Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68705
Title: ข้อบกพร่องในการปฏิบัติงานและข้อจํากัดของการเข้าสู่ฟาร์มมาตรฐานของเกษตรกรรายย่อยผู้เลี้ยงสุกรในจังหวัดเชียงราย
Other Titles: The deficiency of practices and limitation of reaching into good agricultural practices of small holders pig farmers in Chiang Rai province
Authors: ธีรัชธาวัลย์ โตบันลือภพ
เกียรติชัย อุ่นกาศ
เทิดศักดิ์ ญาโน
Authors: ธีรัชธาวัลย์ โตบันลือภพ
เกียรติชัย อุ่นกาศ
เทิดศักดิ์ ญาโน
Keywords: ฟาร์มสุกร;เกษตรกรรายย่อย;มาตรฐานฟาร์ม;เชียงราย
Issue Date: 2557
Publisher: คณะสัตวแพทศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: เชียงใหม่สัตวแพทยสาร 12,1 (ม.ค.-เม.ย. 2557) 5-17
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสํารวจข้อบกพร่องในการปฏิบัติงานของเกษตรกรและข้อจํากัดด้านการจัดการฟาร์มของฟาร์มสุกรรายย่อยในจังหวัดเชียงรายที่มีผลต่อการเข้าสู่ระบบฟาร์มสุกรมาตรฐานของกรมปศุสัตว์โดยทําการเก็บขอมูลจากเกษตรกร 446 รายระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคมพ.ศ.2554 ด้วยแบบสอบถามที่มีคําถามตามหลักเกณฑ์ในการตรวจประเมินมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสุกรซึ่งประกอบด้วยข้อมูลทั่วไปของฟาร์มการจัดการองค์ประกอบฟาร์มการจัดการโรงเรือนการจัดการด้านการควบคุมป้องกันโรครวมทั้งการเก็บข้อมูลการจัดการด้านอื่นๆนอกเหนือจากที่ระบุในหลักเกณฑ์การตรวจประเมินฟาร์มมาตรฐานด้วยนอกจากนี้ได้มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับความเห็นของเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ด้านข้อจํากัดในการปรับปรุงฟาร์มและการปฏิบัติงานเพื่อเข้าสู่ระบบมาตรฐานฟาร์มด้วยการสนทนากลุ่มผลการศึกษาพบว่าข้อบกพร่องที่พบได้ในฟาร์มสุกรรายย่อยตามหลักเกณฑ์ในการตรวจประเมินมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสุกรในด้านการจัดการด้านองค์ประกอบฟาร์มได้แก่ ไม่มีพื้นที่ทําลายซากสัตว์เป็นสัดส่วน (85.54%) ไม่มีรั้วรอบบริเวณพื้นที่เลี้ยงสัตว์ (79.50%) ไม่มีโรงเก็บอาหารหรือพื้นที่เก็บอาหารที่เป็นสัดส่วน (41.48%) และคนงานพักอาศัยอยู่ภายในโรงเรือนเลี้ยงสุกร (13.60%) ด้านการจัดการภายในโรงเรือน ได้แก่ ไม่มีอ่างน้ำยายาฆ่าเชื้อโรคสําหรับจุ่มเท้า (87.12%) ไม่แยกส่วนการผลิตออกจากกัน (48.21%) และไม่ทําความสะอาดโรงเรือนไม้พักโรงเรือน (31.84%) การจัดการด้านการควบคุมป้องกันโรค ได้แก่ ไม่มีการทําบันทึกบุคคลเข้า-ออกฟาร์ม (94.82%) ไม่มีการทําลายเชื้อโรคจากยานพาหนะก่อนเข้า-ออกฟาร์ม (70.40%) ไม่มีการดูแลรักษาสัตว์ป่วย (56.73%) ไม่มีการแยกกักสัตว์ป่วย (37.10%) และไม่มีการทําวัคซีนสุกรที่เลี้ยง (22.20%) ส่วนการจัดการอื่นๆนอกเหนือจากหลักเกณฑ์ฯ ได้แก่ ไม่มีสถานที่สําหรับจําหน่ายสุกร (90.47%) ไม่มีรั้วกั้นแยกระหว่างบ้านพักกับโรงเรือน (89.44%) ไม่มีสถานที่กักสัตว์ก่อนนําเข้าฟาร์ม (74.36%) มีการใช้พ่อพันธุ์เร่ผสม (68.91%) และเลี้ยงสุกรขุนที่อายุแตกต่างกัน (65.31%) จากการสนทนากลุ่มพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่เห็นว่าการปฏิบัติตามหลักมาตรฐานฟาร์มเป็นสิ่งที่ดีและควรปฏิบัติแต่เกษตรกรไม่สามารถปฏิบัติได้เนื่องจากปัญหาแหล่งเงินทุนขาดองค์ความรู้และขาดการประสานงานที่ต่อเนื่องกับเจ้าหน้าที่เชียงใหม่ สัตวแพทยสาร 2557;12(1):3-12 The objective of this study was to survey the defi ciency of farmer’s practices and the limitation of farm management of small holder pig farms in Chiang Rai province that effect the reaching into pig farm good agricultural practices (GAP) system, under Department of Livestock Development (DLD) regulation. Total of 466 small holder pig farmers were interviewed by using the questionnaires which developed from the criteria of pig farm GAP. That consisted of demographic information, farm component, housing management, disease control and prevention management, including farm management which was beyond the criteria. Furthermore, the focus group discussion was performed with farmers and DLD offi cers. Their attitude of the limitation of farm and practice improvement, that effect to the reaching into pig farm GAP, was collected from the discussion. The defi ciency of farm component results showed that they had no specifi c area for infectious waste or death animal elimination (85.54%) , had no fence around farm (79.50%) and had no specifi c area to keep feed (41.48%). The study also found that workers lived in pig house (13.60%). The results from housing management indicated that they had no disinfectant foot-bath (87.12%), had no separated production unit (48.21%) and had no cleaning and disinfection pig house (31.84%). Under disease control and prevention management, they did not have visitor record (94.82%), did not use disinfection on truck and trailer before reaching farms (70.40%), did not take care of sick animal (56.73%), did not isolate sick animal (37.10%) and did not vaccinate their animals (22.20%). Finally, the results from other management beyond the criteria showed that, they did not have particular area for animals selling (90.47%), had no fence between production area and resident area (89.44%), did not quarantine new stock (74.36%), shared boar with other farm (68.91%) and did not use all-in-all-out production system (65.31%). Moreover, the results from focus group discussion indicated that the pig farm GAP was good and should be complied, according the farmer’s though. However, they could not follow because of the limitation of budget, knowledge and offi cer coordination.
Description: เชียงใหม่สัตวแพทยสาร เป็นวารสารเผยแพร่เผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพในลักษณะต่าง ๆ เช่น บทความต้นฉบับ (Original article) บทความปริทัศน์ (Review article) รายงานฉบับย่อ (Short communication) และรายงานสัตว์ป่วย (Case report) ที่เกี่ยวข้องกับทางด้านสัตวแพทยศาสตร์ (Veterinary Science) และวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการสัตว์ (Animal Science and Technology) ได้แก่ ชีววิทยา สรีรวิทยา จุลชีววิทยา พยาธิวิทยา โภชนาการศาสตร์ กายวิภาคศาสตร์ พันธุศาสตร์ อายุรศาสตร์ ศัลยศาสตร์ สูติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ทางชีวภาพวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ระบาดวิทยาและแนวทางสุขภาพหนึ่งเดียว
URI: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/vis/article/view/146657/108107
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68705
ISSN: 0857-6920
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.