Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68629
Title: อีริทิมามัลติฟอร์เม : รายงานผู้ป่วย
Other Titles: Erythema Multiforme : A Case Report
Authors: กานต์สุดา อินทจักร์
Authors: กานต์สุดา อินทจักร์
Keywords: อีริทิมามัลติฟอร์เม;กลไกทางอิมมูนต่อปฏิกิริยา การแพ้;การลอกหลุดของเยื่อเมือกช่องปาก
Issue Date: 2563
Publisher: คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร 41,1 (ม.ค.-มี.ค. 2563) น.99-107
Abstract: อีริทิมามัลติฟอร์เม เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบแบบเฉียบพลัน จากกลไกทางอิมมูนต่อปฏิกิริยาการแพ้ของร่างกายเมื่อได้รับปัจจัยกระตุ้น โดยสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อ การใช้ยา หรือสารเคมี ตรวจพบรอยโรคได้ทั้งบริเวณผิวหนังและเยื่อเมือก ซึ่งจะมีลักษณะทางคลินิกที่หลากหลาย สามารถแบ่งระดับความรุนแรงได้จากบริเวณที่ตรวจพบรอยโรค ทั้งเนื้อเยื่ออ่อนในช่องปาก และบริเวณผิวหนัง โดยรอยโรคในช่องปากมักพบลักษณะแผลลอกหลุดของเยื่อเมือกแบบสมมาตร บทความนี้รายงานถึงผู้ป่วยอีริทิมามัลติฟอร์เม 1 ราย เป็นผู้ป่วยหญิง อายุ 55 ปี มาด้วยอาการลอกหลุดของเยื่อเมือกในช่องปากหลายตำแหน่ง เจ็บ รับประทานอาหารลำบาก การวินิจฉัยรอยโรคในผู้ป่วยรายนี้ทำได้โดยอาศัยการซักประวัติและลักษณะทางคลินิกเป็นสำคัญ การพิจารณาส่งตรวจทางจุลพยาธิวิทยา และอิมมูโนฟลูออเรสเซนซ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันการวินิจฉัยรอยโรค ผู้ป่วยตอบสนองต่อการรักษาเป็นอย่างดี ด้วยการให้สเตียรอยด์ทางระบบร่วมกับสเตียรอยด์แบบเฉพาะที่ และไม่เกิดการกลับเป็นซ้ำของรอยโรคเมื่อหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น ที่พบสาเหตุจากการรับประทานแมลงทอดปนเปื้อนสารเคมี Erythema multiforme (EM) is an acute inflammatory disease as a result of the allergic immune response mechanism when the patient exposes the stimulating factor, as the infection, the medication and the chemical uses. The lesions can occur in the skin and or the mucous membrane. The diversity of the clinical features depend on the organ involvement, to be the mucous membrane and the skin. In the oral cavity, EM commonly demonstrates as the bilaterally symmetry of the desquamated lesions. The present report was described a case of EM in 55-year-old female, with the oral mucous membrane desquamation, the painful sensation, and the subjective complaint was difficult to eat. The diagnosis of EM was established by the basis of the patient history and the clinical features. The histopathologic finding and the immunofluorescence finding were considered for the diagnostic confirmation. The patient was successfully treated by the systemic and the topical steroids. There were not found the any lesions when the patient avoided the stimulating factor, as the consumption of the pesticides contaminated in fried insects.
Description: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคม
URI: http://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2563_41_1_542.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68629
ISSN: 0857-6920
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.