Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68766
Title: ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับความดันโลหิต ของผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้
Other Titles: Effects of Self-management Promoting Program on Health Behaviors and Blood Pressure Level of Persons with Uncontrolled Hypertension
Authors: สุพัตรา สิทธิวัง
ศิวพร อึ้งวัฒนา
เดชา ทำดี
Authors: สุพัตรา สิทธิวัง
ศิวพร อึ้งวัฒนา
เดชา ทำดี
Keywords: โปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเอง;พฤติกรรมสุขภาพและระดับความดันโลหิต;ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้
Issue Date: 2563
Publisher: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: พยาบาลสาร 47, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2563), 85-97
Abstract: โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยและของโลก เนื่องจากมีผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้อย่างต่อเนื่องเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และความดันโลหิตสูงยังส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา โปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองมีความสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้สามารถมีพฤติกรรมสุขภาพและระดับความดันโลหิตที่ดีขึ้น การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับความดันโลหิตของผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีชื่อตามบัญชีรายชื่อการรับการรักษาในคลินิคโรคเรื้อรัง ที่อยู่ในชุมชนอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 48 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 24 รายและกลุ่มควบคุม 24 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด ดำเนินการเก็บข้อมูลในระหว่างเดือน มีนาคม ถึงเดือน มิถุนายน พ.ศ.2560 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองของผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้, คู่มือการจัดการตนเองของผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้, สื่อวีดีทัศน์ให้ความรู้ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดการตนเองสำหรับผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ และ แบบบันทึกการปฏิบัติในการจัดการตนเองสำหรับผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ เครื่องวัดความดันโลหิตมาตรฐานชนิดปรอท หูฟัง และแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่มีความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ หาความสอดคล้องภายในของแบบสอบถามโดยใช้สัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค ได้ค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงเท่ากับ .83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบค่าที ชนิดสองกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกันและสองกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเอง มีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพสูงกว่าผู้ที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ และสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .01) และพบว่า ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองมีระดับความดันโลหิตต่ำกว่าผู้ที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ และต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เป็นถึงประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเอง ในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างต่อเนื่อง และช่วยให้สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีขึ้น Hypertension is a major public health problem in Thailand as well as all over the world because the number of persons who are unable control their blood pressure levels are constantly increasing which can lead to many complications. A self-management promoting program is important to help them to have better health behaviors and blood pressure levels. This quasi-experimental research aimed to examine the effects of self-management program on health behaviors and blood pressure levels of persons with uncontrolled hypertension. The samples consisted of adults with uncontrolled hypertension who were on the list of treatment in the Chronic Disease Clinic, primary care unit of Saraphi, Chiang Mai. Forty-eight persons selected by criteria were assigned into experimental groups and control groups, twenty-four in each group. The data were collected during March to June 2017. The instruments used in this study consisted of the self-management promoting program in persons with uncontrolled hypertension, handbook of self-management in persons with uncontrolled hypertension, two videos about hypertension and how to self-manage for persons with uncontrolled hypertension, a book recording of self-management in persons with uncontrolled hypertension, manual blood pressure monitoring and the health behaviors for persons with uncontrolled hypertension questionnaire. The reliability of health behaviors questionnaire was .87, tested by Cronbach’s alpha coefficient. Data were analyzed by using descriptive statistics, independent t-test and paired t-test. The results of this study revealed that the mean score of the health behaviors of persons with uncontrolled hypertension after receiving the self-management promotion program was statistically significantly higher than before and higher than the control group (p<.01). Systolic blood pressure and diastolic blood pressure of persons with uncontrolled hypertension after receiving the self-management promotion program was statistically significantly higher than before and higher than the control group (p<.05) The findings of this study indicate the effectiveness of the self-management promotion program to promote and support persons with uncontrolled hypertension who must constantly monitor and adjust their health behavior which will lead to a better control of blood pressure levels.
Description: วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ
URI: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/241799/164587
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68766
ISSN: 0125-0078
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.