Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68881
Title: ประสิทธิผลของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ใช้ชุดดูแลสุขภาพช่องปากสำหรับการเยี่ยมบ้านในเด็กอายุ 0-2 ปี
Other Titles: Effectiveness of Village Health Volunteer using Dental Care Kit for Home Visit in 0-2 Years Old Children
Authors: วสุนธรี ขันธรรม
ปิยะนารถ จาติเกตุ
อุบลวรรณ ธีระพิบูลย์
Authors: วสุนธรี ขันธรรม
ปิยะนารถ จาติเกตุ
อุบลวรรณ ธีระพิบูลย์
Keywords: อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน;ชุดดูแล สุขภาพช่องปาก;พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก;อนามัยช่องปากของเด็ก;Village health volunteers (VHVs);Children’s oral hygiene
Issue Date: 2557
Publisher: คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร 35,1 (ม.ค.-มิ.ย. 2557), 119-130
Abstract: วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กอายุ 0-2 ปี โดยผู้ดูแลเด็กและเปรียบเทียบอนามัยช่องปากของเด็กอายุ 0-2 ปี ก่อนและหลังอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เข้าเยี่ยมบ้านโดยใช้ชุดดูแลสุขภาพช่องปาก วัสดุและวิธีการ: กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ดูแลเด็กและเด็กจำนวน 32 คน ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านเจดีย์แม่ครัว อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ และ อสม. จำนวน 16 คน ที่ได้รับการอบรมทันตสุขศึกษา สาธิตและฝึกการทำความสะอาดช่องปากให้แก่เด็กโดยใช้ชุดอุปกรณ์ดูแลสุขภาพช่องปากในการเยี่ยมบ้าน เก็บข้อมูลจำนวน 4 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 1 เดือน ระหว่างเดือนมีนาคม 2556 ถึง มิถุนายน 2556 โดย อสม. เข้าเยี่ยมบ้านโดยใช้ชุดอุปกรณ์ดูแลสุขภาพช่องปาก สำหรับเด็ก 0-2 ปีในการให้ความรู้ทันตสุขศึกษาร่วมกับการสาธิตและฝึกทักษะการแปรงฟันให้แก่ผู้ดูแลเด็กจำนวน 1 ครั้งหลังการเก็บข้อมูลครั้งที่ 2 การเก็บข้อมูลแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กจากการใช้แบบสอบถามในผู้ดูแลเด็ก และส่วนที่ 2 การตรวจอนามัยช่องปากในเด็กจากการใช้ดัชนีคราบจุลินทรีย์ข้อมูลที่ได้ถูกนำข้อมูลมาวิเคราะห์ แยกเป็นข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบข้อมูลพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากโดยใช้สถิติการทดสอบคอครานคิวและเปรียบเทียบข้อมูลดัชนีคราบจุลินทรีย์โดยใช้สถิติการทดสอบฟรีดแมน และการทดสอบวิลค็อกซันไซด์แรงก์ ผลการศึกษา: การที่ อสม. เข้าเยี่ยมบ้านโดยใช้ชุดอุปกรณ์ดูแลสุขภาพช่องปากสำหรับเด็ก 0-2 ปีในการให้ความรู้ทันตสุขศึกษาร่วมกับการสาธิต และฝึกทักษะการแปรงฟันให้แก่ผู้ดูแลเด็กมีประสิทธิผลทั้งต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กโดยผู้ดูแลเด็กและอนามัยช่องปากของเด็ก โดยพบว่า มีการลดพฤติกรรมการเคี้ยวหรืออมอาหารก่อนป้อนแก่เด็ก มีการแปรงฟันให้แก่เด็กเพิ่มมากขึ้น มีการใช้ยาสีฟันในการแปรงฟันให้แก่เด็กที่มีฟันขึ้นสู่ช่องปาก ตลอดจนมีความรู้ที่ถูกต้องเรื่องเชื้อก่อโรคฟันผุนั้นสามารถถ่ายทอดจากผู้ดูแลเด็กสู่เด็กได้ผ่านทางน้ำลายเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05)นอกจากนั้น ยังพบว่า ดัชนีคราบจุลินทรีย์ของเด็กพบว่ามีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.01) แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีพฤติกรรมบางส่วนที่ยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ในช่วงเวลาที่ศึกษา ได้แก่ การบริโภคขนมที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) บทสรุป: อสม. เป็นบุคลากรที่สำคัญกลุ่มหนึ่งที่สามารถช่วยในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กอายุ 0-2 ปีได้ และน่าจะมีการขยายผลโดยการพัฒนาเชิงระบบต่อไปในอนาคต Objective: This study aimed to compare child oral care behavior by the children’s caregivers before and after home visits with the use of a dental care kit by village health volunteers (VHVs). The oral hygiene of the participating children before and after home visits was also compared. Material and methods: All 16 VHVs were trained in oral health and in the use of dental care kits for children at home visits. Caregivers of 32 participating children (aged 0-2 years old) in Sansai District, Chiang Mai Province were instructed once by VHVs in the use of the dental care kits. Data from 32 pairs of participating children and caregivers were collected monthly during the months of March to June 2013. Data on child oral health care behavior by caregivers were collected by using questionnaires. Oral hygiene determined by plaque index was recorded after oral examination. Data were analyzed using descriptive statistics, the Cochran Q test, the Friedman test and the Wilcoxon Signed-Rank test. Results: This study revealed that the use of dental care kits at home visits by VHVs affected the child oral care behavior of their caregivers and also their oral hygiene. Significant changes of caregivers’ oral care behavior after home visits included decreased pre-chewing and pre-tasting of food, increased use of toothbrush and toothpaste in dentate children, and improved caregivers’ knowledge of vertical transmission (p-value < 0.05). Moreover, the plaque index at the end of the study decreased significantly (p-value < 0.01). Unfortunately, although there was improvement in caregivers’ knowledge about the negative consequences of frequent intake of snacks, the snack consumption increased significantly after intervention (p-value < 0.05). Conclusions: VHVs are community residents who assist with educating people about proper oral health care to the local community. The use of dental care kits for home visits by them has been shown to be a practical and effective method for improving the oral hygiene of children at ages 0-2 years. This intervention should be further expanded to the national oral health system.
Description: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคม
URI: http://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2557_35_1_350.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68881
ISSN: 0857-6920
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.