Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/72030
Title: การศึกษากระบวนการแยกเปลือกเมล็ดลำไยเพื่อใช้เนื้อในเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์
Other Titles: A Study of Longan Seed Coat Separating Process for Taking out Seed Kernel as Animal Feed
Authors: สุเนตร สืบค้า
รชต สุวิทย์ชยานนท์
บัณฑิต หิรัญสถิตย์พร
พิสุทธิ์ กลิ่นขจร
แสนวสันต์ ยอดคำ
บัวเรียม มณีวรรณ์
ระวิน สืบค้า
Authors: สุเนตร สืบค้า
รชต สุวิทย์ชยานนท์
บัณฑิต หิรัญสถิตย์พร
พิสุทธิ์ กลิ่นขจร
แสนวสันต์ ยอดคำ
บัวเรียม มณีวรรณ์
ระวิน สืบค้า
Keywords: เมล็ดลำไย;การแยกเปลือก;อาหารสัตว์;Longan seed;seed coat separation;animal feed
Issue Date: 2563
Publisher: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 27, 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2563), 191-204
Abstract: หนึ่งในแนวทางการจัดการของเสียจากกระบวนการแปรรูปลำไยให้เหลือศูนย์คือการนำเมล็ดลำไยมาใช้เป็น วัตถุดิบอาหารสัตว์ทดแทนคาร์โบไฮเดรตที่มีราคาแพงกว่า แต่เปลือกของเมล็ดลำไยมีสารแทนนินซึ่งเป็นสารต้านโภชนะ สำหรับสัตว์ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการแยกเปลือกเมล็ดลำไยเพื่อใช้เนื้อในเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ การแยกเปลือกเมล็ดลำไยมี 2 กระบวนการ คือกระบวนการเตรียมเมล็ดลำไยก่อนแยกเปลือกและกระบวนการแยกเปลือก เมล็ดลำไย ผลของการเตรียมเมล็ดลำไย 4 วิธี และความเร็วการแยกเปลือก 5 ระดับต่อสมรรถนะในการแยกเปลือกชี้ให้ว่า กระบวนการเตรียมเมล็ดลำไยที่เหมาะสมคือการตากแดดเมล็ดลำไยสดหลังการแกะเนื้อในออกทันที 4 วัน หรือการอบด้วย ลมร้อนที่อุณหภูมิ 65°C นาน 24 hrความเร็วในการแยกเปลือกที่ดีที่สุดคือ 1,000 rpm โดยที่การทดสอบระยะยาวที่ เงื่อนไขการแยกเปลือกเมล็ดลำไยที่ดีที่สุดนี้ชี้ให้เห็นว่า เครื่องแยกเปลือกเมล็ดลำไยมีอัตราการทำงาน 94.40 kg.hr-1 ประสิทธิภาพและประสิทธิผลการแยก 89.80 และ 83.68% ตามลำดับ มีการตกค้างภายในเครื่องต่ำเพียง 0.07% และใช้ พลังงานในการแยก 0.082 kWh.kg-1 การศึกษาคุณค่าทางโภชนะและพลังงานใช้ประโยชน์ได้ของเนื้อในเมล็ดลำไย ชี้ให้เห็นว่า เนื้อในเมล็ดลำไยมีพลังงานใช้ประโยชน์ได้จากการคำนวณ 3,546.55 cal/g ซึ่งใกล้เคียงกับค่าพลังงาน ใช้ประโยชน์ได้ในข้าวโพดบดและปลายข้าว แต่ราคาขายในสภาพบดไม่ควรสูงเกินกวา่ 8 Baht.kg-1 เนื่องจากการเข้าถึง เป็นไปได้ยากกวา่ วัตถุดิบอาหารสัตว์จำพวกเมล็ดข้าวโพดหรือปลายข้าวโดยไม่ควรรับซื้อเมล็ดลำไยสดในราคาที่มากกว่า 4 Baht.kg-1 เพราะจะมีจุดคุ้มทุนที่สูงมากแต่ เมื่อพิจารณาระยะเวลาคืนทุนที่เหมาะแก่การลงทุน (ไม่ เกิน 5 ปี) จะต้องผลิต ไม่น้อยกวา่ 2,000 kg.yr-1 สำหรับเมล็ดลำไยสดราคา 2 Baht.kg-1 และไม่น้อยกวา่ 3,000 kg.yr-1 สำหรับ 3 Baht.kg-1 หากเมล็ดลำไยสดมีราคา 4 Baht.kg-1 ขึ้นไปไม่ควรลงทุนทำโครงการ One of waste management of longan processing is to use longan seed as animal feeds replacing carbohydrate sources. However, longan seed coat is an anti-animal growth substance which is needed to be removed. The objective of the present study was to investigate the seed coat separating process for the use of its kernel as animal feed. There were 2 processes: the process of preparing longan seeds before separating the seed coat and the process of taking out seed kernel as animal feed. The effect of 4 methods of longan seed preparation and 5 separation speeds on the separation performance suggested that the best way to prepare longan seed before separation was sun drying for 4 days, or in the hot air oven at 65°C for 24 hr and the best machine spud was at 1,000 rpm. The long run of this proper seed coat seperation showed the capacity of 94.40 kg. hr- 1 , the percentages of separation efficiency and effectiveness of 89.80 and 83.68%, respectively. The percentage of residual inside the machine was 0.07% and the energy consumption in separation was 0.082 kWh.kg-1 dried of longan kernel. The study of the nutritional value and calculated metabolizable energy (ME) of the kernel in the longan seeds was 3,546.55 cal/g which was close to the ME of ground corn and rice broken. However, fresh seeds should not be purchased at a price of more than 4 Baht. kg- 1 because of high break even point. However, considering the theoretical payback period (with in 5 years), the longan seed kernel must be produced not less than 2,000 kg.yr-1 for fresh seeds of 2 Baht.kg-1 and not less than 3,000 kg.yr-1 for 3 Baht.kg-1 . For fresh longan seeds price at 4 Baht.kg-1 or more, the investment shouldnot be done.
Description: วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Engineering Journal Chiang Mai University) เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความวิชาการในลักษณะบทความวิจัย และบทความปริทัศน์ที่มีคุณภาพสูง ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีเนื้อหาที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐานจนกระทั่งการนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งในแง่ทฤษฎี การวางแผน การทดลอง การออกแบบ หรือการพัฒนาอุปกรณ์และการจำลองการทำงานของระบบ หรือกระบวนการต่างๆ เป็นต้น ได้รับการยอมรับอยู่ในฐานข้อมูล Thailand Citation Index (TCI) กลุ่มที่ 2 สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
URI: https://researchs.eng.cmu.ac.th/UserFiles/File/Journal/27_3/16.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/72030
ISSN: 2672-9695
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.