Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68735
Title: การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพิ่มความชุ่มชื้นจากสารสกัดกระเจี๊ยบเขียว
Other Titles: Development of Moisturizing Product from Okra (Abelmoschus esculentus(L.) Moench) Extract
Authors: พัชรีวรรณ เบ้าคำ
ตฤณลดา แสงทอง
นิชนันท์ สุชนวัฒนกุล
มธุกร สายนาคำ
Authors: พัชรีวรรณ เบ้าคำ
ตฤณลดา แสงทอง
นิชนันท์ สุชนวัฒนกุล
มธุกร สายนาคำ
Keywords: สารสกัดฝักกระเจี๊ยบเขียว;ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ;ฤทธิ์ให้ความชุ่มชื้น;การทดสอบการระคายเคือง;การทดสอบประสิทธิภาพเพิ่มความชุ่มชื้น
Issue Date: 2563
Publisher: คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: วารสารเกษตร 36,2 (พ.ค.-ส.ค. 2563), 279-290
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสกัดและทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดฝักกระเจี๊ยบเขียว เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพิ่มความชุ่มชื้น การศึกษานี้ได้นำฝักกระเจี๊ยบเขียวมาสกัดด้วยน้ำ และเอทานอลความเข้มข้นต่าง ๆ ด้วยวิธีแช่หมักโดยไม่ใช้ความร้อน (Maceration; MT) และวิธีไหลย้อนกลับด้วยความร้อน (Reflux; RF) จากนั้นนำสารสกัดหยาบมาทดสอบหาปริมาณพอลิแซ็กคาไรด์และสารฟีนอลิกรวม ทดสอบฤทธิ์การกำจัดอนุมูลอิสระและความสามารถในการยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชันของไขมัน ตั้งตำรับผลิตภัณฑ์อิมัลชันเจลที่มีส่วนผสมของสารสกัดฝักกระเจี๊ยบเขียวเพื่อประเมินความคงตัวของตำรับ ทดสอบการระคายเคืองด้วยวิธี patch test และความชุ่มชื้นในผิวหนังของอาสาสมัครเพศหญิงผลการทดลองพบว่าสารสกัดฝักกระเจี๊ยบเขียวแห้งที่สกัดด้วยเอทานอลความเข้มข้น 50% โดยวิธี MT (MTD) มีเปอร์เซ็นต์ผลที่ได้ (% yield) เท่ากับ 27.50% มีปริมาณสารสำคัญและฤทธิ์ทางชีวภาพเหมาะสม โดยมีปริมาณพอลิแซ็กคาไรด์ 5.58±0.03 mg glucose/g ปริมาณฟีนอลิกรวม 1.24±0.01 mg GAE/g มีค่าความเข้มข้นของสารที่กำจัดอนุมูลอิสระ DPPH ได้ร้อยละ 50 (SC50) เท่ากับ 0.59±0.07 mg/ml และค่าความเข้มข้นของสารที่สามารถยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชันของไขมันได้ร้อยละ 50 (IPC50) เท่ากับ 0.02±0.02 mg/ml สารสกัด MTD ถูกนำมาเตรียมตำรับผลิตภัณฑ์อิมัลชันเจลที่มีความคงตัว ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง และเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวหนังของอาสาสมัครหลังทาผลิตภัณฑ์เป็นระยะเวลาถึง 90 นาที ดังนั้นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารสกัดฝักกระเจี๊ยบเขียวจึงมีศักยภาพในการนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวหนัง The aim of this study was to extract andinvestigate the biological activity of okra (Abelmoschus esculentus(L.) Moench) for development of moisturizing product. In this study, the okra was extracted by water and ethanol at various concentrations with maceration and reflux extraction. After that, crude extracts were determined to the polysaccharide and total phenolic content, free radical scavenging and lipid peroxidation inhibition.The selected okra extract was formulated to emulsion-gel and evaluated formulationstability, skin irritation with patch-test and moisturizing effect in women volunteer skin. The results showed that dry okra extracted using 50% ethanol by maceration process (MTd50) gave % yield at 27.50%, total polysaccharides at 5.58 ± 0.03 mg glucose/g, total phenolic compounds at 1.24 ± 0.01 mg GAE/g, SC50 value of 0.59 ± 0.07 mg/ml and IPC50value of 0.02 ± 0.02 mg/ml. MTd50 extract was selected to formulate emulsion-gel products which showed high stability, no irritation and increasing the hydrationof women volunteer skin for 90 minutes. Therefore, cosmetic products containing okra extract have the potential for development of skin moisturizer.
Description: วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 1
URI: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/223775/165617
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68735
ISSN: 0857-0841
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.