Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71187
Title: | การเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่า ในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย |
Authors: | สิริรัฐ สุกันธา |
Authors: | สิริรัฐ สุกันธา |
Keywords: | แรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่;การเคลื่อนย้ายแรงงาน;กระบวนการเคลื่อนย้ายแรงงาน;การอพยพแรงงาน;ภาคเหนือตอนบน;Burmese Labors;Labors mobility;Labors mobility procedure;Migration labors;Northern Thailand |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 18, 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2557), 65-83 |
Abstract: | โครงการวิจัยเรื่อง การเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่า ในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติ เข้ามาทำงานในเขตภาคเหนือตอนบน รูปแบบและกระบวนการเคลื่อนย้ายแรงงานของ แรงงานข้ามชาติ ในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบ การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนา กลุ่มย่อย กลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 ราย โดยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง โดยใช้เทคนิค ลูกโซ่ (Snowball) ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีส่วนผลักดันให้แรงงานสัญชาติพม่า เดินทางเข้ามาทำงานในเขตภาคเหนือตอนบน 3 ลำดับแรก ได้แก่ ความต้องการมีงานทำ และการมีรายได้ที่มั่นคง การถูกกดขี่ข่มเหงจากรัฐบาลทหารของพม่า และการมีทางเลือก สำหรับการทำงานอื่นๆ ค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับตำแหน่งงานในประเทศไทย ปัจจัยที่มี ส่วนดึงดูดให้แรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่าเดินทางเข้ามาทำงานในเขตภาคเหนือตอนบน 3 ลำดับแรก ได้แก่ การมีงานให้เลือกทำได้มาก การมีค่าจ้างแรงงานที่สูงเมื่อเทียบกับการ ทำงานในประเทศสหภาพพม่าและความต้องการมีรายได้ที่มั่นคง เพื่อที่จักได้ส่งเงินกลับ ไปให้ พ่อ แม่ และญาติๆ ที่อยู่ในประเทศสหภาพพม่าได้อย่างต่อเนื่อง รูปแบบการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติมีการเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศอยู่ 2 ลักษณะ คือ การเคลื่อนย้ายแรงงานชั่วคราว และการเคลื่อนย้ายแรงงานถาวร วิธีการเคลื่อนย้าย แรงงานข้ามชาติ มีวิธีการเคลื่อนย้ายแรงงานส่วนใหญ่ โดยอาศัย รถยนต์ จากประเทศต้นทาง มายังด่านที่ชายแดนและมายัง จังหวัดเชียงใหม่ก่อนจะย้ายที่ทำงานไปยังที่อื่นๆ โดยแบ่งวิธี การเดินทาง ออกเป็น 3 ลักษณะ คือ เดินทางด้วยเท้า เข้ามาตามตะเข็บชายแดน เดินทางมาโดยรถโดยสารประจำทางโดยมี นายหน้า บุคคลในครอบครัว เพื่อน หรือญาติที่เคยมาทำงานในประเทศไทยแล้ว เดินทางมาด้วย และเดินทางมาทาง รถยนต์/รถจักรยานยนต์โดยมากับนายหน้า กระบวนการเคลื่อนย้ายแรงงานของแรงงานข้ามชาติเข้ามาทำงานในเขตภาคเหนือ ตอนบนของประเทศไทย แรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่าส่วนใหญ่มีกระบวนการตัดสินใจใน การเคลื่อนย้ายแรงงาน 4 ขั้นตอนตามลำดับ คือการศึกษาหาข้อมูลและกลั่นกรองข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การประเมินทางเลือก และการตัดสินใจเลือก The purpose of this research project entitled the mobility of Burmese labors in Upper Northern Thailand was to study about the factors that affected on the Burmese labors’ decision to move to work in the upper northern Thailand, including the approach and procedure of Burmese labor mobility within the upper part of northern Thailand. This research is the qualitative research being done by using the in-depth interview and focus group discussion. Thirty sample groups were selected by purposive sampling through the Snowball technique. The study results showed that the top three factors that influenced on the Burmese labor and motivated them to move to work in the upper northern Thailand were the need to have a job to do and get stable income, being oppressed from the Burmese military regime, and the relative more meager options for job in their country compared with those in Thailand. The top three factors that attributed to attracting the Burmese labors to pursue a job in the upper northern Thailand included the great number of jobs to choose, the higher rate of wage in Thailand and the need to have stable income so that they could consistently keep on remitting the money back to their country. There were two approaches of Burmese labors mobility, namely the temporary mobility and permanent mobility. Regarding the methods of labors mobility, it was found that most of the Burmese labors traveled from the original country to the border checkpoint and continued to Chiang Mai by car before transferring to other workplaces. The approaches of traveling can be divided into three major ways as follows: On foot—The immigrated labors usually access into Thailand through the frontier. By bus—The labors travel on bus accompanied with the brokers, family members, friends or relatives who used to work in Thailand. By car/motorcycle—The labors always come with their broker by car or motorcycle. Regarding the mobility of Burmese labors to work in the upper northern Thailand, most Burmese labors had four chronological stages of decision to move to work in Thailand as follows: Studying about and scrutinizing on the information Analyzing on the obtained information Assessing the options and Making a final decision. |
Description: | วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้การดำเนินงานโดยคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รับพิจารณาบทความวิชาการ บทความวิจัย ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์โดยใช้รูปแบบการการพิจารณาบทความโดยที่ผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบชื่อผู้เขียน และผู้เขียนจะไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (Double Blind Process) มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่วิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ และเป็นสื่อกลางในการรายงานความก้าวหน้าทางวิชาการ |
URI: | https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CMJE/article/view/61010/50261 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71187 |
ISSN: | 0859-8479 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.