Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67478
Title: ประสิทธิผลของยาสีฟันลดอาการเสียวฟันต่อการลดภาวะเนื้อฟันไวเกินเปรียบเทียบระหว่างการแปรงฟันเพียงอย่างเดียวและการแปรงฟันร่วมกับการนวด
Other Titles: Effectiveness of Desensitizing Toothpaste on Reducing Hypersensitivity Comparing Between Brushing Alone and Brushing Combined with Massage
Authors: รัชนู ชาญสมาธิ์
รณยุทธ ชาญสมาธิ์
Authors: รัชนู ชาญสมาธิ์
รณยุทธ ชาญสมาธิ์
Keywords: เสียวฟัน;แปรงร่วมกับนวด;ยาสีฟันลดอาการเสียวฟัน
Issue Date: 2562
Publisher: คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร 39,1 (ม.ค.-เม.ย. 2561) 53-60
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการลดลงของอาการเสียวฟันเมื่อใช้ยาสีฟันลดอาการเสียวฟัน ด้วยการแปรงเพียงอย่างเดียวเทียบกับการแปรงร่วมกับการนวด โดยคัดเลือกอาสาสมัครที่มีอาการเสียวฟันทั้งหมด 70 คน แบ่งอาสาสมัครเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 35 คน กลุ่มที่ 1 แปรงฟันด้วยยาสีฟันลดอาการเสียวฟันเพียงอย่างเดียว กลุ่มที่ 2 แปรงฟันด้วยยาสีฟันลดอาการเสียวฟัน จากนั้นนวดบริเวณที่เสียวฟันด้วยยาสีฟันลดอาการเสียวฟันอีกครั้ง เป็นเวลา 1 นาที วันละ 1 ครั้ง ทำการทดสอบอาการเสียวฟันด้วยการกระตุ้นด้วยลม และความเย็น อาสาสมัคร ประเมินระดับการเสียวฟันโดยใช้ VAS score ที่ก่อนเริ่ม การศึกษา 2 4 และ 8 สัปดาห์หลังการใช้ยาสีฟัน ทดสอบทางสถิติแพร์ ที เทส (Paired T-test) และอินดีเพนเดนท์ ที เทส (Independent T-test) ผลการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ย VAS score ของทั้งสองกลุ่มลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยกลุ่มที่แปรงเพียงอย่างเดียวและกลุ่มที่แปรงร่วมกับนวดทำให้อาการเสียวฟันลดลงร้อยละ 56 และ 70 ตามลำดับ จากผลการศึกษาสรุปได้ว่ากลุ่มที่แปรงร่วมกับนวดทำให้อาการเสียวฟันลดลงมากกว่ากลุ่มที่แปรงเพียงอย่างเดียวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)
Description: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคม
URI: http://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2561_39_1_481.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67478
ISSN: 0857-6920
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.