้วทำให้ทราบว่าส่วนมากแล้วผู้บริโภคจะรับประทานสินค้าเกษตรอินทรีย์อาทิตย์ละครั้ง ครั้งละ 2 ชนิดเพื่อความเพียงพอต่อการประกอบอาหารในแต่ละมื้อ โดยตั้งใจซื้อเพราะต้องการรักษาสุขภาพ การได้รับประทานสินค้าเกษตรอินทรีย์บ้างในมื้อ ก็ถือว่าเป็นการช่วยรักษาสุขภาพได้และการทำให้ผู้บริโภคมีความนิยมและความเชื่อมั่นว่าสินค้าเกษตรอินทรีย์เป็นสินค้าเกษตรอินทรีย์จริงเป็นสิ่งสำคัญต่อการเกิดความถี่ในการซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ของโรงเรียนป่าจี้วังแดงวิทยา จากการศึกษาเปรียบเทียบความสัมพันธ์ด้านปัจจัยข้อมูลพื้นฐาน ลักษณะทั่วไปของผู้บริโภคต่อพฤติกรรมการบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ทั่วไปและการบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ของโรงเรียนป่าจี้วังแดงวิทยาพบว่ามีเพียงปัจจัยด้านอาชีพที่ทำให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจในสินค้าเกษตรอินทรีย์ทั่วไปคืออาชีพเกษตรกรหรือรับจ้างทั่วไปเพราะเป็นอาชีพของผู้บริโภคส่วนใหญ่และเป็นอาชีพที่คุ้นเคยกับสินค้าเกษตรมากที่สุด และเนื่องจากผู้บริโภคในชุมชนส่วนใหญ่มีการศึกษาในระดับประถมศึกษาจึงทำให้ผู้บริโภคที่มีการศึกษาในระดับนี้มีความนิยมในสินค้าเกษตรอินทรีย์ของโรงเรียนป่าจี้วังแดงและผู้บริโภคมีอายุเฉลี่ย 40.93 ปี มีการศึกษาในระดับประถมศึกษาและมีสถานภาพสมรสมีความมั่นใจว่าสินค้าเกษตรอินทรีย์ของโรงเรียนป่าจี้วังแดงเป็นสินค้าเกษตรอินทรีย์จริง ซึ่งตรงตามลักษณะของผู้บริโภคตัวอย่างที่อยู่ในกลุ่มที่เป็นผู้ดูแลครอบครัวและมีความใส่ใจในสุขภาพ จากการศึกษาทัศนคติที่มีต่อสินค้าเกษตรอินทรีย์นั้นพบว่า สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับสินค้าเกษตรอินทรีย์นั้นผู้บริโภคมีความต้องการให้มีการแสดงป้ายบอกว่าเป็นสินค้าเกษตรอินทรีย์และควรมีตราสินค้าเกษตรอินทรีย์ซึ่งทัศนคติทั้งสองด้านนี้เป็นปัจจัยอันดับต้นในการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภค เนื่องจากปัจจุบันผู้บริโภคมีความใส่ใจในสุขภาพกันมากขึ้น การแสดงให้เห็นชัดเจนว่าเป็นสินค้าเกษตรอินทรีย์ เป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นในการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ทัศนคติของผู้บริโภคต่อสินค้าเกษตรอินทรีย์ ของโรงเรียนป่าจี้วังแดงวิทยา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Attitude of consumers towards agricultural organic produce of Phajhee Wang Dang Wittaya School, Mae Taeng District, Chiang Mai Province | en_US |
thailis.classification.ddc | 658.8343 | - |
thailis.controlvocab.thash | โรงเรียนป่าจี้วังแดงวิทยา | - |
thailis.controlvocab.thash | ผู้บริโภค -- ทัศนคติ | - |
thailis.controlvocab.thash | ผู้บริโภค -- เชียงใหม่. อำเภอแม่แตง | - |
thailis.controlvocab.thash | พฤติกรรมผู้บริโภค -- เชียงใหม่. อำเภอแม่แตง | - |
