Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68722
Title: ผลของการใช้บาซิลัสละลายฟอสเฟตร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของอ้อยในชุดดินปากช่อง
Other Titles: Effects of Phosphate-solubilizingBacillus Application with Chemical Fertilizer on Yield and Yield Components of Sugarcane in Pak Chong Soil Series
Authors: สิรินภา ช่วงโอภาส
ชัยสิทธิ์ ทองจู
Authors: สิรินภา ช่วงโอภาส
ชัยสิทธิ์ ทองจู
Keywords: แบคทีเรียละลายฟอสเฟต;บาซิลัส;อ้อย
Issue Date: 2563
Publisher: คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: วารสารเกษตร 36,2 (พ.ค.-ส.ค. 2563), 187-196
Abstract: วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาการละลายฟอสเฟตและการชะล้างของแบคทีเรียเมื่อใส่ปุ๋ยชีวภาพพีเอสบี (phosphate-solubilizing bacteria biofertilizer) ในชุดดินปากช่อง และศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยชีวภาพพีเอสบีร่วมกับปุ๋ยเคมีในการปลูกอ้อย โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 การทดลอง การทดลองที่ 1 เป็นการศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยชีวภาพพีเอสบีต่อการละลายฟอสเฟตในชุดดินปากช่อง โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จำนวน 3 ซ้ำ และ 7 ตำรับการทดลอง ที่มีการใช้ปุ๋ยชีวภาพพีบีเอสที่แตกต่างกัน 7 อัตรา (2 - 64 กรัมต่อกิโลกรัมดิน) ตรวจสอบปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และจำนวนของแบคทีเรียในน้ำที่ชะล้างผ่านคอลัมน์ดิน ในระยะเวลา 90 วัน ผลการศึกษาพบว่าชุดดินปากช่องที่ใส่ปุ๋ยชีวภาพพีเอสบี อัตรา 64 กรัมต่อกิโลกรัมดิน มีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในน้ำชะล้างสูงสุดเท่ากับ 31.10 มิลลิกรัมต่อลิตร และแม้ว่าจะมีการชะล้างด้วยน้ำอย่างต่อเนื่องแต่ยังพบว่ามีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์สูง ชี้ให้เห็นว่าแบคทีเรียยังคงมีการทำกิจกรรมการละลายฟอสเฟตและมีการอยู่รอดในดิน สำหรับการทดลองที่ 2 วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ในการศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยชีวภาพพีเอสบีร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของอ้อยพันธุ์ลำปางที่ปลูกในกระถาง ทำการทดลอง 9 ตำรับ 3 ซ้ำ ผลการศึกษาพบว่าการใส่ปุ๋ยชีวภาพพีเอสบี ร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินทำให้ผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของอ้อยที่ปลูกในชุดดินปากช่องมีผลผลิตเพิ่มขึ้นตามอัตราการใช้ปุ๋ยชีวภาพพีเอสบีที่เพิ่มขึ้น และอ้อยมีผลผลิตสูงสุดเมื่อใส่ปุ๋ยเคมี 15-7.5-15 กิโลกรัมต่อไร่ร่วมกับปุ๋ยชีวภาพพีเอสบีอัตรา 36 กิโลกรัมต่อไร่ ดังนั้นจึงแนะนำให้ใช้ปุ๋ยชีวภาพพีเอสบีในการละลายฟอสเฟตเพื่อส่งเสริมผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของอ้อย ที่ปลูกในดินที่มีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่ำ เช่นชุดดินปากช่องได้ The objective of this research was to study the phosphate solubilizing and bacterial leaching when adding PSB biofertilizer (phosphate-solubilizing bacteria biofertilizer) in Pak Chong soil series and studying the effect of using PSB biofertilizer with chemical fertilizers for sugarcane cultivation. The study was divided into 2 experiments. The first experiment was the studyof the effect of using PSB biofertilizer on the solubilization of phosphate in Pak Chong soil series by completely randomized design in 3 replications and 7 treatments with 7 different rate of PBS fertilizer applications (2-64 g/kg soil). Available phosphorus and bacteria number in the leaching water through the soil column were examined in the 90 day period. The results found that Pak Chong soil series with PSB biofertilizer at 64 g/kg soil had the highest available phosphorus in leaching water as 31.10 mg/l. Although continuous water washout, but also found that the amount of available phosphorus was high. This indicated that the bacteria still had phosphate solubilizing activity and had survival in the soil. For second experiment, a complete randomized experiment were conducted to study of the effect of using PSB bio-fertilizer with chemical fertilizer on yield and yield components of Lampang cultivars sugarcane in pots as 9 treatments 3 replications. The results found that adding PSB biofertilizer together with use of chemical fertilizers according to soil analysis resulted in yield and yield components of sugarcane increased following by the increasing use of PSB biofertilizer. The maximum yield of sugarcane when using chemical fertilizer 15-7.5-15 kg/rai with PSB biofertilizer at the rate of 36 kg/rai was showed. Therefore, it is recommended to apply PSB biofertilizer in phosphates solubilizing for promoting the yield and yield components of sugarcane that is grown in a low amount of available phosphorus soil such as Pak Chong soil series.
Description: วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 1
URI: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/240504/165606
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68722
ISSN: 0857-0841
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.