Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68834
Title: ประสิทธิผลของการบริการทางคลินิกที่มีพยาบาลเป็นผู้นำ สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน: การทบทวนอย่างเป็นระบบ
Other Titles: Effectiveness of Nurse-led Clinic for Diabetes Mellitus Patients: A Systematic Review
Authors: สุปราณี คำมา
ฐิติณัฏฐ์ อัคคะเดชอนันต์
พิกุล พรพิบูลย์
Authors: สุปราณี คำมา
ฐิติณัฏฐ์ อัคคะเดชอนันต์
พิกุล พรพิบูลย์
Keywords: ประสิทธิผล;การบริการทางคลินิกที่มีพยาบาลเป็นผู้นำ;ผู้ป่วยเบาหวาน;การทบทวนอย่างเป็นระบบ
Issue Date: 2563
Publisher: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: พยาบาลสาร 47, 1 (ม.ค.-มี.ค. 2563), 374-387
Abstract: ในคลินิกที่มีพยาบาลเป็นผู้นำ พยาบาลเป็นผู้ทำหน้าที่ให้และจัดการบริการเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการดูแลผู้ป่วย การทบทวนอย่างเป็นระบบครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับประสิทธิผลของการบริการทางคลินิกที่มีพยาบาลเป็นผู้นำสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน จากการสืบค้นรายงานการวิจัยปฐมภูมิ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 ถึงปี พ.ศ. 2558 โดยใช้แนวทางการทบทวนอย่างเป็นระบบของสถาบันโจแอนนา บริกส์ (2014) พบรายงานการวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิผลของการบริการทางคลินิกที่มีพยาบาลเป็นผู้นำสำหรับผู้ป่วยเบาหวานผ่านเกณฑ์การคัดเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 11 เรื่อง แบ่งเป็นรายงานการวิจัยเชิงทดลองที่มีการออกแบบโดยมีกลุ่มควบคุมและมีการสุ่มตัวอย่างเข้ารับการทดลอง จำนวน 9 เรื่อง และรายงานการวิจัยแบบกึ่งทดลอง จำนวน 2 เรื่อง แต่ไม่สามารถนำมาวิเคราะห์เมต้าได้เนื่องจากความแตกต่างของวิธีการบริการและผลลัพธ์ของการบริการทางคลินิกที่มีพยาบาลเป็นผู้นำ ดังนั้นการทบทวนอย่างเป็นระบบในครั้งนี้จึงใช้วิธีการสรุปเชิงเนื้อหา ผลการทบทวนอย่างเป็นระบบครั้งนี้ พบว่า วิธีการบริการทางคลินิกที่มีพยาบาลเป็นผู้นำสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน สรุปได้ 4 วิธี ได้แก่ 1) การจัดการรายกรณี โดยพยาบาลเป็นผู้จัดการการดูแลผู้ป่วย ซึ่งวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิต ได้แก่ วิธีการโทรศัพท์ติดตามการปรับพฤติกรรมผู้ป่วยทุก 2 เดือน จำนวนทั้งหมด 12 ครั้ง 2) การจัดโปรแกรมสำหรับผู้ป่วย ซึ่งลักษณะของกิจกรรมในโปรแกรมประกอบด้วย การให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง การติดตามพฤติกรรมสุขภาพ และการติดตามผู้ป่วยให้มาตรวจตามนัด 3) การวางแผนจำหน่าย โดยพยาบาลผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านเบาหวาน ตั้งแต่เข้ารับไว้ในการดูแลจนกระทั่งจำหน่าย และ 4) การบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก ประกอบด้วย การดูแลผู้ป่วยโดยตรง การจัดการอย่างเป็นระบบและการประสานการดูแลผู้ป่วยแต่ละราย การให้คำปรึกษา การพัฒนาความเชี่ยวชาญของตนเอง และบุคลากรที่ให้การดูแล 2) ประสิทธิผลของการบริการทางคลินิกที่มีพยาบาลเป็นผู้นำสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ 1) ผลลัพธ์ด้านคลินิก ได้แก่ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและน้ำตาลสะสมที่เกาะติดเม็ดเลือดแดง ความดันโลหิต และระดับไขมันในเลือด 2) ผลลัพธ์ด้านการเงิน ได้แก่ ต้นทุนประสิทธิผลของการลดระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล และลดระยะเวลาในการรอพบแพทย์อายุรกรรม 3) ผลลัพธ์ด้านการรับรู้ ได้แก่ ความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการบริการ จากผลการทบทวนอย่างเป็นระบบครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าประสิทธิภาพของวิธีการบริการในคลินิกที่มีพยาบาลเป็นผู้นำสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ได้แก่ ผลลัพธ์ด้านคลินิก ด้านการเงิน และด้านการรับรู้ นอกจากนี้ผลการทบทวนอย่างเป็นระบบยังสะท้อนให้เห็นความจำเป็นในการทำวิจัยแบบทดลองหรือกึ่งทดลองซ้ำ เพื่อยืนยันผลการวิจัยโดยวิธีการวิเคราะห์เมต้า In a nurse-led clinic nurses provide and manage services to improve the effectiveness of patient care. This systematic review aimed to summarize the best available evidence related to effectiveness of nurse-led clinics for diabetic patients. The primary research published between 2001 and 2015 were searched using a systematic guideline developed by Joanna Briggs Institute (2014). A total of 11 studies met the review inclusion criteria which included 9 randomized controlled trials and 2 quasi-experimental studies. Meta-analysis could not be applied because of the heterogeneous nature of the interventions and their outcomes. Instead, a narrative summarization was used in this systematic review. 1.The results of this systematic review were: There were four types of interventions of nurse-led clinic for diabetic patients: 2.case management in which the nurse manages patient care. An effective method for controlling blood sugar and blood pressure levels were telephone calls to monitor and modify patients’ behavioral every 2 months for a total of 12 calls; 2) program development for patients which included continued education, monitoring health behaviors and reminding patients of their follow up appointments; 3) discharge planning by a diabetes nurse specialist who plans care from admission through discharge; and 4) outpatient services which included direct patient care, organization and co-ordination of care for individual patients, consultation, and advancement of expertise. 3.The nurse-led clinics for diabetic patients were found to be effective in 3 domains: 1) clinical outcomes including the controlling of blood sugar and glycohemoglobin (HbA1c), blood pressure, and lipid profile; 2) financial outcomes including improved cost-effectiveness of hospital length of stay and reduce waiting time to see medical doctor; and 3) perceptual outcomes including patient satisfaction with services. This systematic review suggests that 4 effective services in nurse-led clinic for diabetic patients which representing in clinical, financial and perceptual outcomes. In addition, the systematic review reflects the necessity of replication of experimental and quasi-experimental research to confirm the results of the study by using meta-analysis.
Description: วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ
URI: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/240765/164092
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68834
ISSN: 0125-0078
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.