Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68856
Title: | การศึกษาเปรียบเทียบการหายของแผลผ่าตัดฟันกรามคุดล่างซี่ที่สามโดยใช้เจลเกล็ดเลือดของผู้ป่วย |
Other Titles: | Autologous Platelet Gel After Surgical Removal of Mandibular Third Molar: A Comparative Study |
Authors: | คธาวุธ เตชะสุทธิรัฐ ภัทรานันท์ มหาสันติปิยะ |
Authors: | คธาวุธ เตชะสุทธิรัฐ ภัทรานันท์ มหาสันติปิยะ |
Keywords: | เจลเกล็ดเลือด;เพลทเล็ทริชพลาสมา;การหายของแผล;autologous platelet gel;Platelet-rich plasma;wound healing |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | เชียงใหม่ทันตแพทยสาร 36,1 (ม.ค.-มิ.ย. 2558), 33-40 |
Abstract: | ที่มา: ปัจจุบันมีการนำเพลทเล็ทริชพลาสมา (Platelet-rich plasma) มาใช้ในการห้ามเลือดและกระตุ้นการหายของแผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานศัลยกรรมช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล พบว่าสามารถลดระยะเวลาการหายของแผลและกระดูกได้ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มโอกาสในการหายของแผลอย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังเป็นวิธีการที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และมีราคาไม่แพง การศึกษานี้จึงมีสมมติฐานว่าเจลเกล็ดเลือดของผู้ป่วย (Platelet gel) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการหายของแผลในการผ่าตัดฟันคุดล่างซี่ที่สามได้ดีกว่าแผลผ่าตัดฟันคุดล่างซี่ที่สามที่ไม่ได้ใช้เจลเกล็ดเลือดของผู้ป่วย วิธีการศึกษา: คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากผู้ป่วยอายุระหว่าง 18-25 ปี จำนวน 30 คน เป็นผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงและมีแผนจะผ่าฟันกรามล่างซี่ที่สามทั้งสองข้างตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โดยผู้ป่วยทุกคนจะได้รับการผ่าตัดพร้อมกันทั้งสองข้างด้วยวิธีการกรอกระดูกร่วมกับการกรอแบ่งฟัน กลุ่มตัวอย่างจะได้รับการสุ่มโดยให้ข้างหนึ่งเป็นกลุ่มทดลองใส่เจลเกล็ดเลือดในแผลผ่าฟันคุดแล้วเย็บปิด ส่วนอีกข้างเป็นกลุ่มควบคุมให้เย็บปิดเช่นเดียวกัน แต่ไม่ใส่เจลเกล็ดเลือดลงในแผลผ่าฟันคุด ติดตามผลการผ่าตัดที่ระยะเวลา 7 วัน 1 เดือน และ 3 เดือน จากนั้นเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวัดความลึกของร่องปริทันต์ การบวมของใบหน้า และความหนาแน่นของกระดูก ทำการวิเคราะห์ภาพถ่ายรังสี Panoramic ด้วยโปรแกรม ImageJ® เพื่อนำมาวิเคราะห์ ผลโดยใช้สถิติ ANOVA ผลการศึกษา: พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของความลึกร่องปริทันต์ และความหนาแน่นของกระดูกในกลุ่มทดลองก่อนผ่าและหลังผ่า 3 เดือน (P<0.05) ในขณะที่การบวมของใบหน้าไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทั้งใน กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง สรุป: เจลเกล็ดเลือดของผู้ป่วยสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการหายของแผลในการผ่าตัดฟันกรามคุดล่างซี่ที่สามได้มากกว่าการหายของแผลตามธรรมชาติอย่างมีนัยสำคัญ Background: Recent studies revealed the usage of platelet-rich plasma in oral and maxillofacial surgery to enhance coagulation and wound healing process due to their growth factors that can promote the complete healing. The Hypothesis of this study is that autologous platelet-rich plasma gel (Platelet gel) can be used to promote wound healing process after surgical removal of impacted mandibular third molars tooth comparing to control side. Methods: 30 patients 18-25 years old, are in good status and scheduled for surgical removal of bilateral impact mandibular third molars that were in the inclusion criteria. One mandibular third mo lar was simple randomized chosen as experimental group and the other one would be in control group. Both groups were operated at the same visit by using bone removal and tooth division technique. After the operation, autologous platelet gel was inserted in the experimental socket and sutured while the control site was sutured. Every patient was followed up at 7 days, 1 month and 3 months after operation. The collected data included probing depths, facial edema and bone density using the ImageJ® program to analyze films. All data were processed using ANOVA statistics method. Results: We found the probing depths of experimental group at before and 3 months after operation were significantly different (p0.05). Conclusion: Autologous platelet gel can significantly improve wound healing process after surgical removal of impacted mandibular third molars (p<0.05). |
Description: | เชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคม |
URI: | http://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2558_36_1_378.pdf http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68856 |
ISSN: | 0857-6920 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.