Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68774
Title: | ประสิทธิผลของการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา: การทบทวนอย่างเป็นระบบ |
Other Titles: | Effectiveness of Breastfeeding Self-efficacy Enhancement: A Systematic Review |
Authors: | ชณุตพร สมใจ กรรณิการ์ กันธะรักษา นงลักษณ์ เฉลิมสุข |
Authors: | ชณุตพร สมใจ กรรณิการ์ กันธะรักษา นงลักษณ์ เฉลิมสุข |
Keywords: | การเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา;ประสิทธิผล;ารส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา;การทบทวนอย่างเป็นระบบ |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | พยาบาลสาร 47, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2563), 227-239 |
Abstract: | นมมารดาเป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก สมรรถนะแห่งตนในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลมากที่สุดต่อความสำเร็จในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา การทบทวนอย่างเป็นระบบครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาในสตรีตั้งครรภ์และ/หรือ สตรีหลังคลอด สืบค้นจากรายงานวิจัยทั้งที่ได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นงานวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม รวมทั้งงานวิจัยกึ่งทดลอง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2549 ถึงปี พ.ศ. 2560 โดยใช้แนวทางการทบทวนอย่างเป็นระบบของสถาบันโจแอนนาบริกส์ (JBI, 2016) เครื่องมือที่ใช้คือแบบประเมินคุณภาพการวิจัยและแบบสกัดข้อมูลของสถาบันโจแอนนาบริกส์ งานวิจัย 10 เรื่องผ่านเกณฑ์การคัดเข้า โดย 6 เรื่องเป็นงานวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม และอีก 4 เรื่องเป็นงานวิจัยแบบกึ่งทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เมตา และการสรุปเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์เมตาจากงานวิจัย 2 เรื่อง เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมแล้ว พบว่าการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาในสตรีหลังคลอดสามารถเพิ่มสมรรถนะแห่งตนในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ 4 สัปดาห์หลังคลอด (WMD -5.56; 95% CI: -7.91, -3.21; P<0.001) และที่ 8 สัปดาห์หลังคลอด (WMD -6.06; 95% CI: -8.67, -3.46; P<0.001) การสรุปเชิงเนื้อหาจากงานวิจัย 8 เรื่อง พบว่ากลุ่มทดลองมีสมรรถนะแห่งตนเพิ่มโดยการส่งเสริมผ่านแหล่งข้อมูล 4 แหล่ง คือ 1) ประสบการณ์ที่ประสบความสำเร็จด้วยตนเอง 2) การได้เห็นตัวแบบหรือ ประสบการณ์จากผู้อื่น 3) การชักจูงด้วยคำพูด และ 4) สภาวะด้านร่างกายและอารมณ์ การส่งเสริมทั้งรายบุคคลและรายกลุ่มสามารถให้ผลลัพธ์ทางบวกต่อสมรรถนะแห่งตนในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา และการส่งเสริมอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์จนถึงระยะหลังคลอดสามารถเพิ่มสมรรถนะแห่งตนในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา และพฤติกรรมการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา จากผลการทบทวนอย่างเป็นระบบครั้งนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาในระยะหลังคลอด เพื่อเพิ่มสมรรถนะแห่งตนในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาในสตรีหลังคลอด นอกจากนี้ควรมีการวิจัยปฐมภูมิ ที่เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยเฉพาะงานวิจัยแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม เพื่อยืนยันผลลัพธ์ของวิธีการในการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาต่อไป Breast milk provides the optimal food for infants. Breastfeeding self-efficacy is the most influential factor in successful breastfeeding. The purpose of this systematic review was to study the effectiveness of breastfeeding self-efficacy enhancement in pregnant women and/or postpartum women. A comprehensive search was performed on all published and unpublished randomized controlled trial and quasi-experimental studies in Thai and English from 2006 to 2017. The systematic review was conducted using a systematic guideline developed by the Joanna Briggs Institute (JBI, 2016). An Appraisal Form and Data Extract Form developed by JBI were used for this systematic review. Ten studies met the review inclusion criteria: 6 randomized controlled trials and 4 quasi-experimental studies. Data were analyzed using meta-analysis and narrative summarization. The findings of this study indicated that: The meta-analysis included two studies. In comparison to control groups, breastfeeding self-efficacy enhancement in postpartum women significantly increased breastfeeding self-efficacy at 4 weeks postpartum period (WMD -5.56; 95% CI: -7.91, -3.21; P<0.001) and at 8 weeks postpartum period (WMD -6.06; 95% CI: -8.67, -3.46; P<0.001). Narrative summarization of eight studies revealed that participants in the intervention group showed greater increases in breastfeeding self-efficacy through 4 sources: 1) performance accomplishments, 2) vicarious experiences, 3) verbal persuasion, and 4) physiological responses. Both individual and group interventions had positive outcomes on breastfeeding self-efficacy. Continuous enhancement delivered from pregnancy through postpartum period could increase breastfeeding self-efficacy and breastfeeding behavior. Based on this systematic review, the researcher recommends that enhancing breastfeeding self-efficacy in the postpartum period should be performed to increase breastfeeding self-efficacy in postpartum women. Moreover, primary research in experimental research design should be conducted, especially randomized controlled trials, to ensure the outcomes of the intervention for enhancing breastfeeding self –efficacy. |
Description: | วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ |
URI: | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/241842/164622 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68774 |
ISSN: | 0125-0078 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.