Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74201
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจินดารัตน์ ชัยอาจ-
dc.contributor.advisorเบญจมาศ สุขสถิตย์-
dc.contributor.authorทิชารี กันทะวิโรen_US
dc.date.accessioned2022-10-15T07:33:40Z-
dc.date.available2022-10-15T07:33:40Z-
dc.date.issued2021-06-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74201-
dc.description.abstractType 2 diabetes is a chronic disease that has an impact on health conditions and causes major public health problems worldwide. This study was analytical research, a case-control study that aimed to examine the relationshipsbetween related factors, including obesity, physical activity, and anxiety, and cognitive impairment among persons with Type 2 diabetes receiving services at the diabetes clinic and the out-patient department (OPD 9) at Maharaj Nakorn Chiang Mai hospital. Data were collected from August to December 2020. A total of 264 participants were divided into two groups, including 88 persons as the case group and 176 persons as the control group. The instruments that were used in this study consisted of 1) a personal information interview, 2) the Montreal Cognitive Assessment: MoCA-Thai version 2011, 3) the Global Physical Activity Questionnaire (GPAQ), and 4) the Trait Anxiety Inventory Form Y-2. All instruments were validated, and the reliability was acceptable. The data were analyzed using descriptive statistics and multivariate analysis using multiple logistic regression analysis, and an adjusted odd ratio at 95% confidence interval was reported. The results of this study were as follows: 1. Obesity was associated with cognitive impairment in persons with Type 2 diabetes when controlling the confounding variables: subjects with a BMI greater than or equal to 25 kg/m2 were at a significantly increased risk of cognitive impairment by 5.88 times (OR = 5.88, 95% CI = 2.81-12.28; p < .01) when compared to persons who had a BMI less than 25 kg/m2 . 2. Physical activity was associated with cognitive impairment in persons with Type 2 diabetes when controlling the confounding variables: subjects with insufficient physical activity were at a significantly increased risk of cognitive impairment by 2.24 times (OR = 2.24, 95% CI = 1.21-4.13; p < .05) when compared to persons who had sufficient physical activity. 3. Anxiety was not associated with cognitive impairment in persons with Type 2 diabetes. The results of this study revealed that obesity and insufficient physical activity are related to cognitive impairment in persons with Type 2 diabetes. Nurses can use this information to develop interventions to enhance physical activity and weight control to reduce the risk of cognitive impairment in persons with Type 2 diabetes. Moreover, this could lead them to having further appropriate treatment and nursing care.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะการรู้คิดบกพร่องในผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2en_US
dc.title.alternativeFactors related to cognitive impairment in persons with type 2 diabetesen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashเบาหวาน -- ผู้ป่วย-
thailis.controlvocab.thashเบาหวาน -- ผู้ป่วย -- การดูแล-
thailis.controlvocab.thashเบาหวาน -- ภาวะแทรกซ้อน-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคเรื้อรังที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ สำคัญทั่วโลก การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ (analyical research) แบบศึกษาย้อนหลังจาก ผลไปหาเหตุ (case control study) เพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะอ้วน กิจกรรมทางกาย และ ความวิตกกังวลกับภาวะการรู้คิดบกพร่องในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับการตรวจรักษาที่ คลินิกโรคเบาหวานและห้องตรวจอายุรกรรมทั่วไป (OPD 9) โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เก็บรวบรวม ข้อมูลตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 จำนวน 264 คน โดยจำแนกกลุ่มตัวอย่าง ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มศึกษา (case) จำนวน 88 คน และกลุ่มควบคุม (control) จำนวน 176 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์ ข้อมูลส่วนบุดคล 2) แบบประเมิน พุทธิปัญญา (Montreal Cognitive Assessment: MoCA-Thai version 2011) 3) แบบสอบถามกิจกรรม ทางกายระดับสากล (Global Physical Activity Questionnaire) และ 4) แบบประเมินความ วิตกกังวลแฝง (The Trait Anxiety Inventory Form Y-2) โดยแบบประเมินได้ถูกนำไปตรวจสอบและได้ค่าความ เชื่อมั่นของเครื่องมือเป็นที่ยอมรับได้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติบรรยาย และการวิเคราะห์พหุตัวแปร (multivariate analysis) โดยสถิติการถดถอยพหุโลจิสติก (multiple logistic regression analysis) นำเสนอ ค่า adjusted odd ratio ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ผลการศึกษาพบว่า 1. ภาวะอ้วนมีความสัมพันธ์กับภาวะการรู้คิดบกพร่องในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เมื่อ ควบคุมตัวแปรกวนอื่น ๆ โดยผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 25 กก./เมตร มึโอกาสเกิด ภาวะการรู้คิดบกพร่องเพิ่มขึ้นเป็น 5.88 เท่า (OR = 5.88, 95% CI = 2.81-12.28, p <.01) เมื่อเปรียบเทียบ กับผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกายน้อยกว่า 25 กก./เมตร 2. กิจกรรมทางกายมีความสัมพันธ์กับภาวะการรู้คิดบกพร่องในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เมื่อควบคุมตัวแปรกวนอื่น ๆ โดยผู้ที่มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอมีโอกาสเกิดกาวะการรู้คิดบกพร่อง เพิ่มขึ้นเป็น 2.24 เท่า (OR = 2.24, 95% CI = 1.21-4.13, P <.05) เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ 3. ความวิตกกังวลไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะการรู้คิดบกพร่องในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จากผลการศึกษาข้างต้นทำให้ทราบว่า ภาวะอ้วนและการมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอส่งผล ต่อการเกิดกาวะการคิดบกพร่องในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งพยาบาลสามารถนำไปพัฒนา รูปแบบการดูแลในการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และการควบคุมน้ำหนัก เพื่อลดความเสี่ยงต่อ ภาวะการรู้คิดบกพร่องในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และเพื่อให้ได้รับการรักษาและการพยาบาล ที่เหมาะสมต่อไปen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
601231006 ทิชารี กันทะวิโร.pdf2.04 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.