Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79719
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวีรวรรณ วงศ์ปิ่นเพ็ชร์-
dc.contributor.authorฮัชมาน ไทยอนันต์en_US
dc.date.accessioned2024-07-12T01:28:15Z-
dc.date.available2024-07-12T01:28:15Z-
dc.date.issued2567-03-13-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79719-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับของตัวแปรการรับรู้ความสามารถของตนเอง ความหวัง การมองโลกในแง่ดี ความยืดหยุ่นทางจิตใจ การสนับสนุนทางสังคม และความสามารถในการปรับตัวด้านการสอนออนไลน์ของครูในพื้นที่ชายแดน อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ทั้งกลุ่มรวมและกลุ่มย่อย และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการปรับตัวด้านการสอนออนไลน์ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของครูในพื้นที่ชายแดน อำเภอ แม่สาย จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรครูอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย จำนวน 300 คน ใช้แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูล โดยมีค่าความเชื่อมั่นในภาพรวมและรายด้านมากกว่า 0.70 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณาและการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ความสามารถของตนเอง ความหวัง ความยืดหยุ่นทางจิตใจ การสนับสนุนทางสังคม และการปรับตัวด้านการสอนออนไลน์ อยู่ในระดับมากทุกด้าน สำหรับการมองโลกในแง่ดี พบว่าในด้านแหล่งกำเนิดของสาเหตุ และด้านความสม่ำเสมออยู่ในระดับมาก ขณะที่การมองโลกในแง่ดีด้านการแผ่ขยาย อยู่ในระดับมากที่สุด สำหรับการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการปรับตัวด้านการสอนออนไลน์ พบว่า การสนับสนุนทางสังคมเป็นปัจจัยเดียวที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการปรับตัวด้านการสอนออนไลน์ โดยมีค่าอิทธิพลรวมเท่ากับ 0.88 รวมทั้งมีอิทธิพลต่อตัวแปรอื่นๆในโมเดล ได้แก่ การรับรู้ความสามารถของตนเอง ความหวัง การมองโลกในแง่ดี และความยืดหยุ่นทางจิตใจโดยมีค่าอิทธิพลรวมเท่ากับ 0.77, 0.79, 0.88, และ 0.96 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าการรับรู้ความสามารถของตนเอง มีอิทธิพลทางตรงต่อความหวัง โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลรวมเท่ากับ 0.83 และการมองโลกในแง่ดีมีอิทธิพลทางตรงต่อความยืดหยุ่นทางจิตใจ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลรวมเท่ากับ 0.20en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectAdaptability, Online Teaching, Social Support, COVID-19 Pandemicen_US
dc.titleปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการปรับตัวด้านการสอนออนไลน์ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของครูในพื้นที่ชายแดน อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายen_US
dc.title.alternativeFactors influencing online teaching adaptability during COVID-19 pandemic of educational personnel in border areas, Mae Sai district, Chiang Rai provinceen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashการเรียนการสอนผ่านเว็บ -- แม่แตง (เชียงใหม่)-
thailis.controlvocab.thashการศึกษาทางไกล -- แม่แตง (เชียงใหม่)-
thailis.controlvocab.thashโควิด-19 (โรค)-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractThis research aimed to study the level of variables concerning self-efficacy, hope, optimism, resilience, social support and online teaching adaptability among both groups and subgroups of educational personnel in border areas, Mae Sai District, Chiang Rai Province. It was also to investigate the factors influencing online teaching adaptability during COVID-19 pandemic of educational personnel in border areas, Mae Sai District, Chiang Rai Province. The samples included a total of 300 educational personnel in Mae Sai District of Chiang Rai Province. Data was collected through the questionnaire, whereby reliability value for both overall and particular aspects was greater than 0.70. Data analysis was based on the descriptive statistics and the structural causal relationship. The research results disclosed that the samples possessed their self-efficacy, hope, resilience, social support, and online teaching adaptability at a high level in every aspect. In terms of optimism, the internal and stability were found at a high level, whereas the global optimism was at the highest level. Regarding the factors influencing online teaching adaptability, social support was only one factor that put an impact on such online teaching adaptability, with a total effect of 0.88. Meanwhile, it influenced other variables in the model e.g. self-efficacy, hope, optimism, and resilience, with a total effect of 0.77, 0.79, 0.88, and 0.96, respectively. It was also found that self-efficacy placed a direct influence on hope, with the coefficient for a total effect of 0.83 and optimism directly influenced resilience, with the coefficient for a total effect of 0.20.en_US
Appears in Collections:HUMAN: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
630132009 ฮัชมาน ไทยอนันต์.pdfไฟล์ปริญญานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์1.93 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.