thailis.controlvocab.thash | สินค้าเกษตร -- เชียงใหม่. อำเภอแม่แตง | - |
thailis.controlvocab.thash | เกษตรอินทรีย์ -- เชียงใหม่. อำเภอแม่แตง | - |
thailis.manuscript.callnumber | ว/ภน 658.8343 จ372ท | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้บริโภคในชุมชน 2) ศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อสินค้าเกษตรอินทรีย์ของโรงเรียนป่าจี้วังแดงวิทยา 3) ศึกษาทัศนคติของผู้บริโภคต่อสินค้าเกษตรอินทรีย์ของโรงเรียนป่าจี้วังแดงวิทยา 4) ทราบข้อคิดเห็น ปัญหา และอุปสรรคในการซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ของผู้บริโภค ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามทำการสุ่มผู้บริโภคตัวอย่างจำนวน 204 ตัวอย่าง และนอกจากนั้นยังได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา มาตรวัดแบบ likert scale, chi-square test และ วิเคราะห์สรุปผลการศึกษาด้วยเชิงพรรณนา จากการวิเคราะห์ลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้บริโภคทำให้ทราบว่าส่วนใหญ่ผู้บริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ของโรงเรียนป่าจี้วังแดงวิทยาเป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ยอยู่ที่ 40.93 ปี มีสถานภาพสมรสซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มที่มีความห่วงใยในสุขภาพและความปลอดภัยในอาหารของสมาชิกในครอบครัวมากที่สุด มีระดับการศึกษาในระดับประถมศึกษา ส่วนมากประกอบอาชีพค้าขายและมีรายได้น้อยสอดคล้องกับการผลการวิเคราะห์การประกอบอาชีพของกลุ่มผู้บริโภคตัวอย่าง จากการศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ทั่วไปและการบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ของโรงเรียนป่าจี้วังแดงวิทยาพบว่าผู้บริโภคมีการซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ 1 ครั้งต่อสัปดาห์และครั้งละ 2 ชนิดมากที่สุดเช่นเดียวกัน ผู้บริโภคมีความรู้สึกนิยมในสินค้าเกษตรอินทรีย์ทั่วไปมากกว่าสินค้าเกษตรอินทรีย์ของโรงเรียนป่าจี้วังแดงวิทยา เพราะภาพลักษณ์ของตัวสินค้าเกษตรอินทรีย์ทั่วไปในด้านมีป้ายบอกว่าเป็นสินค้าเกษตรอินทรีย์ มีตราสินค้าและ สินค้าที่วางจำหน่ายดูมีคุณภาพ ผู้บริโภคมีความรู้สึกมั่นใจในสินค้าเกษตรอินทรีย์ของโรงเรียนป่าจี้วังแดงวิทยา มากกว่าสินค้าเกษตรอินทรีย์ทั่วไป เพราะสินค้าเกษตรอินทรีย์ของโรงเรียนป่าจี้วังแดงวิทยาจำหน่ายใกล้กับแหล่งผลิต ผู้บริโภคทราบแหล่งผลิตอย่างชัดเจนทำให้เกิดความมั่นใจในสินค้าเกษตรอินทรีย์ของโรงเรียนป่าจี้วังแดงวิทยา จากการศึกษาความสัมพันธ์ด้านพฤติกรรมการบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ทั่วไปและการบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ของโรงเรียนป่าจี้วังแดงวิทยาแล้วทำให้ทราบว่าส่วนมากแล้วผู้บริโภคจะรับประทานสินค้าเกษตรอินทรีย์อาทิตย์ละครั้ง ครั้งละ 2 ชนิดเพื่อความเพียงพอต่อการประกอบอาหารในแต่ละมื้อ โดยตั้งใจซื้อเพราะต้องการรักษาสุขภาพ การได้รับประทานสินค้าเกษตรอินทรีย์บ้างในมื้อ ก็ถือว่าเป็นการช่วยรักษาสุขภาพได้และการทำให้ผู้บริโภคมีความนิยมและความเชื่อมั่นว่าสินค้าเกษตรอินทรีย์เป็นสินค้าเกษตรอินทรีย์จริงเป็นสิ่งสำคัญต่อการเกิดความถี่ในการซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ของโรงเรียนป่าจี้วังแดงวิทยา จากการศึกษาเปรียบเทียบความสัมพันธ์ด้านปัจจัยข้อมูลพื้นฐาน ลักษณะทั่วไปของผู้บริโภคต่อพฤติกรรมการบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ทั่วไปและการบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ของโรงเรียนป่าจี้วังแดงวิทยาพบว่ามีเพียงปัจจัยด้านอาชีพที่ทำให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจในสินค้าเกษตรอินทรีย์ทั่วไปคืออาชีพเกษตรกรหรือรับจ้างทั่วไปเพราะเป็นอาชีพของผู้บริโภคส่วนใหญ่และเป็นอาชีพที่คุ้นเคยกับสินค้าเกษตรมากที่สุด และเนื่องจากผู้บริโภคในชุมชนส่วนใหญ่มีการศึกษาในระดับประถมศึกษาจึงทำให้ผู้บริโภคที่มีการศึกษาในระดับนี้มีความนิยมในสินค้าเกษตรอินทรีย์ของโรงเรียนป่าจี้วังแดงและผู้บริโภคมีอายุเฉลี่ย 40.93 ปี มีการศึกษาในระดับประถมศึกษาและมีสถานภาพสมรสมีความมั่นใจว่าสินค้าเกษตรอินทรีย์ของโรงเรียนป่าจี้วังแดงเป็นสินค้าเกษตรอินทรีย์จริง ซึ่งตรงตามลักษณะของผู้บริโภคตัวอย่างที่อยู่ในกลุ่มที่เป็นผู้ดูแลครอบครัวและมีความใส่ใจในสุขภาพ จากการศึกษาทัศนคติที่มีต่อสินค้าเกษตรอินทรีย์นั้นพบว่า สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับสินค้าเกษตรอินทรีย์นั้นผู้บริโภคมีความต้องการให้มีการแสดงป้ายบอกว่าเป็นสินค้าเกษตรอินทรีย์และควรมีตราสินค้าเกษตรอินทรีย์ซึ่งทัศนคติทั้งสองด้านนี้เป็นปัจจัยอันดับต้นในการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภค เนื่องจากปัจจุบันผู้บริโภคมีความใส่ใจในสุขภาพกันมากขึ้น การแสดงให้เห็นชัดเจนว่าเป็นสินค้าเกษตรอินทรีย์ เป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นในการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค | en_US |
Appears in Collections: | AGRI: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ABSTRACT.pdf | ABSTRACT | 277.78 kB | Adobe PDF | View/Open |
APPENDIX.pdf | APPENDIX | 406.34 kB | Adobe PDF | View/Open |
CHAPTER 1.pdf | CHAPTER 1 | 242.92 kB | Adobe PDF | View/Open |
CHAPTER 2.pdf | CHAPTER 2 | 389.23 kB | Adobe PDF | View/Open |
CHAPTER 3.pdf | CHAPTER 3 | 305.12 kB | Adobe PDF | View/Open |
CHAPTER 4.pdf | CHAPTER 4 | 1.36 MB | Adobe PDF | View/Open |
CHAPTER 5.pdf | CHAPTER 5 | 622.6 kB | Adobe PDF | View/Open |
CHAPTER 6.pdf | CHAPTER 6 | 295.02 kB | Adobe PDF | View/Open |
CONTENT.pdf | CONTENT | 249.16 kB | Adobe PDF | View/Open |
COVER.pdf | COVER | 611.52 kB | Adobe PDF | View/Open |
REFERENCE.pdf | REFERENCE | 287.6 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.