Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68876
Title: การประเมินคุณภาพเชิงจิตวิสัยของภาพรังสี จากเครื่องโคนบีมซีทีที่พัฒนาขึ้นโดย สวทช. ประเทศไทย
Other Titles: Subjective Image Quality of Cone-Beam CT, Developed by NSTDA, Thailand
Authors: สั่งสม ประภายสาธก
อภิรุม จันทน์หอม
การุณ เวโรจน์
ภัทรานันท์ มหาสันติปิยะ
จงดี กำบังตน
อานนท์ จารุอัคระ
Authors: สั่งสม ประภายสาธก
อภิรุม จันทน์หอม
การุณ เวโรจน์
ภัทรานันท์ มหาสันติปิยะ
จงดี กำบังตน
อานนท์ จารุอัคระ
Keywords: โคนบีมซีที;เดนทิสแกน;โพรแม็กซ์;ทรีดี;คุณภำของภาพรังสี;CBCT;DentiScan®;Promax 3D®;image quality
Issue Date: 2557
Publisher: คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร 35,1 (ม.ค.-มิ.ย. 2557), 35-49
Abstract: วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพของการมอง เห็นโครงสร้างต่างๆ จากภาพรังสีที่ได้จากเครื่อง โคนบีมซีที ที่ผลิตขึ้นในประเทศไทย กับเครื่องที่มีขายในตลาดสินค้า ได้แก่เครื่อง โพรแม็กซ์ ทรีดี (Promax 3D®) จากประเทศ ฟินแลนด์ วิธีการวิจัย: นำกะโหลกศีรษะมนุษย์จำนวน 3 กะโหลก มาถ่ายภาพรังสีโคนบีมซีที ด้วยเครื่องเอกซเรย์ โคนบีมซีที เดนทิสแกน (DentiScan®, สวทช. ประเทศไทย) และ โพรแม็กซ์ ทรีดี (Promax 3D®, เฮลซิงกิ ฟินแลนด์) ผู้สังเกตการณ์ 5 คน ประเมินภาพรังสีจากเครื่องทั้งสอง โดยให้คะแนนการมองเห็นโครงสร้างต่างๆ จำนวน 12 โครงสร้างที่จำเป็นสำหรับงานทางทันตกรรมที่ปรากฏใน ภาพรังสี โดยใช้ 5 ระดับคะแนน ได้แก่ 1 = ดีเยี่ยม 2 = ดี 3 = ยอมรับได้ 4 = ต่ำ 5 = ต่ำมาก วิเคราะห์และเปรียบ เทียบคะแนนโดยรวมของทุกโครงสร้างและแต่ละโครงสร้าง ของการมองเห็นภาพรังสีที่ถ่ายจากเครื่องโคนบีมซีทีทั้งสองชนิด ด้วยสถิติวิลคอกซันที่ระดับความเชื่อมั่น p < 0.05 ผลการวิจัย: เมื่อพิจารณาทุกโครงสร้างของกระดูก กะโหลกศีรษะและขากรรไกรมนุษย์โดยรวม ภาพรังสีที่ ได้จากเครื่องโพรแม็กซ์ ทรีดี มีคุณภาพในการมองเห็น โครงสร้างต่างๆ ได้ดีกว่าภาพรังสีที่ได้จากเครื่องเดนทิ สแกน ที่ระดับนัยสำคัญ p = 0.0000 และเมื่อพิจารณา แยกในแต่ละโครงสร้างก็พบว่าภาพจากเครื่องโพรแม็กซ์ ทรีดี มีคุณภาพของการมองเห็นโครงสร้างส่วนใหญ่ได้ดี กว่าภาพจากเครื่องเดนทิสแกน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตามพบว่าค่าคะแนนมัธยฐานของการมองเห็นต่อ โครงสร้างที่เห็นจากภาพรังสีที่ถ่ายจากเครื่องเดนทิสแกน อยู่ในเกณฑ์ดีถึงดีเยี่ยมในโครงสร้างดังต่อไปนี้คือ รูเปิดข้าง คาง รูเปิดเพดานปากหลังฟันตัด กระดูกทึบ เสี้ยนใยกระดูก พื้นโพรงอากาศขากรรไกรบน เคลือบฟัน เนื้อฟัน และคลอง รากฟัน ส่วนคลองประสาทขากรรไกรล่างและรูเปิดด้านลิ้น การมองเห็นอยู่ในเกณฑ์ที่พอรับได้ แต่ช่องเอ็นยึดปริทันต์ และผิวกระดูกเบ้าฟัน มีคะแนนการมองเห็นที่ต่ำถึงต่ำมาก สรุป: เมื่อเปรียบเทียบกับภาพที่ได้จากเครื่องโคนบีม ซีทีที่มีจำหน่ายในตลาดสินค้าคือ โพรแม็กซ์ ทรีดี ภาพที่ได้ จากเครื่องเดนทิสแกนมีคุณภาพในการมองเห็นโครงสร้าง ต่างๆ ที่อยู่ในกะโหลกศีรษะและขากรรไกรมนุษย์ที่ต่ำกว่า อย่างไรก็ตามคุณภาพในการมองเห็นภาพจากเครื่องเดนทิ สแกนอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ถึงดีเยี่ยมสำหรับโครงสร้าง ส่วนใหญ่ที่อยู่ในกระดูกกะโหลกศีรษะและขากรรไกร เครื่อง โคนบีมซีที เดนทิสแกน ซึ่งผลิตได้ในประเทศไทย จึงนับ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการเลือกใช้เพื่อประกอบการ รักษาในงานทางทันตกรรมทั่วไป ยกเว้นงานทันตกรรมที่ ต้องอาศัยความละเอียดของภาพมาก เช่น การวินิจฉัยการ แตกหักของรากฟัน เป็นต้น Objective: To compare CBCT image quality on visibility of anatomical structures between the CBCT scanner manufactured in Thailand and the commercial Promax 3D® scanner from Finland. Materials and methods: Three human skulls were radiographed using the DentiScan® (NSTDA, Thailand) and the Promax 3D® (Helsinki, Finland). Five observers reviewed the CBCT images and assessed the image quality on the visibility of twelve anatomical structures related to the dental tasks, on a five-point scale (1 = excellent; 2 = good; 3 = acceptable; 4 = poor; 5 = very poor). Overall variation in the visibility from all anatomical structures and per structure were analyzed and compared using Wilcoxon signed rank test (p<0.05). Results: When all anatomical structures were considered in total, the images from the Promax 3D® gave better subjective image quality than those from the DentiScan® (p-value = 0.0000). When each structure was considered, the results showed higher visibility score for images from Promax 3D® in most of the structures. However, it was found that the median scores for the visibility of the structures from the DentiScan® were rated as good to excellent for mental foramen, incisive foramen, cortical bone, trabecular bone, floor of the maxillary sinus, enamel, dentine, and pulp canal; as acceptable for mandibular canal and lingual foramen; and as bad to very bad for periodontal ligament space and lamina dura. Conclusions: Compared to the commercial Promax 3D®, the DentiScan® gave lesser image quality on the visibility of the human skull and jaws structures. However, the visibility score were rated as acceptable to excellent for most of the structures for the DentiScan®. The DentiScan®, the CBCT scanner manufactured in Thailand, can be another choice of CBCT machine for general dental tasks, except the tasks that require high image resolution such as the detection of root fracture.
Description: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคม
URI: http://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2557_35_1_343.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68876
ISSN: 0857-6920
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.