Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68781
Title: | ประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม ในผู้ป่วยโรคติดสุรา โรงพยาบาลธัญญารักษ์แม่ฮ่องสอน |
Other Titles: | Effectiveness of Implementing Cognitive Behavior Therapy Program Among Patients with Alcohol Dependence, Thanyarak Maehongson Hospital |
Authors: | กนกวรรณ พวงมาลีประดับ สมบัติ สกุลพรรณ์ ดาราวรรณ ต๊ะปินตา |
Authors: | กนกวรรณ พวงมาลีประดับ สมบัติ สกุลพรรณ์ ดาราวรรณ ต๊ะปินตา |
Keywords: | โปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม;ผู้ป่วยโรคติดสุรา;พฤติกรรมการดื่มสุรา |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | พยาบาลสาร 47, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2563), 297-309 |
Abstract: | โรคติดสุราทำให้เกิดผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยโรคติดสุรา รวมทั้งยังส่งผลกระทบต่อครอบครัวและสังคมด้วย ผู้ป่วยโรคติดสุราจึงต้องได้รับการบำบัดรักษาที่เหมาะสม ซึ่งการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมเป็นการบำบัดทางจิตสังคมที่ช่วยลดพฤติกรรมการดื่มสุราได้ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมในผู้ป่วยโรคติดสุรา โรงพยาบาลธัญญารักษ์แม่ฮ่องสอน กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคติดสุราจำนวน 15 คนที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยบำบัดยา โรงพยาบาลธัญญารักษ์แม่ฮ่องสอน ในระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงเดือนสิงหาคม 2560 และบุคลากรทางการพยาบาลจำนวน 6 คนซึ่งเป็นผู้ใช้โปรแกรม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินปัญหาการดื่มสุรา 3) แบบประเมินความพึงพอใจของบุคลากรทางการพยาบาล ดัดแปลงมาจากแบบสำรวจความคิดเห็นของพยาบาลผู้ปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้แผนจำหน่ายผู้ป่วย 4) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยโรคติดสุราดัดแปลงมาจากแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วยที่ได้รับการช่วยเหลือโดยการใช้โปรแกรมการให้คำปรึกษาโดยการปรับความคิดและพฤติกรรม 5) โปรแกรม การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมเพื่อลดพฤติกรรมการดื่ม และ 6) แบบประเมินอาการถอนพิษสุรา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัย ภายหลังได้รับโปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมโดยประเมินเมื่อผู้ป่วยจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล 1 เดือน พบว่าผู้ป่วยทุกรายสามารถลดพฤติกรรมการดื่มสุรา โดยในจำนวนนี้สามารถหยุดดื่มได้ถึงร้อยละ 66.67 ผู้ป่วยโรคติดสุราที่ได้รับโปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมทุกราย มีความคิดเห็นว่าโปรแกรมมีประโยชน์ต่อการลด ละ เลิกการดื่มสุรา และมีความพึงพอใจโดยภาพรวมต่อการได้รับโปรแกรมในระดับมากถึงมากที่สุด บุคลากรทางการพยาบาลผู้ใช้โปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมร้อยละ 100 มีความคิดเห็นว่าโปรแกรมมีประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานต่อผู้ป่วยและญาติในระดับมาก และร้อยละ 83.33 มีความคิดเห็นว่าโปรแกรมมีความเหมาะสมต่อการนำมาใช้ในหน่วยงาน และมีความพึงพอใจโดยรวมต่อการใช้โปรแกรมในระดับมาก ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมสามารถลดพฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ป่วยโรคติดสุราที่รับบริการที่หอผู้ป่วยบำบัดยา โรงพยาบาลธัญญารักษ์แม่ฮ่องสอนได้ ดังนั้น ควรนำโปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมนี้ไปใช้ในการบำบัดผู้ป่วยโรคติดสุราต่อไป Alcohol dependence impacts physical and psychological health among patients with alcohol dependency and also impacts their families and society. So they need to be treated with proper therapy. Cognitive behavior therapy is a psychosocial therapy that could reduce drinking behavior. The purpose of this operational study was to study the effectiveness of implementing a cognitive behavior therapy program among patients with alcohol dependence at Thanyarak Maehongson Hospital (TMH). The sample included 15 patients with alcohol dependence who were admitted at the detoxification unit of TMH from June to August 2017, and six nurses who conducted the program. The study instruments consist of 1) the Demographic Data Form, 2) the Alcohol Use Disorders Identification Test (AUDIT), 3) the Satisfaction Questionnaire Of The Program Users modified from the nurse’s opinion survey form according to patients discharge planning, 4) the Satisfaction Questionnaire Of Patients with Alcohol Dependence modified from the satisfaction questionnaire of patients were assisted by a counseling program, 5) the Cognitive Behavior Therapy Program (CBTP) 6) the Clinical Institute Withdrawal Assessment for Alcohol-Revised (CIWA-Ar). Data were analyzed using descriptive statistics. The results of study After receiving CBTP, the patients were assessed at one month after discharge from the hospital. All of the patients with alcohol dependence were able to reduce their drinking behaviors and 66.67 % of them completely stopped drinking. All patients with alcohol dependence who received the program expressed that this program was beneficial for them to reduce, quit or stop drinking and were overall satisfied with the program from high to the highest level. One hundred percent of the nursing personnel who conducted the program have a high level of perception that the program is beneficial to their practice, their patients and their patients’ relatives. More than eighty percent (83.33%) of them expressed that the program was appropriate for practice in the organization and have a high level of overall satisfaction of the program. The results of the study indicates that CBTP can decrease the drinking behavior of patients with alcohol dependence by receiving services at the detoxification unit of Thanyarak Maehongson Hospital. Therefore, this program should be further implemented for patients with alcohol dependence. |
Description: | วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ |
URI: | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/241821/164604 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68781 |
ISSN: | 0125-0078 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.