Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80080
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมาลินี คุ้มสุภา-
dc.contributor.authorวุฒิชัย หมั่นทำen_US
dc.date.accessioned2024-10-07T12:42:05Z-
dc.date.available2024-10-07T12:42:05Z-
dc.date.issued2567-07-30-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80080-
dc.description.abstractThis independent study, Conflict Resolution at the Village Level by Subdistrict and Village Headmen in Thong Saen Khan District, Uttaradit Province, examines a mechanism that helps alleviate public distress and reduces the burden on government agencies by avoiding legal proceedings. The research questions are: 1. What are the characteristics of conflicts occurring in villages, and what issues are involved? 2. What factors contribute to conflict resolution? and 3. How do subdistrict and village headmen play a crucial role in preventing and resolving conflicts? The objectives are to study conflicts at the village level, identify factors related to conflict resolution, and examine how subdistrict and village headmen are involved in preventing and resolving conflicts. This research employed documentary research and field research methodologies. The research methods included in-depth interviews and participant and non-participant observation. The key informants consisted of four individuals: one subdistrict headman and three village headmen. The findings showed that 1) types of conflicts at the village level include property and debt, land and public space, safety, family problems, and other issues. 2) Factors related to conflict types consist of conflicts that can be resolved quickly, conflicts with recorded agreements, and conflicts that cannot be resolved. Factors affecting conflict resolution include relationship factors between conflicting parties, social factors, and belief factors. 3) roles of sub-district and village headmen in preventing and resolving conflicts are that conflict resolution is carried out in two forms: mandatory and alternative dispute resolutions. Both forms are in accordance with the authority and duties of subdistrict and village headmen in maintaining order within the village effectively. Conflict prevention related to external factors includes legal, social, and internal factors emphasizing the personal roles of subdistrict and village headmen: knowledge and psychological factors.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการแก้ไขปัญหาen_US
dc.subjectความขัดแย้งen_US
dc.subjectหมู่บ้านen_US
dc.subjectกำนันen_US
dc.subjectผู้ใหญ่บ้านen_US
dc.titleการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในระดับหมู่บ้าน โดยกำนันและผู้ใหญ่บ้าน ของอำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์en_US
dc.title.alternativeConflict resolution of subdistrict headmen and village headmen in village level of Thong Saen Khan District, Uttaradit Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashความขัดแย้ง (จิตวิทยา)-
thailis.controlvocab.thashการบริหารความขัดแย้ง-
thailis.controlvocab.thashการแก้ปัญหา-
thailis.controlvocab.thashการปกครองท้องถิ่น -- ทองแสนขัน (อุตรดิตถ์)-
thailis.controlvocab.thashผู้นำชุมชน -- ทองแสนขัน (อุตรดิตถ์)-
thailis.controlvocab.thashหมู่บ้าน -- ทองแสนขัน (อุตรดิตถ์)-
thailis.controlvocab.thashกำนัน-
thailis.controlvocab.thashผู้ใหญ่บ้าน-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าอิสระ เรื่อง การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในระดับหมู่บ้าน โดยกำนันและผู้ใหญ่บ้าน ของอำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นกลไกที่ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนและยังช่วยลดภาระของหน่วยงานรัฐโดยไม่ต้องฟ้องร้องเป็นคดีความ โดยมีคำถามวิจัย ดังนี้ 1. ลักษณะปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านมีลักษณะอย่างไร และเกี่ยวข้องกับประเด็นใดบ้าง 2. ความขัดแย้งยุติลงด้วยปัจจัยใดบ้าง และ 3. กำนันและผู้ใหญ่บ้านมีส่วนสำคัญในการป้องกันและแก้ไขความขัดแย้งอย่างไร โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. ศึกษาปัญหาความขัดแย้งในระดับหมู่บ้าน 2. ปัจจัยใดมีความเกี่ยวข้องกับการยุติความขัดแย้ง และ 3. กำนันและผู้ใหญ่บ้านมีส่วนเกี่ยวข้องในการป้องกันและแก้ไขความขัดแย้งอย่างไร การศึกษาวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเอกสาร(Documentary Research) การวิจัยภาคสนาม(Field Research) วิธีการวิจัยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก(In-Depth Interview) และการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม(Participant Observation and Non-participant Observation) โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 4 คน ได้แก่ กำนัน 1 คน และผู้ใหญ่บ้าน 3 คน ผลการศึกษาพบว่า 1. ลักษณะความขัดแย้งในระดับหมู่บ้านประกอบด้วย ปัญหาเกี่ยวกับทรัพย์สินและหนี้สิน ปัญหาที่ดินและที่สาธารณะ ปัญหาความปลอดภัย ปัญหาครอบครัว และปัญหาอื่นๆ 2. ปัจจัยด้านประเภทความขัดแย้ง ประกอบด้วย 1) ความขัดแย้งที่ยุติปัญหาได้โดยเร็ว 2) ความขัดแย้งที่มีการบันทึกข้อตกลง และ 3) ความขัดแย้งที่ไม่สามารถยุติลงได้ ปัจจัยที่มีผลต่อการยุติปัญหาความขัดแย้ง ประกอบด้วย 1) ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ของคู่กรณี 2) ปัจจัยด้านสังคม และ 3) ปัจจัยด้านความเชื่อ และ 3. บทบาทของกำนันและผู้ใหญ่บ้านในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง มีดังนี้ 1) การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้ดำเนินการ 2 รูปแบบ ได้แก่ การระงับข้อพิพาทเชิงบังคับ และการระงับข้อพิพาททางเลือก ทั้งสองรูปแบบเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของกำนันและผู้ใหญ่บ้านตามภารกิจการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในหมู่บ้านอย่างมีประสิทธิภาพ 2) การป้องกันปัญหาความขัดแย้งที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยภายนอก ได้แก่ ปัจจัยด้านกฎหมาย และปัจจัยด้านสังคม และปัจจัยภายในซึ่งให้ความสำคัญกับบทบาทส่วนบุคคลของกำนันและผู้ใหญ่บ้าน ได้แก่ ปัจจัยด้านองค์ความรู้และปัจจัยด้านจิตวิทยาen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
651932059_นายวุฒิชัย หมั่นทำ.pdf2.78 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.