Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68867
Title: การศึกษาความแข็งแรงยึดดึงระหว่างฐานฟันเทียมที่ไม่เสริมและเสริมวัสดุอัดแทรกอลูมินา ปริมาณต่างกัน
Other Titles: The Study of Tensile Bond Strength between Non-Reinforced and Reinforced Alumina Filler with Different Amount in Denture Base
Authors: วิทวัส ผลดี
พิสัยศิษฎ์ ชัยจรีนนท์
แมนสรวง อักษรนุกิจ
Authors: วิทวัส ผลดี
พิสัยศิษฎ์ ชัยจรีนนท์
แมนสรวง อักษรนุกิจ
Keywords: อลูมินา;ฐานฟันเทียม;สารคู่ควบไซเลน;ความแข็งแรงยึดดึง;Alumina;Denture Base;Silane Coupling Agent;Tensile Bond Strength
Issue Date: 2558
Publisher: คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร 36,2 (ก.ค.-ธ.ค. 2558), 99-110
Abstract: วัตถุประสงค์ ศึกษาความแข็งแรงยึดดึงระหว่างฐานฟันเทียมอะคริลิกเรซินที่ไม่เสริมและเสริมด้วยวัสดุอัดแทรกอลูมินาที่มีปริมาณวัสดุอัดแทรกที่แตกต่างกัน วัสดุและวิธีการ วัสดุอัดแทรกอลูมินาที่ไม่ปรับสภาพพื้นผิวและปรับสภาพพื้นผิวผสมกับผงอะคริลิกเรซินชนิดบ่มด้วยความร้อนในสัดส่วนวัสดุอัดแทรกอลูมินาร้อยละ3 5 10 และ 15 โดยน้ำหนัก กลุ่มควบคุมใช้ผงอะคริลิกเรซินไม่ผสมวัสดุอัดแทรกอลูมินา วิเคราะห์การคงอยู่ของธาตุซิลิกอนบนพื้นผิววัสดุอัดแทรกอลูมินาที่ปรับสภาพพื้นผิวเพื่อตรวจสอบธาตุซิลิกอนบนพื้นผิววัสดุอัดแทรกอลูมินา นำอะคริลิกเรซิน ทั้ง 9 กลุ่มอัดติดกับชิ้นตัวอย่างอะคริลิกเรซินที่เตรียมไว้ ตัดชิ้นงานเป็นรูปดัมเบลล์ กลุ่มละ 10 ชิ้น ทดสอบความแข็งแรงยึดดึงโดยเครื่องทดสอบสากล นำค่าเฉลี่ยความแข็งแรงยึดดึงมาวิเคราะห์ ทางสถิติชนิดความแปรปรวนแบบสองทางและทดสอบเชิงซ้อนด้วยวิธีดันแคน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษา ผลการวิเคราะห์การคงอยู่ของธาตุซิลิกอน พบธาตุซิลิกอนบนพื้นผิววัสดุอัดแทรกอลูมินาที่ปรับสภาพพื้นผิว ค่าเฉลี่ยความแข็งแรงยึดดึงสูงที่สุดในกลุ่มเสริมวัสดุอัดแทรกอลูมินาที่ปรับสภาพพื้นผิวในสัดส่วนวัสดุอัดแทรกอลูมินาร้อยละ 3 โดยน้ำหนัก การวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าค่าเฉลี่ยความแข็งแรง ยึดดึงในกลุ่มเสริมวัสดุอัดแทรกอลูมินาที่ปรับสภาพพื้นผิวในสัดส่วนวัสดุอัดแทรกอลูมินาร้อยละ 3 5 และ 10 โดยน้ำหนัก มีค่าสูงกว่ากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ลักษณะการแตกหักส่วนใหญ่เป็นการแตกหักแบบเชื่อมแน่นภายในอะคริลิกเรซินวิเคราะห์ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดไม่พบช่องว่างโดยรอบวัสดุอัดแทรกอลูมินาที่ปรับสภาพพื้นผิวกับเรซินเมทริกซ์ สรุปผลการศึกษา กลุ่มเสริมวัสดุอัดแทรกอลูมินาที่ปรับสภาพพื้นผิวในสัดส่วนวัสดุอัดแทรกอลูมินาร้อยละ 3 5 และ 10 โดยน้ำหนัก มีค่าเฉลี่ยความแข็งแรงยึดดึงสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ Objectives: The purpose of this study was to study of tensile bond strength between non-reinforced and reinforced alumina filler with different amount in acrylic denture base Methods: The 3, 5, 10 and 15 wt% of nonsilanized and silanized alumina filler were mixed with heat-polymerized PMMA. PMMA without reinforced alumina was served as control. The EDS analysis was used to detect silicon (Si) on the surface of alumina filler. All of 9 groups were packed with acrylic denture base and prepared in dumbbell-shaped specimens (n=10). The tensile bond strength test was performed using a universal testing machine. The mean tensile bond strength was determined and analyzed by 2 way-ANOVA and Duncan’s test. (p<0.05) Results: The EDS analysis showed the deposition of silicon element on the surface of alumina filler. The 3 wt% of silanized alumina filler group showed the highest mean tensile bond strengths. From statistical analysis, the mean tensile bond strengths of 3, 5 and 10 wt% groups were significantly higher than those of the other groups (p<0.05). The fracture mode of specimens was almost adhesive failure. From SEM analysis, gaps between silanized alumina fillers and resin matrix were not observed. Conclusions: The mean tensile bond strengths of 3, 5 and 10 wt% groups were significantly higher than those of the other groups (p<0.05).
Description: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคม
URI: http://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2558_36_2_393.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68867
ISSN: 0857-6920
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.