Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68902
Title: | การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการยึดติดระหว่างคอมโพสิตแกนฟันชนิดเหลวกับเดือยคอมโพสิตเสริมเส้นใยที่ปรับสภาพพื้นผิวด้วยสารคู่ควบไซเลนและเจ็ทพลาสมา |
Other Titles: | Comparison of bonding efficiency between flowable composite core and fiber-reinforced composite post which surface treatment with silane coupling agent and plasma jet |
Authors: | พิริยะ ยาวิราช พิสัยศิษฎ์ ชัยจรีนนท์ สรชนินท์ ชินสวนานนท์ พิมพ์เดือน รังสิยากุล พัชราวรรณ ศีลธรรมพิทักษ์ ธีรวรรณ บุญญวรรณ |
Authors: | พิริยะ ยาวิราช พิสัยศิษฎ์ ชัยจรีนนท์ สรชนินท์ ชินสวนานนท์ พิมพ์เดือน รังสิยากุล พัชราวรรณ ศีลธรรมพิทักษ์ ธีรวรรณ บุญญวรรณ |
Keywords: | เดือยคอมโพสิตเสริมเส้นใย;กำลังดึงเฉือน;การปรับสภาพพื้นผิวด้วยเจ็กพลาสมา;Fiber-reinforce composite post;tensile-shear bond strength;plasma jet treatment |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | เชียงใหม่ทันตแพทยสาร 34,1 (ม.ค.-มิ.ย. 2556), 91-106 |
Abstract: | วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้เพื่อประเมินประสิทธิภาพการยึดติดระหว่างเดือยคอมโพสิตเสริมเส้นใยที่ผ่านการปรับสภาพพื้นผิวด้วยเจ็กพลาสมาของอากาศกับคอมโพสิตแกนฟันชนิดเหลว เดือยดีทีไลท์จำนวน 56 แท่งแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มตามสภาวะการปรับสภาพพื้นผิวคือ 1. กลุ่มที่ไม่ปรับสภาพพื้นผิว (กลุ่มควบคุม) 2. กลุ่มที่ปรับสภาพด้วยสารคู่ควบไซเลน 3. กลุ่มที่ปรับสภาพพื้นผิวด้วยเจ็กพลาสมาของอากาศผสมก๊าซฮีเลียม และ 4. กลุ่มที่ปรับสภาพพื้นผิวด้วยเจ็กพลาสมาของอากาศผสมก๊าซอาร์กอน โดยส่วนบนของเดือยเสริมเส้นใยหุ้มโดยรอบด้วยคอมโพสิตแกนฟันชนิดเหลวแล้วเก็บไว้ในน้ำที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียสป็นเวลา 24 ชั่วโมง ชิ้นทดสอบแต่ละชิ้นในทุกกลุ่มถูกทดสอบกำลังดึงเฉือนด้วยวิธีการดึงโดยใช้เครื่องทดสอบสากล (กลุ่มละ 8 ชิ้น) เดือยที่เหลือในทุกกลุ่มที่ไม่ถูกหุ้มด้วยคอมโพสิตแกนฟันชนิดเหลว ถูกนำมาทดสอบความขรุขระของผิวเดือย (กลุ่มละ 2 ชิ้น) ด้วยเครื่องพรอฟิโลมิเตอร์ และตรวจสอบลักษณะพื้นผิวของเดือยก่อนและหลังทดสอบกำลังดึงเฉือนด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเลกตรอนชนิดส่องกราด (กลุ่มละ 2 ชิ้น) โดยกลุ่มฟังก์ชันนอลที่เกิดขึ้นถูกวิเคราะห์โดยใช้ฟอร์เรียทรานสฟอร์มอินฟราเรดสเปคโตรสโคป (กลุ่มละ 2 ชิ้น) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียวและการทดสอบเชิงซ้อนด้วยวิธีแทมแฮนพบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของ กำลังดึงเฉือนในแต่ละกลุ่มที่ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 จากการทดสอบด้วยวิธีหูกีไม่พบความแตกต่างของความขรุขระบนผิวเดือยในทุกกลุ่มที่ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 The purpose of this study was to investigate the bond strength of fiber-reinforced composite post to flowable composite core build-up material after air plasma jet surface treatment. Fifty six DT Light-Post® were divided into 4 groups according to surface treatment: i. untreated surface group (control), ii. silane coupling agent treated surface group, iii. air mixed with helium plasma jet treated surface group, and iv. air mixed with argon plasma jet treated surface group. The coronal parts of the fiber posts were encapsulated with flowable composite core build-up material. The specimens were immersed in distilled water at 37°C for 24 hours. All specimens were pull-out tests by using a universal testing machine to evaluate the tensile-shear bond strength of the specimens in each group (n = 8). Profilometer and scanning electron microscope were used to examine the surface roughness and surface morphology in the non-encapsulated flowable composite posts (n= 2). Fourier transform infrared spectroscopy was used to measure the functional group in the posts after surface treatments (n=2). One-way ANOVA and Tamhane’s multiple comparisons test revealed that there were no significant differences in tensile-shear bond strengths among each group (p=0.05). No significant differences were found in the surface roughness of all post specimens with Tukeyís test (p = 0.05). |
Description: | เชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคม |
URI: | http://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2556_34_1_315.pdf http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68902 |
ISSN: | 0857-6920 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.