Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71124
Title: | ผลของสารโคลชิซินต่ออัตราการรอดชีวิต ลักษณะทางสรีรวิทยา และสัณฐานวิทยาของหน้าวัวพันธุ์ Micky Mouse |
Other Titles: | Effect of Colchicine on Survival Rate, Physiology and Morphology of <I> Anthurium andraeanum </I> cv. Micky Mouse |
Authors: | อัญญาณี จันทร์ภักดี สมปอง เตชะโต |
Authors: | อัญญาณี จันทร์ภักดี สมปอง เตชะโต |
Keywords: | หน้าวัว Anthurium andraeanum Micky Mouse;โคลชิซิน;ปากใบ;คลอโรพลาสต์;Anthurium andraeanum Micky Mouse;colchicine;stomata;chloroplast |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | วารสารเกษตร 26, 1 (ก.พ. 2553), 15-25 |
Abstract: | การชักนำให้เกิดความหลากหลายทางพันธุกรรมในหน้าวัวพันธุ์ Micky Mouse โดยการใช้ nodular callus จุ่มแช่ในสารละลายโคลชิซินความเข้มข้น 0, 0.05, 0.1, 0.15 และ 0.2% เป็นระยะเวลา 24, 48 และ 72 ชั่วโมง จากการศึกษา พบว่า อัตราการรอดชีวิตของแคลลัสหลังย้ายเลี้ยงเป็นเวลา 21 วัน ลดลงตามความเข้มข้นของสารละลายโคลชิซินที่สูงขึ้น โดยที่ความเข้มข้นโคลชิซิน 0.1% ให้อัตราการรอดชีวิตเฉลี่ยลดลงแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01) การจุ่มแช่โคลชิซินเป็นเวลา 72 ชั่วโมง ให้อัตราการรอดชีวิตเฉลี่ยต่ำสุด 45.95% แตกต่างทางถิติ (P<0.01) กับอีก 2 เวลาที่ทดสอบต้นหน้าวัวที่ชักนำได้จากแคลลัสที่ผ่านการจุ่มแช่โคลชิซินมาตรวจสอบขนาดและจำนวนเม็ดคลอโรพลาสต์ภายในปากใบ พบว่า ค่าเฉลี่ยของขนาดปากใบและจำนวนเม็ดคลอโรพลาสต์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นและระยะเวลาในการจุ่มแช่โคลชิซินที่สูงขึ้น โดยที่โคลชิซินเข้มข้น 0.2% จุ่มแช่นาน 72 ชั่วโมงมีขนาดและจำนวนเม็ดคลอโรพลาสต์เฉลี่ยสูงสุดคือ กว้าง 1.92 ไมโครเมตร ยาว 1.91 ไมโครเมตร และ 39.06 เม็ดต่อปากใบ ซึ่งมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่งกับชุดควบคุม นอกจากนี้ยังพบความผิดปกติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับปากใบ เช่น ปากใบมีรูปร่างผิดปกติ เม็ดคลอโรพลาสต์ภายในปากใบผิดปกติ และไม่เกิดการสร้างเม็ดคลอโรพลาสต์ขึ้นในปากใบ เป็นต้น และเมื่อทำการตรวจสอบขนาดใบ พบว่าความยาวและความกว้างของใบเฉลี่ยจากโคลชิซินทุกความเข้มข้นและทุกระยะเวลาการจุ่มแช่ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ และพบลักษณะการด่างของใบ 3 ลักษณะคือ ด่างบางส่วนของใบ ด่างบริเวณขอบใบ และ ด่างบางส่วนผสมกับด่างบริเวณขอบใบ In order to generate genetic viability in Anthurium andraeanum cv. Micky Mouse, nodular callus was used to treat with 0, 0.05, 0.1, 0.15 and 0.2% colchicine for 24, 46 and 72 h. Average survival rate of the calli after 21 days of culture was significantly decreased (P<0.01) when the concentration was increased to 0.1%. Treated nodular callus at 72 h gave the lowest average number of survival percentage at 45.95, significant difference (P<0.01) to the other two times. The average of stomatal size and chloroplast numbers in guard cells were increased when concentration of colchicine increased. Explants treated with 0.2% colchicine for 72 h gave the highest average stomatal size and chloroplast numbers at 1.92 µm in width and 1.91 µm in length, and 39.06 chloroplasts/stomata, respectively. Abnormality of stomata such as, stomatal shapes and chloroplast in guard cell were observed. Leaf sizes of plants obtained from all concentrations and durations of colchicine showed no significant difference. Chimeral leaves were obtained which could be classified into three categories: sectorial, periclinal and combination of sectorial and periclinal. |
Description: | วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 14 |
URI: | https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/246148/168286 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71124 |
ISSN: | 0857-0855 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.