Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68720
Title: | การศึกษาความดีเด่นของลักษณะทางพืชสวนและผลผลิตของพริกพันธุ์ลูกผสม |
Other Titles: | Heterosis Studies onHorticultural Characteristics and Yield ofChili Hybrids |
Authors: | อัจจิมา ณ จินดา จุฑามาส คุ้มชัย |
Authors: | อัจจิมา ณ จินดา จุฑามาส คุ้มชัย |
Keywords: | พริก;ลูกผสมชั่วที่1;สายพันธุ์เกสรผู้เป็นหมัน;ความดีเด่น |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | วารสารเกษตร 36,2 (พ.ค.-ส.ค. 2563), 169-176 |
Abstract: | การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความดีเด่นของผลผลิตและลักษณะทางพืชสวนในพริกพันธุ์ลูกผสม โดยศึกษาพันธุ์ลูกผสมระหว่างพริกสายพันธุ์เกสรเพศผู้เป็นหมัน (A line) 4 สายพันธุ์ กับสายพันธุ์ที่มีลักษณะเกสรเพศผู้ปกติ (C line) 4 สายพันธุ์ วางแผนการผสมแบบ half diallel cross ได้ลูกผสมทั้งหมด 16 คู่ผสม ปลูกทดสอบลูกผสมชั่วที่ 1 ร่วมกับสายพันธุ์พ่อแม่ และพันธุ์การค้า โดยใช้แผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ (RCBD) จำนวน 3 ซ้ำ ซ้ำละ 12 ต้น พบว่าคู่ผสม ทั้ง 16 คู่ ให้ผลผลิตระหว่าง 350.0-811.7 กรัม/ต้น โดยคู่ผสม A2 × C4 ให้ผลผลิตสูง เท่ากับ 811.67 กรัม/ต้น ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับคู่ผสม A3 × C2, A1 × C2, A2 × C2, A2 × C1, A2 × C3 และพันธุ์การค้า ให้ผลผลิตเท่ากับ 750.0, 705.0, 605.0, 593.3, 565.0 และ 576.7 กรัม/ต้น ตามลำดับ คู่ผสม พันธุ์ A2 × C1 ยังแสดงค่าความดีเด่นเหนือพ่อแม่ทางบวกในทุกลักษณะที่ศึกษา โดยแสดงค่าความดีเด่นเหนือพ่อแม่ในด้านผลผลิต ร้อยละ22.9 ลักษณะจำนวนผลต่อต้นร้อยละ 1.3 ความยาวผลร้อยละ 34.0 ความกว้างผลร้อยละ 17.0 และความหนาเนื้อร้อยละ 5.2 เช่นเดียวกับคู่ผสม A1× C2 แสดงค่าความดีเด่นเหนือพ่อแม่สูงในด้านผลผลิตต่อต้นและจำนวนผลต่อต้น ร้อยละ 54.1 และร้อยละ 25.1 ตามลำดับ ซึ่งสรุปได้ว่าคู่ผสม A1 × C2 และ A2 × C1 เหมาะสำหรับพัฒนาเพื่อผลิตเป็นพันธุ์ลูกผสมเชิงการค้าต่อไป The purpose ofthis research aimed to study heterosis of yield and horticultural characteristics on chili hybrids. Male sterile varieties (A-line) crossed with four fertile varieties (C-line) in a half-diallel cross program. There were 16 hybrids from the crossing program. All combinations grew for varietal evaluation with their parents and commercial variety by using randomized complete block design (RCBD) with three replications and twelve plants per replication. The results showed that fruit yield of 16 hybrids rangedfrom 350.0-811.7 g/plant.Hybrid A2 × C4 gave high fruit yield at 811.4 g/plant, which was not significantly different with A3 × C2, A1 × C2, A2 × C2, A2 × C1, A2 × C3 and the commercial variety at 750.0, 705.0, 605.0, 593.3, 565.0 and 576.7 g/plant, respectively. Hybrid A2 × C1 showed positive heterosis in all traits, and their heterosis of yield and fruit per plant were 22.9% and 1.3%, respectively. Moreover, the heterosis of fruit length, fruit width, and flesh thickness were 34.0%, 17.0 %, and 5.2%, respectively. Hybrid A1 × C2 also showed high heterosis of yield and fruit per plant (54.1% and 25.1%, respectively). These results concluded that A1 × C2 and A2 × C1 hybrid were suitable to improve for the new commercial hybrid. |
Description: | วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 1 |
URI: | https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/240498/165571 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68720 |
ISSN: | 0857-0841 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.