Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68816
Title: | ผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบต่อสภาวะอาการ ในเด็กป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด |
Other Titles: | Effect of Oral Mucositis Management Program on Symptom Status of Children with Cancer Receiving Chemotherapy |
Authors: | พชรภรณ์ เกวียนสูงเนิน ศรีพรรณ กันธวัง ศรีมนา นิยมค้า |
Authors: | พชรภรณ์ เกวียนสูงเนิน ศรีพรรณ กันธวัง ศรีมนา นิยมค้า |
Keywords: | การจัดการกับอาการ;เยื่อบุช่องปากอักเสบ;เด็กป่วยมะเร็ง |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | พยาบาลสาร 47, 1 (ม.ค.-มี.ค. 2563), 101-112 |
Abstract: | เยื่อบุช่องปากอักเสบเป็นอาการข้างเคียงของเคมีบำบัดที่พบได้บ่อยในเด็กป่วยมะเร็ง และส่งผลกระทบทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจของเด็กป่วยมะเร็งเป็นอย่างมาก จึงควรมีการจัดการกับอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบเพื่อลดความรุนแรงของอาการ งานวิจัยที่ผ่านมายังลดความรุนแรงของอาการได้ไม่เพียงพอ การวิจัยแบบกึ่งทดลองชนิดหนึ่งกลุ่มนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับความรุนแรงของอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการจัดการอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบซึ่งพัฒนาจากแนวคิดการจัดการกับอาการของ ดอดด์ และคณะ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่างซึ่งเลือกโดยวิธีการเฉพาะเจาะจง ได้แก่ เด็กป่วยมะเร็งอายุ 8-15 ปี จำนวน 14 ราย ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตติยภูมิ 2 แห่ง และผู้ดูแลหลักของเด็กป่วยจำนวน 14 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบขององค์การอนามัยโลก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบวิลคอกซันจับคู่เครื่องหมายตำแหน่ง ผลการวิจัยพบว่า ระดับความรุนแรงของอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบภายหลังได้รับโปรแกรมการจัดการอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบน้อยกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการจัดการอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (z = -2.774, p < .01) การวิจัยนี้ทำให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธีการจัดการกับอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบในเด็กป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัดร่วมกันระหว่างพยาบาล ผู้ดูแลหลัก และเด็กป่วย และสามารถนำผลการวิจัยนี้ไปใช้ในการจัดการกับอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบในเด็กป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัดต่อไป Oral mucositis is a common side effect among children with cancer receiving chemotherapy and can have a profound impact on the child physically and psychologically. Oral mucositis should be managed to reduce severity. Previous studies insufficiently reduced symptom severity. The purpose of this one group quasi-experimental study was to compare severity levels of oral mucositis before and after receiving an oral mucositis management program based on the symptom management model of Dodd and colleagues and related literature. The purposive sample included 14 children with cancer aged between 8-15 years admitted to two tertiary hospitals and 14 of their primary caregivers. Data were collected using the World Health Organization Mucositis Scale. The Wilcoxon matched-pairs signed-rank test was used to analyze the data. The findings revealed that the severity levels of oral mucositis after receiving the oral mucositis management program was significant lower than before receiving the program (z = -2.774, p < .01). The study provides information on strategies for collaborative oral mucositis management among nurses, primary caregivers and children. The result of the study can be used to manage oral mucositis of children with cancer receiving chemotherapy. |
Description: | วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ |
URI: | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/240730/164059 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68816 |
ISSN: | 0125-0078 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.