Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68906
Title: | การประเมินระดับกระดูกเบ้าฟันทางภาพรังสีรอบรากฟันเทียม “ฟันยิ้ม” ที่ใช้ร่วมกับฟันเทียมคร่อมรากฟันเทียมขากรรไกรล่าง ในโครงการรากฟันเทียมพระราชทาน |
Other Titles: | Radiographic Evaluation of Alveolar Bone Level around “FanYim” Implant-Retained Mandibular Overdentures in the Royal Dental Implant Project |
Authors: | สั่งสม ประภายสาธก อภิรุม จันทน์หอม การุณ เวโรจน์ สุกิจ เกษรศรี พิริยะ ยาวิราช |
Authors: | สั่งสม ประภายสาธก อภิรุม จันทน์หอม การุณ เวโรจน์ สุกิจ เกษรศรี พิริยะ ยาวิราช |
Keywords: | รากฟันเทียม;ภาพรังสี;ฟันเทียมคร่อม;รากฟันเทียมขากรรไกรล่าง;dental implant;radiograph;implantretained mandibular overdenture |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | เชียงใหม่ทันตแพทยสาร 34,1 (ม.ค.-มิ.ย. 2556), 77-90 |
Abstract: | วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินระดับกระดูกเบ้าฟันทางภาพรังสี่รอบรากฟันเทียม "ฟันยิ้ม" ที่ใช้ร่วมกับฟันเทียมคร่อมรากฟันเทียมขากรรไกรล่าง ในโครงการรากฟันเทียมพระราชทาน วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ ทำการเก็บข้อมูลภาพรังสีแพโนรามาของผู้ปวยที่มาเข้าร่วมโครงการฯ และได้รับการฝังรากฟันเทียมที่คณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในช่วงระยะเวลา 3 ปี (ตุลาคม 2551-2554) ภาพรังสีจะถูกนำมาประเมินระดับการสูญสลายของกระดูกที่ติดกับรากฟันเที่ยมโดยผู้สังเกตการณ์ ตามช่วงระยะเวลาต่างๆ หลังฝังรากฟันเทียมดังนี้ 1 สัปดาห์ 3 เดือน 56 เดือน (หลังใส่ลูกบอลยึดติด 1 สัปดาห์) 12 เดือน และ 18 เดือน ตามลำดับค่าที่วัดได้จะถูกนำมาหาค่าเฉลี่ยเพื่อเปรียบเทียบปริมาณการสูญเสียระดับกระดูก ณ เวลาต่างๆ และหาค่าเฉลี่ยของระดับสันกระดูกที่มีการสูญสลายทั้งหมดในช่วงการดำเนินการของโครงการฯ และใน 1 ปีแรกหลังฝังรากฟันเทียมและใช้ร่วมกับฟันเทียม ผลการศึกษา จากผู้ป่วยทั้งหมด 51 คน มีเพียง26 คน (ชาย 18 คน หญิง 8 คน อายุเฉลี่ย 67.27 ปี) ที่มีข้อมูลทางภาพรังสีที่จะนำมาวิเคราะห์ได้และในจำนวนนี้ไม่มีข้อมูลของผู้ป่วยรายใดเลยที่มีภาพรังสีที่ถ่าย ณ เวลา 18 เดือนหลังฝังรากฟันเทียมในช่วงที่ทำการเก็บข้อมูล พบว่าการละลายของระดับสันกระดูกที่ติดกับรากฟันเทียมเพิ่มมากขึ้นตามลำดับในช่วงเวลา 1 ปีแรกหลังจากการฝังรากฟันเทียม และพบปริมาณการสูญสลายกระดูกมากที่สุดในช่วง 3 ถึง 5-6 เดือน แรกหลังฝังรากฟันเทียม ค่าเฉลี่ยของปริมาณการสูญสลายของกระดูกรอบรากฟันเที่ยมในช่วง 1 ปืแรกของการรักษา มีค่าเท่ากับ 1.50±0.61 มิลลิเมตรและไม่พบมีผู้ปวยรายใดที่แสดงลักษณะงาโปร่งรังสีรอบรากฟันเทียม สรุป ค่าเฉลี่ยของระดับการสูญเสียกระดูกรอบรากฟันเทียม "ฟันยิ้ม" ที่ใช้ร่วมกับฟันเทียมคร่อมรากฟันเทียมขากรรไกรล่างที่มีระบบการยึดติดแบบลูกบอลและการให้แรงเป็นแบบดั้งเดิมในโครงการรากฟันเทียมพระราชทาน ที่ทำการรักษาที่คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประเมินโดยใช้ภาพรังสีแพโนรามา มีค่าเท่ากับ 1.50 มิลลิเมตร หลังฝังรากฟันเทียม 1 ปี ซึ่งเป็นค่าที่ยอมรับได้ การติดตามผลระยะยาวร่วมกับการประเมินดัชนีทางคลินิกอื่นๆน่าจะมีการศึกษาต่อไป ทั้งนี้เพื่อประเมินความสำเร็จของการใช้รากฟันเทียมชนิดนี้ Objective: To evaluate alveolar bone level around “FanYim” implant - retained mandibular overdentures in the Royal dental implant project Materials and methods: Panoramic radiographs of the patients who participated the Royal dental implant project, from October 2008-2011, at the Faculty of Dentistry, Chiang Mai university were collected. The observers measured the level of the alveolar bone loss around the implant on the radiographs, taken at different times: 1 wk, 3 mos, 5-6 mos (1 wk after ball attachment placement), 12 mos and 18 mos, after implant placement. The averages of the alveolar bone loss measured at the different times erent times were compared. The average of the alveolar bone loss after 1 yr implant placement was evaluated. Results: From fifty-one patients, only twenty-six (18 male, 8 female, average age = 67.27 yrs) had radiographic data that can be brought to analyze, and there was no data of the radiograph taken at 18 mos in the study period. It was found that the alveolar bone loss was increased over the one year period, and the bone loss occurred maximally during the 3 to 5-6 mos after implant placement. The average of the alveolar bone loss one year after implant placement was 1.50±0.61 mm and there were no cases with peri-implant radiolucency. Conclusions: The average of the alveolar bone loss was 1.50 mm after 1 yr of delayed loading “FanYim” implant - retained mandibular overdentures with ball attachment system. This value of 1.50 mm was clinically acceptable. However, long term follow-up with other clinical indices evaluation should be performed to assess the success of this kind of dental implant. |
Description: | เชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคม |
URI: | http://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2556_34_1_313.pdf http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68906 |
ISSN: | 0857-6920 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.