Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71212
Title: การควบคุมโรคเน่าดำของถั่วเขียวผิวดำ พันธุ์พิษณุโลก 2 โดยใช้เชื้อราปฏิปักษ์
Other Titles: Controlling Charcoal Rot of Black Gram Seed cv. Phitsanulok 2 by Antagonistic Fungi
Authors: อังคณา กันทาจันทร์
สมบัติ ศรีชูวงศ์
Authors: อังคณา กันทาจันทร์
สมบัติ ศรีชูวงศ์
Keywords: ถั่วเขียวผิวดำ;โรคเน่าดำ;เชื้อราปฏิปักษ์;การป้องกันกำจัดโดยชีววิธี;Black gram;charcoal rot disease;Macrophomina phaseolina;antagonistic fungi;biocontrol
Issue Date: 2552
Publisher: คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: วารสารเกษตร 25, 3 (มิ.ย. 2552), 237-244
Abstract: จากการตรวจหาเชื้อรา Macrophomina phaseolina สาเหตุโรคเน่าดำ จากเมล็ดถั่วเขียวผิวดำพันธุ์พิษณุโลก 2 โดยวิธีเพาะบนกระดาษชื้น พบเชื้อรา M. phaseolina ร้อยละ 23.75 ผลการทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อราปฏิปักษ์ 4 ชนิด ได้แก่ Trichoderma harzianum I103, T. harzianum, T. virens IG10 และ T. virens IG2 ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา M. phaseolina โดยวิธี dual culture พบว่าเชื้อรา T. harzianum I103 ให้ผลดีที่สุด ในการศึกษากลไกในการเข้าทำลาย โดยวิธี slide dual culture พบว่าเชื้อราปฏิปักษ์ทั้ง 4 ชนิด แสดงการเป็นปรสิตด้วยการพันรอบเส้นใยของเชื้อราสาเหตุโรค และแทงเส้นใยเข้าภายในเส้นใยของเชื้อราสาเหตุโรค ทำให้เส้นใยของเชื้อราสาเหตุโรคสลายตัว และแฟบลง และเมื่อนำเชื้อราทั้ง 4 ชนิด ไปทดสอบประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดเชื้อรา พบว่า T. harzianum I103 สามารถลดการตายก่อนงอก การตายหลังงอก ต้นอ่อนผิดปกติ และช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์ความงอก ความยาวลำต้น ความยาวราก น้ำหนักสด และน้ำหนักแห้ง ได้ดีที่สุด Blotter method was used to detect Macrophmina phaseolina, the causal agent of charcoal rot disease, on black gram seed cv. Phitsanulok 2. Only 23.75 % of seeds were contaminated with the fungus. The study on antagonistic effects of Trichoderma harzianum I103, T. harzianum, T. virens IG10 and T. virens IG2 on growth inhibition of M. phaseolina were carried out using dual culture method. It was indicated that T. harzianum I103 had given the best result. Antagonistic mechanisms of the tested fungi were also examined by slide dual culture technique. All four fungi showed the parasitic characters by coiling around and penetrated into the hyphae of M. phaseolina. The hyphae of M. phaseolina then became lysis and subsequently collapsed. Among them T. harzianum I103 had the abilities to decrease pre-emergence damping off, post-emergence damping-off and abnormal seedlings and to increase seedlings emergence, shoot length, root length, fresh weight and dry weight.
Description: วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 1
URI: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/246428/168513
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71212
ISSN: 0857-0841
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.