Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67490
Title: ความตรงเชิงเนื้อหาและการตรวจสอบเชิงภาษาของแบบวัดรสนิยมและอัตลักษณ์ทางเพศฉบับแปลสำหรับใช้ในงานวิจัยในผู้มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย
Other Titles: The Validity and Linguistic Testing of Translated Measures of Sexual Orientation and Gender Identity for Research in Lesbian, Gay, Bisexual, and Transgender (LGBT) Populations in Thailand
Authors: ปริยศ กิตติธีระศักดิ์
อลิเซีย เค.แมททริ
อลาน่า สตีฟเฟ่น
Authors: ปริยศ กิตติธีระศักดิ์
อลิเซีย เค.แมททริ
อลาน่า สตีฟเฟ่น
Keywords: อัตลักษณ์ทางเพศ;ความหลากหลายทางเพศ;แบบวัด;คนกลุ่มน้อยทางเพศและเพศภาวะ;รสนิยมทางเพศ
Issue Date: 2562
Publisher: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: พยาบาลสาร 46,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2562) 122-137
Abstract: ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีงานวิจัยจำนวนมากที่รายงานว่าผู้มีความหลากหลายทางเพศเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเกิดปัญหาด้านสุขภาพแต่กลับพบงานวิจัยในประเทศไทยเพียงเล็กน้อย และพบว่าการขาดแบบคัดกรองคุณลักษณะทางเพศที่มีมาตรฐานเป็นอุปสรรคสำคัญในการวิจัยการพยาบาลในคนกลุ่มนี้ การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อแปลแบบวัดรสนิยมและอัตลักษณ์ทางเพศ (SOGI) ซึ่งเป็นแบบวัดมาตรฐานที่ถูกพัฒนาขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาด้วยกระบวนการแปลเครื่องมือเพื่อใช้ในงานวิจัยข้ามวัฒนธรรม หลังจากนั้นแบบวัด SOGI ได้ถูกประเมินความตรงเชิงเนื้อหาโดยคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ และตรวจสอบระดับความเข้าใจ/การยอมรับเชิงภาษาจากกลุ่มตัวอย่างคนไทยวัยผู้ใหญ่ที่หลากหลายด้วยการเก็บข้อมูลแบบออนไลน์ด้วยโปรแกรมควอลทริกซ์ (qualtrics program) ข้อมูลการศึกษาได้รับการวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาจากการลงความเห็นของผู้เชี่ยวชาญพบว่าแบบวัด SOGI มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาระดับสูง (I-CVI = 1, S-CVI/Ave = 1) จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 282 คน ส่วนใหญ่มีเพศกำเนิดเป็นเพศหญิง (ร้อยละ 65.6) มี อัตลักษณ์ทางเพศตรงกับเพศกำเนิด (ร้อยละ 90.1) และมีรสนิยมทางเพศเป็นกลุ่มรักเพศตรงข้าม (ร้อยละ 75.2)สำหรับผลการตรวจสอบเชิงภาษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีคะแนนความเข้าใจในข้อคำถามและตัวเลือกตอบของแบบวัด SOGI ในระดับสูง (M = 9.37 – 10.38, SD = 0.87 – 1.27 และ M = 9.80 – 10.26, SD = 0.92 – 1.24, ตามล�าดับ) และมีค่าเฉลี่ยการยอมรับในระดับสูงเช่นกัน (ร้อยละ 98.62) เมื่อเปรียบเทียบในกลุ่มที่มีคุณลักษณะทางเพศและเพศสภาวะที่ต่างกัน พบว่ากลุ่มคนรักเพศเดียวกันและคนข้ามเพศมีความเข้าใจต่อแบบวัด SOGI ต่ำกว่ากลุ่มอื่นเล็กน้อย ในขณะที่คนรักเพศตรงข้ามมีระดับการยอมรับต่อแบบวัด SOGI สูงที่สุด ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าแบบวัด SOGI ฉบับภาษาไทยมีความตรงเชิงเนื้อหาและมีระดับความเข้าใจ/การยอมรับในระดับสูง สามารถประยุกต์ใช้ในงานวิจัยทางการพยาบาลเพื่อคัดกรองคุณลักษณะทางเพศและเพศสภาวะในกลุ่มประชากรวัยผู้ใหญ่ที่หลากหลาย และสามารถเทียบเคียงผลการศึกษากับต่างประเทศได้
Description: วารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาล
URI: https://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/230314/156776
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67490
ISSN: 0125-5118
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.