Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71148
Title: | ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของประชาชนในพื้นที่อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี |
Other Titles: | Effectiveness of a Capacity Building Program for Village Health Volunteers on Knowledge and Attitude Toward Emergency Medical Services of People In Nongsua District, Pathumthani Province |
Authors: | นภาพร ลิ้มฮกไล้ โยทะกา ภคพงศ์ ปรีย์กมล รัชนกุล |
Authors: | นภาพร ลิ้มฮกไล้ โยทะกา ภคพงศ์ ปรีย์กมล รัชนกุล |
Keywords: | โปรแกรมพัฒนาศักยภาพ;อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน;ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน;Capacity-Building Program;Health Volunteer;Emergency Medical Service |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | พยาบาลสาร 42, 3 (ก.ค.-กั.ย. 2558), 106-118 |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยประเมินผล (Evaluation research) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ต่อความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับระบบบริการการแพทย์ ฉุกเฉินของประชาชนในพื้นที่อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี เป็นการศึกษากลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มเดียว (The one group pretest- posttest design)โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย มีกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม กลุ่มที่หนึ่งคือ อสม. ในตำบลบึงบา 60 คน คัดเลือกตามเกณฑ์การคัดเข้าและออกได้ อสม.เข้าร่วมโปรแกรม 25 ราย กลุ่มที่สองคือ ประชาชนในพื้นที่ตำบลบึงบา หมู่ 4 ที่เป็นตัวแทนครอบครัว 40 คน การศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1) จัดให้อสม.เข้าร่วมโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพเกี่ยวกับระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ขั้นตอนที่ 2) ให้อสม.ที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพทำกิจกรรมขยายผลในเรื่องการถ่ายทอดความรู้และปรับเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลบึงบาเก็บข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม 2555 โดยวัดผลก่อนและหลังการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามให้ตอบด้วยตัวเองประกอบด้วย คำถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล ความรู้เกี่ยวกับบริการการแพทย์ฉุกเฉิน และทัศนคติเกี่ยวกับบริการการแพทย์ฉุกเฉิน และเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้และทัศนคติของอาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชน ก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้สถิติที(dependent t-test) This an evaluation research aimed to determine the effectiveness of a capacity- building programs for Health volunteers on the knowledge and attitudes towardemergency medical services of the residents of Nongsua District, Pathum-thani Province.Data were collected by The one group pretest-posttest design with a set of simple selection criteria. There are two sample groups. The first group is 40 Health volunteers of Bung Ba and 25 of them were selected. The second group is 40 people who are representative of the family. The study was divided into two steps. In the first step, village health volunteers participated in capacity building program. The second step, in the activity of village health volunteers to gift selected people the knowledge and change their attitude toward emergency medical services. Descriptive statistic were employed for the analysis of the data : frequency, percentage, mean and standard deviation. The dependent t-test was employ to compare the averages of the knowledgeand attitudes of the people before and after the experiment. |
Description: | วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ |
URI: | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/55036/45694 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71148 |
ISSN: | 0125-0087 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.