Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71208
Title: | ผลของน้ำมันหอมระเหยจากพริกไทยดำ ในการฆ่าไรแดงแอฟริกัน |
Other Titles: | Effect of Black Pepper (<I>Piper nigrum </I>Linn.) Essential Oil on African Red Mite (<I>Eutetranychus africanus </I>(Tucker)) (Actinedida: Tetranychidae) |
Authors: | จรงค์ศักดิ์ พุมนวน วรเดช จันทรสร อำมร อินทร์สังข์ พิฆเนศ รองพล |
Authors: | จรงค์ศักดิ์ พุมนวน วรเดช จันทรสร อำมร อินทร์สังข์ พิฆเนศ รองพล |
Keywords: | น้ำมันหอมระเหย;พริกไทยดำ;ไรแดงแอฟริกัน;Essential oil;Piper nigrum;Eutetranychus africanus |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | วารสารเกษตร 25, 2 (มิ.ย. 2552), 169-176 |
Abstract: | การทดสอบน้ำมันหอมระเหยจากพริกไทยดำ (Piper nigrum Linn.) ที่แยกสกัดจากเปลือกและจากเนื้อ ต่อไรแดงแอฟริกัน (Eutetranychus africanus (Tucker)) ศัตรูส้ม โดยวิธีการสัมผัสและการฉีดพ่นโดยตรง การทดสอบวิธีการสัมผัสทดสอบที่ความเข้มข้น 0 (ethanol 95%), 1, 2, 3, 4 และ 5% และน้ำมันหอมระเหยส่วนผสมที่สกัดจากเปลือกกับส่วนที่สกัดจากเนื้อแต่ละความเข้มข้นในอัตราส่วน 9:1, 8:2 และ 7:3 ใช้ปริมาตร 15 μl เคลือบบนใบทองหลางขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 cm จึงมีปริมาณน้ำมันหอมระเหยเท่ากับ 0, 0.19, 0.38, 0.57, 0.76 และ 0.95 μl/cm2 ตามลำดับ ตรวจนับอัตราการรอด การตาย การไล่ และปริมาณการวางไข่ที่ 24, 48 และ 72 ชั่วโมง และเปอร์เซ็นต์การฟักของไข่ทั้งหมด ส่วนการฉีดพ่นโดยตรงทดสอบที่ความเข้มข้น 0 (tween-20 5% ในน้ำ), 1, 2, 3, 4 และ 5% ด้วยเครื่อง Potter’s spray tower ปริมาตร 2 ml โดยใช้ความดัน 10 lbf/sq in ขนาดละออง 50-110 μm ตรวจนับอัตราการตายที่ 24 ชั่วโมง พบว่าเปอร์เซ็นต์การตายของไรแดงแอฟริกันที่เกิดจากน้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากเนื้อของพริกไทยดำโดยวิธีการสัมผัสสูงกว่าที่สกัดจากเปลือก โดยที่ความเข้มข้น 5% (0.95 μl/cm2) มีอัตราการตาย 18 และ 12% ที่ 24 ชั่วโมง ตามลำดับ และ มีอัตราการตาย 66 และ 16% ที่ 48 ชั่วโมง ตามลำดับ น้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากเปลือกของพริกไทยดำมีประสิทธิภาพในการไล่สูงกว่าที่สกัดจากเนื้อ มีอัตราการไล่ 74.0 และ 4.0% ที่ 24 ชั่วโมง ตามลำดับ และมีอัตราการไล่ 74.0 และ 10.0% ที่ 48 ชั่วโมง ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับการทดสอบโดยวิธีการฉีดพ่นโดยตรง คือไรแดงแอฟริกันมีอัตราการตายจากการทดสอบด้วยน้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากเนื้อของพริกไทยดำ มีเปอร์เซ็นต์การตายสูงกว่าที่สกัดจากเปลือก โดยที่ 5% มีเปอร์เซ็นต์การตายเท่ากับ 98.3 และ 93.3% ตามลำดับ และมีค่า LC50 เท่ากับ 2.06 และ 3.03% ตามลำดับ น้ำมันหอมระเหยส่วนที่สกัดจากเปลือกผสมกับส่วนที่สกัดจากเนื้อของพริกไทยดำในอัตราส่วนต่างๆ ทุกความเข้มข้นมีผลต่ออัตราการตายของไรแดงแอฟริกันต่ำกว่าการทดสอบด้วยน้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากเนื้อเพียงอย่างเดียว และน้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากเนื้อของพริกไทยดำมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการวางไข่และการฟักของไข่ คือที่ 5% (0.95 μl/cm2) มีปริมาณการวางไข่ 0.4 ฟองต่อตัว ที่ 24 ชั่วโมง มีอัตราการฟักทั้งหมด 32.4% ขณะที่กลุ่มควบคุมมีปริมาณการวางไข่ 5.6 ฟองต่อตัว ที่ 24 ชั่วโมง และมีอัตราการฟัก 70.6% Acaricidal property of essential oils obtained from seed coat oil and seed kernel oil of black pepper, Piper nigrum Linn. against African red mite, Eutetranychus africanus (Tucker) was investigated by using contact and direct spray methods. Essential oils at concentrations of 0, (ethanol 95%), 1, 2, 3, 4 and 5% as well as the mixture of seed coat oil and seed kernel oil at the ratio of 9:1, 8:2 and 7:3 of each concentration were applied to host plant leaves which cut in to circle, 1 cm diameter at 15 μl (as referred to 0, 0.19, 0.38, 0.57, 0.76 and 0.95 μl/cm2, respectively). The survival rate, mortality, repellency and number of laid eggs were observed at 24, 48 and 78 hrs. Percentage of egg hatching was also evaluated. For direct spray method, essential oils at the concentrations of 0 (5% tween-20 in water), 1, 2, 3, 4 and 5% were applied for 2 ml using Potter’s spray tower at 10 lbf/sq in (50-110 μm dust spray size). The mite mortality was checked at 24 hrs. The results presented that by contact method, seed kernel oil showed a higher effective result than that of seed coat oil. Therefore, these oils at the concentration of 5% (0.95 μl/cm2) caused the mortalities of 18 and 12% at 24 hrs, and 66 and 16% at 48 hrs, respectively. Whereas, seed coat oil presented higher repellency effect than that of seed kernel oil, which showed 74.0 and 4.0% at 24 hrs, and 74.0 and 10.0% at 48 hrs, respectively. Similar result was obtained by direct spray method. Therefore, seed kernel oil caused the mite mortality of 98.3% comparing to 93.3% caused by seed coat oil in which presented LC50 of 2.06 and 3.03%, respectively. The mixture of seed coat and seed kernel oils at all concentrations showed a lower efficiency to the mite than that of seed kernel oil. Seed kernel oil also presented better result, of egg laying of 0.4 egg/adult at 24 hrs and egg hatching of 32.4%, comparing to 5.4 eggs/adult and 70.6% egg hatching were found in the control. |
Description: | วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 1 |
URI: | https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/246241/168366 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71208 |
ISSN: | 0857-0841 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.