Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78541
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ณฐวัฒน์ ล่องทอง | - |
dc.contributor.author | กฤติน เกษดี | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-07-22T07:40:44Z | - |
dc.date.available | 2023-07-22T07:40:44Z | - |
dc.date.issued | 2022-12 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78541 | - |
dc.description.abstract | This research aims to study a model of psychological counseling centre for Chiang Mai University personnel by using the mixed-method approach. Three distinctive instruments are adopted to collect data namely 1) In-depth interview: sample groups include the executives of Chiang Mai University whom responsible for mental health of personnel and students, the executives of Human Resources Management of Office of Chiang Mai University and the executives of Centre of Psychological Wellness, Faculty of Psychology, Chulalongkorn University, 2) Group discussion: the sample is 57 personnel of Chiang Mai University working in different affiliations and is in-charge of human resources management and personnel welfare and 3) Questionnaire of a model of psychological counseling centre for Chiang Mai University personnel, which given to 387 personnel of Chiang Mai University during February – October 2022. The result shows that the sample group perceives a counseling service for Chiang Mai University personnel as essential and necessary. And states the need for the psychological counseling centre settled as high level. The service should be provided as a personnel welfare without any charge. While both mental health promotion and prevention as well as care and treatment services are the required model. Furthermore, the study indicates that the sample needs an individual psychological counseling service at most, 94.1%, follows by a face-to-face psychological counseling service, 58.9% and the third service is an online psychological counseling with no face revealing or camera, 58.1%. In terms of day and service hours, most of the sample suggests the centre should be opened everyday, 65.9% and available for 24-hour service, 45.7%. However, 08:30 – 20:00 hrs. is preferred timeslot among the sample. And Line application is top communication channel, 86%, the sample will use to contact. The most required on-site staffs at the psychological counseling centre are psychologist 96.6%, then psychiatrist 90.4%. However, these counselors and psychotherapists should be employed separately, not by other affiliations, to prevent a multiple relationships and conflict of interest between service providers and clients which may minimize a service efficiency. Additionally, the sound-proof counseling rooms, separated counseling and waiting areas and a comfortable and soothing color tone are further requirements proposed by the sample. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | รูปแบบของศูนย์ให้บริการการปรึกษาทางจิตวิทยาสำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Psychological counseling centre model for Chiang Mai university personnel | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | จิตวิทยา | - |
thailis.controlvocab.thash | จิตวิทยาการปรึกษา | - |
thailis.controlvocab.thash | การให้คำปรึกษา | - |
thailis.controlvocab.thash | บุคลากรทางการศึกษา | - |
thailis.controlvocab.thash | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบของศูนย์ให้บริการการปรึกษาทางจิตวิทยาที่เหมาะสมสำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยเป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างงานวิจัยเชิงคุณภาพและงานวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งเก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องมือ 3 ชนิด ได้แก่ 1) การสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่มีบทบาทหน้าที่ด้านสุขภาวะจิตของบุคลากรและนักศึกษา ผู้บริหารกองบริหารงานบุคคล สำนักงานมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และผู้บริหารศูนย์สุขภาวะจิต คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2) การสนทนากลุ่ม โดยกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย บุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่สังกัดส่วนต่าง ๆ และทำงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลและสวัสดิการของบุคลากร จำนวน 57 คน 3) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบของศูนย์ให้บริการการปรึกษาทางจิตวิทยาสำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยกลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 387 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2565 - ตุลาคม 2565 ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีมุมมองต่อการมีศูนย์ให้บริการการปรึกษาทางจิตวิทยาสำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ว่ามีความสำคัญและจำเป็น และมีความต้องการให้มีศูนย์ให้บริการอยู่ในระดับมาก โดยการรับบริการควรเป็นสวัสดิการสำหรับบุคลากรโดยที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย ส่วนรูปแบบการบริการทางจิตวิทยา พบว่า ควรมีการบริการทั้งด้านการส่งเสริมและป้องกันด้านสุขภาพจิต และด้านการดูแลและรักษาสุขภาพจิต จากผลการวิเคราะห์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างต้องการให้มีบริการปรึกษาทางจิตวิทยาแบบรายบุคคลมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 94.1 รองลงมาคือ บริการปรึกษาทางจิตวิทยาแบบพบตัว คิดเป็นร้อยละ 58.9 และอันดับสาม ได้แก่ บริการปรึกษาทางจิตวิทยาแบบออนไลน์แต่ไม่เปิดเผยใบหน้า/ไม่เปิดกล้อง คิดเป็นร้อยละ 58.1 ส่วนวันและเวลาในการเปิดให้บริการ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นให้ศูนย์ให้บริการการปรึกษาทางจิตวิทยาเปิดให้บริการทุกวันมีจำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 65.9 ส่วนเวลาเปิดทำการ พบว่า กลุ่มตัวอย่างต้องการให้เปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมง เป็นจำนวนที่มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 45.7 หากพิจารณาช่วงเวลาเปิดปิดให้บริการ พบว่า กลุ่มตัวอย่างต้องการให้ศูนย์ให้บริการการปรึกษาเปิดทำการเวลา 08.30 จนถึง 20.00 น. ส่วนช่องทางในการติดต่อเพื่อขอรับบริการ พบว่า ช่องทางที่กลุ่มตัวอย่างต้องการมากที่สุด คือ ช่องทางติดต่อผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์ (Line Application) คิดเป็นร้อยละ 86.0 ด้านบุคลากรที่ให้บริการประจำศูนย์ให้คำปรึกษา พบว่า บุคลากรที่กลุ่มตัวอย่างต้องการให้มีมากที่สุด ได้แก่ นักจิตวิทยา คิดเป็นร้อยละ 96.6 รองลงมา ได้แก่ จิตแพทย์ คิดเป็นร้อยละ 90.4 โดยบุคลากรควรมีการจัดจ้างบุคลากรที่ให้บริการด้านการให้คำปรึกษาและบำบัดทางจิตวิทยาเป็นคนละส่วนกับหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อป้องกันปัญหาการมีความสัมพันธ์ทับซ้อนและการมีผลประโยชน์ร่วมระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการซึ่งอาจจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของการช่วยเหลือได้ นอกจากนี้ด้านรูปแบบและการบริการอื่น ๆ ภายในศูนย์ให้คำปรึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างต้องการให้ศูนย์ให้บริการการปรึกษาสำหรับบุคลากร มีห้องให้คำปรึกษาที่สามารถเก็บเสียงได้ มีการแบ่งบริเวณสำหรับรับบริการปรึกษากับส่วนพื้นที่สำหรับพักคอยอย่างชัดเจน ควรตกแต่งโดยใช้โทนสีสบายตาและผ่อนคลาย | en_US |
Appears in Collections: | HUMAN: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
620132023 กฤติน เกษดี.pdf | 1.71 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.