Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68893
Title: รอยรั่วระดับจุลภาคระหว่างเรซินซีเมนต์และขอบโพรงฟันที่ปนเปื้อนยูจีนอล ภายหลังจากการล้างด้วยสารชะล้างชนิดต่าง ๆ
Other Titles: Microleakage between resin cement and eugenol contaminated cavosurface margin after using various irrigants
Authors: ธีรชัย ลิมป์ลาวัณย์
เกษมพงศ์ ศรีปานนาค
พัฒนฤกษ์ ทินกร ณ อยุธยา
ศศิมาส อ่ำครองธรรม
Authors: ธีรชัย ลิมป์ลาวัณย์
เกษมพงศ์ ศรีปานนาค
พัฒนฤกษ์ ทินกร ณ อยุธยา
ศศิมาส อ่ำครองธรรม
Keywords: การรั่วซึมระดับจุลภาค;สารชะล้าง;เรซินซีเมนต์;ยูจีนอล
Issue Date: 2557
Publisher: คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร 35,2 (ก.ค.-ธ.ค. 2557), 91-103
Abstract: จุดประสงค์ของงานวิจัยเพื่อศึกษารอยรั่วระดับจุลภาค บริเวณขอบโพรงฟันที่ปนเปื้อนยูจีนอลหลังการล้างด้วยสาร ชะล้างชนิดต่างๆ โดยนำฟันตัดหน้าบนของวัวจำนวน 70 ซี่ มาเตรียมโพรงฟันสำหรับอุด ชนิดที่ 5 (Class V) ซึ่ง มีความลึก 1.5 มิลลิเมตร ความกว้างและความยาวด้านละ 3 มิลลิเมตร ขอบเขตของโพรงฟันทางด้านบดเคี้ยวและ ด้านเหงือกอยู่ห่างรอยต่อเคลือบฟันกับเคลือบรากฟัน 1.5 มิลลิเมตร หลังจากนั้นนำฟันทุกซี่มาอุดโพรงฟันด้วยวัสดุ อุดเรซินคอมโพสิตโดยใช้น้ำกลั่นเป็นสารคั่นกลางแล้วดึง ออก จากนั้นอุดโพรงฟันด้วยวัสดุอุดชั่วคราวซิงค์ออกไซด์ ยูจีนอลเป็นเวลา 7 วันและรื้อวัสดุอุดชั่วคราวออกด้วยเครื่อง อัลตราโซนิกส์ ทำการสุ่มเลือกฟันออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 (กลุ่มควบคุม) เป็นกลุ่มที่มีการล้างโพรงฟันด้วยน้ำเกลือ 2 มิลลิลิตร กลุ่มที่ 2 ล้างโพรงฟันด้วยโซเดียมไฮโปคลอไรต์ ความเข้มข้นร้อยละ 2.5 ปริมาตร 5 มิลลิลิตรและน้ำเกลือ 2 มิลลิลิตร กลุ่มที่ 3 ล้างด้วยอีดีทีเอความเข้มข้นร้อยละ 17 ปริมาตร 5 มิลลิลิตรและน้ำเกลือ 2 มิลลิลิตร และกลุ่มที่ 4 ล้างด้วยอีดีทีเอความเข้มข้นร้อยละ 17 ปริมาตร 5 มิลลิลิตรโซเดียมไฮโปคลอไรต์ความเข้มข้นร้อยละ 2.5 ปริมาตร 5 มิลลิลิตรและน้ำเกลือ 2 มิลลิลิตร หลังจากนั้นยึดชิ้นงานคอมโพสิตอินเลย์กับโพรงฟันที่เตรียมไว้ด้วยเรซินซีเมนต์ซุปเปอร์บอนด์ซีแอนด์บีและปิดปลายรากด้วยอะคริลิกเรซินชนิดบ่มเอง ทาน้ำยาทาเล็บที่ซี่ฟันโดยเว้นที่บริเวณขอบโพรงฟันและวัสดุบูรณะ เก็บชิ้นงานในน้ำกลั่นที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง แล้วแช่ชิ้นงานในสีย้อม เบสิคฟุชชินร้อยละ 0.5 ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นตัดฟันในแนวตรงผ่านจุดศูนย์กลางของวัสดุ บูรณะแล้วนำไปดูรอยรั่วค่าการซึมผ่านของสีย้อมภายใต้กล้องจุลทรรศน์สเตอริโอ (กำลังขยาย 100 เท่า) บริเวณรอยต่อของเรซินซีเมนต์กับเคลือบฟันและเนื้อฟัน ผลการศึกษาพบการรั่วซึมทั้งสองด้านของทุกกลุ่มการทดลอง ในกลุ่มของชั้นเคลือบฟันพบค่าการรั่วซึมต่ำกว่าในชั้นเนื้อฟันแต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มของชั้นเคลือบฟัน ในชั้นเนื้อฟันกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 มีรอยรั่วซึมมากกว่ากลุ่มที่ 3 และกลุ่มที่ 4 โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) สรุปผลการศึกษาพบว่าการใช้อีดีทีเอความเข้มข้นร้อยละ17 ร่วมกับน้ำเกลือ หรืออีดีทีเอความเข้มข้นร้อยละ 17 ร่วมกับโซเดียมไฮโปคลอไรต์ความเข้มข้นร้อยละ 2.5 และน้ำเกลือ เป็นสารชะล้างที่สามารถกำจัดยูจีนอลที่ตกค้างในชั้นเนื้อฟันได้ดี The purpose of this research was to study microleakage between resin cement and eugenol contaminated cavosurface margin after using various irrigants. Cavities Class V (3×3×1.5 mm) of 70 bovine teeth were prepared on the labial surface parallel to the cement-enamel junction, 1.5 mm above and below the CEJ. The indirect resin composite inlays were prepared, and water was used as a separating media and removed from the cavity. After that, cavities Class V were restored with temporary filling (zinc oxide eugenol) for 7 days. Then temporary fillings were removed by using ultrasonic scaler. The teeth were randomly divided into 4 groups, group 1(control): irrigated cavities with NSS 2 ml, group 2: irrigated cavities with 2.5% NaOCl 5 ml and NSS 2 ml, group 3: irrigated cavities with 17%EDTA 5 ml and NSS 2 ml, group 4: irrigated cavities with 17%EDTA 5 ml, 2.5% NaOCl 5 ml and NSS 2 ml. After that, indirect composite inlays were cemented in the cavities with superbond C&B. The apices of bovine roots were sealed with self-cured acrylic resin. The teeth surface were coated with nail vanish except cavosurface margin of restoration. All specimens were stored in distilled water for 24 hours at 37°C and immersion in 0.5% basic fuchsin for 24 hours at room temperature. The dye penetration was measured on the sectioned specimen at the tooth-cement interface of enamel and dentin margin and recorded with graded criteria under stereomicroscope (100x).The results showed that all groups had microleakage at both sides of cavity (enamel and dentin margin), and enamel margins had microleakage lower than dentin margins. The microleakage of dentin margins (gingival margins) of group1 and 2 was significantly different greater than those of group 3 and 4 (p<0.05). In conclusion, 17% EDTA followed by NSS or 17% EDTA followed by 2.5% NaOCl and NSS are effective irrigants for cleaning contaminated eugenol margin.
Description: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคม
URI: http://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2558_35_2_361.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68893
ISSN: 0857-6920
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.