Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71975
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยครอบครัวและรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูกับภาวะโภชนาการ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
Other Titles: Association between Family factors and parenting style and nutritional status among students grade 4-6 in schools under the office of the basic education commission
Authors: สุชาดา พิชัยธรรม
ยุวยงค์ จันทรวิจิตร
อุมาพร ห่านรุ่งชโรทร
Authors: สุชาดา พิชัยธรรม
ยุวยงค์ จันทรวิจิตร
อุมาพร ห่านรุ่งชโรทร
Keywords: ปัจจัยครอบครัว;รูปแบบการอบรมเลี้ยงดู;ภาวะโภชนาการเกิน;Family Factors;Parenting Style;Nutritional Status
Issue Date: 2563
Publisher: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: พยาบาลสาร 47,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2563) 88-99
Abstract: ภาวะโภชนาการเป็นพื้นฐานของการมีสุขภาพดี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (DescriptiveResearch) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยครอบครัว และปัจจัยรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูกับภาวะโภชนาการของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด จำนวน 171 คน ได้แก่ ผู้ปกครองของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ปัจจัยครอบครัว และรูปแบบการอบรมเลี้ยงดู ตรวจสอบความตรงของเนื้อหาในส่วนปัจจัยครอบครัว ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องของเนื้อหา เท่ากับ 0.8-1 สำหรับรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูใช้แบบสอบถามของ วีรนุช วงศ์คงเดช (2547) ทดสอบความน่าเชื่อถือของเครื่องมือได้ค่า0.78-0.92 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติไคว์-สแควร์ และคะแนนมาตรฐาน (Z-Score) ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยครอบครัว ได้แก่ รายได้ครอบครัว มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการ ส่วนประเภทครอบครัว ระดับการศึกษาของผู้ปกครอง จำนวนพี่น้องของเด็ก ไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการ และรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่ มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการ ส่วนรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบควบคุม ตามใจ และแบบทอดทิ้ง ไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการ ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปส่งเสริมให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญในการเลือกซื้ออาหารและการบริโภคอาหารที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก Nutritional status is a foundation of good health. This descriptive study aims to study the association between family factors, parenting style and nutritional status among students in grades 4-6 in schools. One hundred and seventy one parents of students in grades 4-6 in schools under the Office of Basic Education Commission in Muang District Phitsanulok Province were selected by multistage sampling. The instrument used in the research was a questionnaire, which consisted of two parts: family factors and parenting styles. Descriptive statistics and the Chi-Square test and the standard score (Z-Score) were used to analyze the data. The result showed that family income was associated with nutritional status while family type, parental education and the number of children were not associated with nutritional status. It also found that an authoritative parenting style was associated with nutritional status while authoritarian, permissive and neglectful parenting styles were not associated to nutritional status. The result of this study could be used to promote the parent to realize the significance of food selection and food consuming that appropriate to child ’s age.
Description: วารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาล
URI: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/242260/168411
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71975
ISSN: 0125-5118
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.