Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68687
Title: การปรับปรุงรูปแบบการจัดเก็บสินค้าในคลังสินค้าสำเร็จรูป ชนิดแห้ง กรณีศึกษา บริษัทผลิตวุ้นเส้น
Other Titles: Improvement of Storage Facilities in Dry Goods Warehouse: Case Study Vermicelli Production Company
Authors: วรุตม์ บุญภักดี
วิชญ์พล ศุภจินดากรณ์
วิภาลักษ์ ไช่
สุมัชชา แก้วสระแสน
Authors: วรุตม์ บุญภักดี
วิชญ์พล ศุภจินดากรณ์
วิภาลักษ์ ไช่
สุมัชชา แก้วสระแสน
Keywords: กลุ่มสินค้าที่มีความเคลื่อนไหวเร็ว;ทฤษฎี ABC Analysis;โปรแกรมเชิงเส้น
Issue Date: 2563
Publisher: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 27, 1 (ม.ค.-เม.ย. 2562), 22-32
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการวางแผนผังการจัดเก็บสินค้ำของบริษัทผลิตวุ้นเส้น พื่อนำมาปรับปรุงตำแหน่งการจัดเก็บสินค้าสำเร็จรูปชนิดแห้ง และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พื้นที่ในการจัดเก็บสินค้า โดยพื้นที่ที่ทำการศึกษานั้นเป็นคลังสินสำเร็จรูปชนิดแห้งคลังที่ 1 มีพื้นที่ 1,350 ตารางเมตร โดยมีการจัดเก็บสินค้าบนพื้นมากกว่าบนชั้นวางสินค้าอุตสาหกรรม ทำให้การใช้อรรถประโยชน์ของพื้นที่แนวสูงได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ และไม่มีการระบุตำแหน่งการจัดเก็บสินค้าที่ชัดเจน ผู้วิจัยได้ทำการออกแบบแผนผังการจัดเก็บสินค้าทั้งหมด 4 รูปแบบ โดยการนำชั้นวางสินค้าอุตสาหกรรมมาใช้ในการจัดเก็บ และนำรูปแบบที่เหมาะสมที่สุดคือ แผนผังปรับปรุงการจัดเก็บสินค้ารูปแบบที่ 1 มาทำการ จัดโซนพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้า โดยใช้แนวคิดทฤษฎีการวิเคราะห์จัดกลุ่มด้วยระบบ ABC Analysis มาประยุกต์ใช้ใน การจัดกลุ่มสินค้าตามความเคลื่อนไหวของสินค้า และใช้ Excel Solver ซึ่งเป็นโปรแกรมแอด-อินของไมโครซอฟท์เอ็กเซลร่วมกับหลักการของตัวแบบโปรแกรมเชิงเส้น (Linear Programming) ตามทฤษฎีสินเคลื่อนไหวเร็ววางไว้ใกล้ประตู มาช่วยในการกำหนดโซนพื้นที่การจัดเก็บที่เหมาะสมสำหรับแต่ละกลุ่มสินค้า จากผลการศึกษาพบว่าเมื่อปรับปรุงการจัดเก็บโดยการวางผังการจัดเก็บสินค้าสำเร็จรูปใหม่ สามารถเพิ่มความสามารถในการจัดเก็บสินค้าได้ 328 แพลเล็ต คิดเป็นร้อยละ 59.85 และสามารถลดระยะทางเฉลี่ยรวมในการจัดเก็บสินค้าได้ 12,810.86 เมตร คิดเป็นร้อยละ 63.85 This research aims to study the storage layout of vermicelli production company in order to improve the storage location of dried products as well as enhancing the efficiency of the storage system. The study area is a dry-type warehouse located at 1,350 square meters. Previously, every product is stored on the floor rather than on the industrial shelves, the use of the vertical storages and its location have been ineffective and uncertainly indicated. Therefore, four storage models were designed to enhance the system by bringing in the industrial shelves and using model one storage system. Accordingly, the concept of grouping analysis theory by ABC analysis is applied to group goods from its movement. In addition, Solver, the Microsoft Excel add-in program combined with the principle of linear programming along with the theory of the rapid movement goods. The goods have the position of the goods. From the result, it indicated that the storage system can effectively improve with installing model 1 and the industrial shelves. By the increase in storage capacity of 328 pallets, or 59.85% and the overall average storage distance decreases 12,810.86 meters or 63.85%.
Description: วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Engineering Journal Chiang Mai University) เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความวิชาการในลักษณะบทความวิจัย และบทความปริทัศน์ที่มีคุณภาพสูง ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีเนื้อหาที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐานจนกระทั่งการนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งในแง่ทฤษฎี การวางแผน การทดลอง การออกแบบ หรือการพัฒนาอุปกรณ์และการจำลองการทำงานของระบบ หรือกระบวนการต่างๆ เป็นต้น ได้รับการยอมรับอยู่ในฐานข้อมูล Thailand Citation Index (TCI) กลุ่มที่ 1 สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
URI: http://researchs.eng.cmu.ac.th/UserFiles/File/Journal/27_1/03.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68687
ISSN: 2672-9695
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.