Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71987
Title: ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมสุขภาพ ดัชนีมวลกาย และระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้
Other Titles: Effects of Empowerment Program on Health Behaviors, Body Mass Index and Blood Pressure Levels in Patients with Uncontrolled Hypertension
Authors: วรดา ทองสุก
วรวรรณ์ ทิพย์วารีรมย์
ปิ่นหทัย สุภเมธาพร
Authors: วรดา ทองสุก
วรวรรณ์ ทิพย์วารีรมย์
ปิ่นหทัย สุภเมธาพร
Keywords: พฤติกรรมสุขภาพ;พลังอำนาจ;ดัชนีมวลกาย;ความดันโลหิต;Empowerment;Health behavior;Body mass index;Blood pressure;Uncontrolled Hypertension
Issue Date: 2563
Publisher: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: พยาบาลสาร 47,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2563) 230-242
Abstract: การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 ราย เก็บข้อมูลระหว่างเดือน ธันวาคม พ.ศ.2562 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 1) โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ 2) แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ 0.92 และค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.76 วิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Wilcoxon sign Rank test และ Mann-Whitney u Test ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ หลังเข้าร่วมโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ มีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพสูงกว่ากลุ่มควบคุม และสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<.001) ค่า BMI ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ หลังเข้าร่วมโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ มีBMI ต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<.001) แต่ไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม ค่าเฉลี่ยระดับความดันโลหิตผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ หลังเข้าร่วมโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ มีค่าเฉลี่ยระดับความดันโลหิตต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการเสริมร้างพลังอำนาจและต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงประสิทธิผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ ในการให้ผู้ป่วยได้รู้จักและตระหนักในคุณค่าตนเองเรียนรู้และเข้าใจในการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพได้ถูกต้องและสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้เป็นปกติ The objective of this quasi-experimental research is to study the effect of an empowerment program in an uncontrollable hypertension patient. The samplings were hypertension patients, divided into experimental group and control group, 30 in each group. Data collected between December 2019 to February 2020. The tool used in this study consisted of 1) The empowerment program in an uncontrollable hypertension patient 2) Health behavior questionnaire. A content validity was 0.92 and the confidence value by using Alpha Cronbach's coefficient was 0.76. Data were analyzed using descriptive statistics, frequency, percentage, mean, and standard deviation. Normality test, Shapiro-Wilk test statistics. Used Nonparametric with Wilcoxon sign rank test and Mann-Whitney u test. The result of the research shows that uncontrollable hypertension patients after participating in the empowerment program had a higher mean score of health behavior than those receiving regular nursing care and higher than before joining the program statistically significant (p<.001). A BMI of uncontrollable hypertension patient after participating in the empowerment program was lower than before joining the program statistically significant (p <.001) but was not different from a control group. A mean blood pressure levels of uncontrollable hypertension patient after participated the empowerment program had lower blood pressure levels than before participated the empowerment program and lower than the control group statistical significance (p <.001). The results of this research show the effectiveness of the empowerment program to their awareness of self-worth, learning and understanding of the practice of healthy behavior correctly and able to control blood pressure levels as normal.
Description: วารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาล
URI: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/243083/168429
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71987
ISSN: 0125-5118
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.