Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68807
Title: การจัดการกับอาการวัยทอง
Other Titles: The Management of Menopausal Symptoms
Authors: ประวีดา คำแดง
Authors: ประวีดา คำแดง
Keywords: การจัดการ;อาการวัยทอง
Issue Date: 2563
Publisher: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: พยาบาลสาร 47, 1 (ม.ค.-มี.ค. 2563), 478-488
Abstract: วัยทองเป็นช่วงวัยของชีวิตที่สตรีไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ สตรีวัยเจริญพันธุ์โดยทั่วไปร่างกายจะสร้างฮอร์โมนเพศที่เรียกว่า เอสโตรเจน ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาลักษณะทางเพศจากเด็กหญิงเป็นหญิงสาว และมีบทบาทร่วมกับฮอร์โมนอื่น ๆ ในการควบคุมวงจรของการมีประจำเดือนและการตั้งครรภ์ แต่เมื่อย่างเข้าสู่วัยทองการทำงานของต่อมไร้ท่อของระบบสืบพันธุ์ลดลงส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างและหน้าที่ของร่างกาย และเกิดอาการต่าง ๆ ที่รบกวนความรู้สึกและจิตใจอันเป็นผลมาจากฮอร์โมนเพศที่ลดลง อาการไม่พึงประสงค์ดังกล่าวเหล่านั้นอาจส่งผลให้เกิดความไม่สุขสบาย และกระทบต่อคุณภาพชีวิตของสตรีวัยทองต่อเนื่องไปจนถึงวัยผู้สูงอายุได้ ภาวะหมดประจำเดือนจะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพหรือไม่ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์แข็งแรงและภาวะสุขภาพของสตรี รวมไปถึงการเตรียมพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลง การแสวงหาการจัดการกับอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นทั้งการดูแลตนเอง ได้แก่ การดูแลด้านอาหาร การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การบริหารกล้ามเนื้อช่องคลอด กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตใจ การสนับสนุนจากครอบครัวและสังคม และการใช้ยาฮอร์โมนทดแทน การจัดการกับอาการวัยทองเหล่านี้เพื่อบรรเทาความไม่สุขสบายที่กระทบต่อการดำเนินชีวิตของสตรีวัยทอง ซึ่งเป็นช่วงชีวิตของการประสบความสำเร็จทั้งในด้านสถาบันครอบครัวและหน้าที่การงานของสตรีส่วนใหญ่ Golden age is the period of life that women cannot avoid. Women of reproductive age in general, the body produces sex hormones called estrogen, which acts as a sexual development from girls as young women and its play a role with other hormones to control the cycle of menstruation and pregnancy. But when entering the golden age, the endocrine function of reproductive system decreases, resulting in changes in the structure and function of the body. And various symptoms that disturbs feelings and the mind as a result of reduced sex hormones. Such menopausal symptoms may result in discomfort and affect the quality of life of postmenopausal women until the elderly. Menopause will cause health problems or not, depending on the fertility and health of women. Including preparation for dealing with change. Seek to deal with adverse reactions that may occur, including self-care, such as food care, regular exercise, vaginal muscle exercise, mental health promotion activities, support from family and society, and the use of hormone replacement drugs. The management of these menopausal symptoms is to alleviate the discomfort that affects the lives of menopause women. Which was a period of success in both the family institution and the work of most women.
Description: วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ
URI: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/240772/164099
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68807
ISSN: 0125-0078
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.