Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69792
Title: ผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อและอุบัติการณ์การติดเชื้อในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง
Other Titles: Effects of Empowerment on Infection Prevention Practices and Incidence ofInfections among Patients with Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis
Authors: แพรวพรรณ โกสินทร
อะเคื้อ อุณหเลขกะ
นงเยาว์ เกษตร์ภิบาล
Authors: แพรวพรรณ โกสินทร
อะเคื้อ อุณหเลขกะ
นงเยาว์ เกษตร์ภิบาล
Keywords: การเสริมสร้างพลังอำนาจ;การปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อ;อุบัติการณ์การติดเชื้อ;ผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง;Empowerment;Infection Prevention Practices;Incidence of Infection;Patients with Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis
Issue Date: 2558
Publisher: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: พยาบาลสาร 42 (พิเศษพฤศจิกายน 2558) 1-13
Abstract: การป้องกันการติดเชื้อเป็นกิจกรรมสำคัญที่ผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องจำเป็นต้องปฏิบัติ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองชนิด 2 กลุ่มเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อและอุบัติการณ์การติดเชื้อในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ ผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องด้วยตนเองที่มีระยะเวลาล้างไตตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป และอาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดแพร่ จำนวน 27 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 14 ราย และกลุ่มควบคุม 13 ราย โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ดำเนินการวิจัยตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ.2556 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2557 โดยกลุ่มทดลองได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจตามแนวคิดของกิบสัน กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการเสริมสร้างพลังอำนาจสำหรับผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง แบบสอบถามการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อ และแบบเฝ้าระวังการติดเชื้อ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติไคสแควร์ สถิติฟิชเชอร์ สถิติวิลคอกซัน และสถิติแมนน์-วิทนีย ยู ผลการวิจัยพบว่าก่อนการเสริมสร้างพลังอำนาจค่ามัธยฐานคะแนนการปฏิบัติของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมคิดเป็น 127 และ 125 จากคะแนนเต็ม 175 คะแนน ตามลำดับ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หลังได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจค่ามัธยฐานคะแนนการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อของกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นเป็น 165 คะแนนสูงกว่าก่อนได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p =.001) และสูงกว่ากลุ่มควบคุมซึ่งมีค่ามัธยฐานคะแนนการปฏิบัติ 126 คะแนนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.001) ไม่พบการติดเชื้อในกลุ่มทดลอง ในกลุ่มควบคุมเกิดการติดเชื้อ 2 ครั้ง อัตราการติดเชื้อคิดเป็น 0.46 ครั้ง/ราย/ปี ผลการวิจัยนี้ แสดงให้เห็นว่าการเสริมสร้างพลังอำนาจ สามารถช่วยให้ผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องมีการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อดีขึ้น ส่งผลให้อุบัติการณ์การติดเชื้อลดลง จึงควรนำวิธีการนี้ไปประยุกต์ใช้เพื่อลดการติดเชื้อในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง Infection prevention (IP) is an important activity that patients with continuousambulatory peritoneal dialysis (CAPD) need to practice. This quasi-experimental research two group pretest-posttest design aimed to determine the effects of empowerment on infection prevention practices and incidences of infections among CAPD patients. The study samples were 27 CAPD patients who had a duration of CAPD ≥ 6 months and lived in Muang district, Phrae province. Fourteen patients were selected for the experimental group and 13 patients for the control group using a simple random sampling technique. The study was conducted during September 2013 to January 2014. Gibson’s concept of empowerment was applied to the experimental group, while the control group received usual care. Study tools consisted of an empowerment plan for CAPD patients, an IP practices questionnaire and an infection surveillance form. Data were analyzed using descriptive statistics, Chi-squaretest, Fisher’s exact probability test, Wilcoxon signed rank test and Mann Whitney U test.The study results revealed that before the implementation of the empowerment program, the median score of IP practices among the experimental and control group were 127 and 125 from a total of 175 scores, respectively. After the implementation of the empowerment, the median score of IP practices of the experimental group significantly increased to 165 (p=.001), which was significantly higher than control group for which the median score was 126 (p<.001). No infection occurred in experimental group. There were 2 infections in the control group with an infection rate of 0.46 /patient-years.The study findings show that the empowerment implementation can help CAPDpatients improve IP practices, resulting in a reduction of the incidence of infection. It should be applied to decrease infection rates in CAPD patients.
Description: วารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาล
URI: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/57258/47462
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69792
ISSN: 0125-5118
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.