Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73770
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรลักษณ์ หิมะกลัส-
dc.contributor.advisorกัญญ์สุดา นิ่มอนุสสรณ์กุล-
dc.contributor.authorกิตติชัย แซ่ลิ่มen_US
dc.date.accessioned2022-08-05T10:58:30Z-
dc.date.available2022-08-05T10:58:30Z-
dc.date.issued2020-11-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73770-
dc.description.abstractThis Independent Study was conducted to figure out behaviors in alien labor health service accessibility and their potential factors leading to health service, in Chiangmai Province. The sample was selected from 400 alien labors living in Chiangmai Province, Questionnaire was the main collecting instrument for this research. Statistics were descriptive and multiple regression. The study found that most of the samples were men, income ranging between 8,001 to 10,000 baht, single, Myanmar nationality, and uneducated. Their occupations were housekeeper/major-domo, immigrating to Chingmai for a job, about 10 years, and living with family. Their behaviors on health service accessibility mostly were using the 30 baht-health service insurance, bought health service insurance themselves with no personal congenital disease, no admit to hospital in last one year. In case of sickness happening, influenza was the main disease; muscle ache generally. This ended up with taking a pill from drug store, due to its convenience and easiness, that could be taken in drug stores, in 5 kilometers-radian. Also, pay of expense is low, not exceeding 500 baht each bill. For knowledge on health service insurance, it was in average range; alien labors knew about their right on health insurance, period of service insurance, also its coverage on their children’s right for health service. Nevertheless, the sample still misunderstood about the right on specific disease healing services. Accessibility to health service was high, mostly; alien labors could access to health service, as well as they were able to afford for the health service. In terms of quality and service readiness and convenient facilities of service centers; was ranged as “high”. Accessibility to service centers and their branches were ranged as “medium”. It can be concluded that period of age was the main factors of alien labors for accessing health service centers, followed by sickness, time living and working in Chiangmai, genders and education respectively.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานต่างด้าว ในจังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeFactors affecting access to health services of foreign workers Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashบริการทางการแพทย์ -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashแรงงานต่างด้าว -- เชียงใหม่-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการสุขภาพ การเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานต่างด้าว และปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานต่างด้าวในจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง คือแรงงานต่างด้าวในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวนทั้งสิ้น 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัยเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอย (Multiple Regression) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุไม่เกิน 30 ปี มีรายได้รวมต่อเดือน 8,001 – 10,000 บาท สถานภาพโสด สัญชาติเมียนมาร์ ไม่ได้เรียนหนังสือ งานที่ทำคือ เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน เดินทางเข้ามาทำงานในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นระยะเวลานานกว่า 10 ปีขึ้นไป และอาศัยอยู่กับครอบครัว พฤติกรรมการใช้บริการสุขภาพ พบว่า ส่วนใหญ่ใช้ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตร 30 บาท) โดยตนเองเป็นผู้ซื้อประกันสุขภาพ ไม่มีโรคประจำตัว ไม่เคยเจ็บป่วยในรอบ 1 ปี ที่ผ่านมา ในกรณีที่เจ็บป่วย ส่วนใหญ่ป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ มีอาการปวดกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นการเจ็บป่วยเล็กน้อยทั่วไป จึงมักใช้บริการร้านขายยาทั่วไปมากที่สุด เนื่องจากเข้าถึงบริการได้ง่าย รวดเร็ว ใกล้ที่อยู่อาศัย ในระยะทางที่ไม่เกิน 5 กิโลเมตร และในแต่ละครั้งเมื่อเจ็บป่วยจะมีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ไม่เกิน 500 บาท ด้านความรู้เกี่ยวกับประกันสุขภาพพบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยแรงงานต่างด้าวรับรู้ถึงสิทธิเป็นเจ้าของบัตรประกันสุขภาพ ระยะเวลาของการใช้สิทธิในบัตรประกันสุขภาพ รวมถึงสิทธิของบุตรในบัตรประกันสุขภาพเป็นอย่างดี แต่ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างแรงงานต่างด้าว ยังคงมีความเข้าใจที่ผิด ในเรื่องสิทธิของบัตรประกันสุขภาพในการรักษาโรคต่างๆ เป็นต้น การเข้าถึงบริการสุขภาพ ในภาพรวมสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้ในระดับมาก โดยกลุ่มแรงงานต่างด้าวสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพด้านความสามารถในการเสียค่าใช้จ่ายสำหรับการบริการ ด้านคุณภาพและการบริการ และด้านความสะดวกและสิ่งอำนวยความสะดวกของแหล่งบริการ ในระดับมาก ขณะที่ด้านการเข้าถึงแหล่งบริการ และด้านความพอเพียงของบริการอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานต่างด้าวในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า อายุ มีอิทธิพลต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพมากที่สุด รองลงมาคือ การเจ็บป่วย ระยะเวลาเข้ามาทำงานในจังหวัดเชียงใหม่ เพศ และการศึกษา ตามลำดับen_US
Appears in Collections:ECON: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
611632004 กิตติชัย แซ่ลิ่ม.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.