Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68911
Title: ผลของความหนาของโครงแบบซิลิโคนแบบใสต่อความแข็งผิวระดับจุลภาคของชิ้นงานบูรณะชั่วคราวเรซินคอมโพสิต
Other Titles: Effect of Clear Silicone Matrix Thickness on Microhardness of Composite Resin Provisional Restoration
Authors: อภิชาติ ลีนานุรักษ์
มะลิ พลานุเวช
Authors: อภิชาติ ลีนานุรักษ์
มะลิ พลานุเวช
Keywords: ร้อยละของการเปลี่ยนแปลงจากพันธะคู่เป็นพันธะเดี่ยว;ชิ้นงานบูรณะชั่วคราว;ซิลิโคนแบบใส;ความแข็งผิวระดับจุลภาค;Degree of conversion;Provisional restoration;Clear silicone;Microhardness
Issue Date: 2556
Publisher: คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร 34,2 (ก.ค.-ธ.ค. 2556), 61-70
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของความหนาของโครงแบบซิลิโคนแบบใสต่อความแข็งผิวจุลภาคแบบนูปของชิ้นงานบูรณะชั่วคราวเรซินคอมโพสิตชนิดบ่มตัวด้วยตัวเองร่วมกับการฉายแสง กลุ่มตัวอย่างถูกแบ่งเป็น 4 กลุ่มตามความหนาของโครงแบบซิลิโคนแบบใส ได้แก่ กลุ่มที่ไม่ใช้ซิลิโคน กลุ่มที่ใช้ซิลิโคนหนา 2 4 และ 6 มิลลิเมตรตามลำดับ โดยซิลิโคนแบบใสทำหน้าที่เป็นวัสดุกั้นระหว่างหลอดใยแก้วนำแสงและชิ้นงานบูรณะชั่วคราว ภายหลังชิ้นงานบูรณะชั่วคราวฉายแสงเป็นเวลา 40 วินาที่ เปรียบเทียบความแข็งผิวแบบนูปของชิ้นงานบูรณะชั่วคราวด้วยเครื่องทดสอบความแข็งผิวระดับจุลภาคในแต่ละกลุ่มตัวอย่างที่ความลึก 0 2 4 และ 6 มิลลิเมตรด้วยแรงกดขนาด 25 กรัมนาน 10 วินาที นำผลการทดสอบมาวิเคราะห์ด้วยสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง ผลการศึกษาพบว่าความหนาของชิลิโคนแบบใสมีผลต่อความแข็งผิวแบบนูปของวัสดุที่ระดับความลึกของวัสดุ 0 มิลลิเมตร แต่ไม่มีผลต่อความแข็งผิวแบบนูปของวัสดุที่ระดับความลึก 2 4 และ 6 มิลลิเมตรระหว่างบางกลุ่มตัวอย่างที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ดังนั้นการใช้โครงแบบซิลิโคนแบบใสผลิตงานบูรณะชั่วคราวจำเป็นต้องมีการฉายแสงเพิ่มเติมด้วยเครื่องฉายแสงเพื่อให้วัสดุมีความแข็งแรงมากขึ้นก่อนให้ผู้ป่วยใช้งานจริง The objective of this study was to study the effect of the clear silicon matrix thickness on knoop microhardness of dual-cured composite resin provisional restoration. The samples were divided into four groups according to the thickness of the clear silicone : no silicone, 2, 4 and 6 mm respectively used as a barrier between the optical fiber of light curing unit and provisional restoration. The samples were treated with a visible light curing unit for 40 seconds. The Knoop hardness number was compared with microhardness tester in each sample at a depth of 0, 2, 4 and 6 mm. with a load of 25 gram for 10 seconds. The microhardness tested were analyzed with a two-way analysis of variance. The result of this study, the clear silicone thickness significantly affected the knoop hardness number of the provisional restoration at the depth of 0 mm (p<0.05). But the clear silicone thickness were not affected the provisional restoration at the depth of 2, 4, and 6 mm between some groups (p<0.05). Application of clear silicone as a matrix for fabricating provisional restorations clinically need to have more exposure time of light from light curing unit for increasing the hardness when the patient clinically used.
Description: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคม
URI: http://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2556_34_2_332.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68911
ISSN: 0857-6920
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.