Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67467
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorปริญญา อมรเศรษฐชัยen_US
dc.contributor.authorศุภชัย สุพรรณกุลen_US
dc.contributor.authorธนภัทร บ่อคำen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:46:50Z-
dc.date.available2020-04-02T14:46:50Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationเชียงใหม่ทันตแพทยสาร 39,2 (พ.ค.-ก.ย. 2561) 47-55en_US
dc.identifier.issn0857-6920en_US
dc.identifier.urihttp://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2561_39_2_484.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67467-
dc.descriptionเชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคมen_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อประเมินอัตราการอยู่รอดของรากฟันเทียมไทยระบบพีดับบลิวพลัส (PW PLUS®) ซึ่งได้ทำการใส่และบูรณะในภาควิชาทันตกรรมทั่วไปขั้นสูงมหาวิทยาลัยมหิดล โดยติดตามการรักษาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555-2558 รวมทั้งสิ้น เป็นเวลา 3 ปี วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: การศึกษานี้เป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลัง โดยท�ำการทบทวนข้อมูลจากแฟ้มเวชระเบียนผู้ป่วยทั้งหมด 23 ราย ซึ่งผู้ป่วยทุกรายจะต้องได้รับการใส่รากฟันเทียมระบบพีดับบลิวพลัส (PW PLUS®)ในขากรรไกรบนและ/หรือ ขากรรไกรล่างอย่างน้อยหนึ่งตัวที่คลินิกภาควิชาทันตกรรมทั่วไปขั้นสูง มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ป่วยเหล่านี้จะได้รับการเรียกกลับมาตรวจเพื่อติดตามผลการรักษา โดยการตรวจจะเป็นการตรวจทางคลินิก และการตรวจทางภาพรังสี หากพบรากฟันเทียมที่ล้มเหลวจะถูกบันทึกไว้ ข้อมูลทั้งหมดมาหาอัตราการอยู่รอดด้วยการวิเคราะห์อัตราอยู่รอดของ แคปแลน ไมเออร์ (Kaplan Meier analysis) ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 23 ราย เป็นชาย 11 ราย หญิง 12 ราย ถูกรวมเข้ามาอยู่ในการศึกษานี้ รวมรากฟันเทียมทั้งหมด 38 ตัว พบว่า รากฟันเทียม 1 ตัว ล้มเหลวเนื่องจาก ส่วนรากเทียมที่ใส่ในกระดูกแตกร้าวขณะที่รากฟันเทียมอีก 37 ตัวยังคงใช้งานได้อย่างปกติผลแทรกซ้อนทั้งทางชีวภาพและเชิงกล (biologic and mechanical complications) ที่พบจะถูกบันทึกไว้ โดยเกลียวที่ใช้ยึดกับส่วนรากฟันเทียมนั้นพบว่าหลวม (screw loosening) ถึง ร้อยละ 29.73 (11 ตัว) ส่วนอัตราการอยู่รอดสะสม 3 ปี อยู่ที่ ร้อยละ 94.4 (37 ตัว) บทสรุป: จากผลการศึกษาข้อมูลแบบย้อนหลังนี้พบว่า อัตราการอยู่รอด 3 ปี ของรากฟันเทียมไทยระบบพีดับบลิวพลัส (PW PLUS®) เป็นไปในแนวทางเดียวกันกับรากฟันเทียมระบบอื่น ๆ และผลแทรกซ้อนเชิงกล เช่นเกลียวที่ใช้ยึดกับส่วนของรากเทียมนั้นหลวม พบว่ายังมีอัตราส่วนสูงอยู่en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectรากฟันเทียมen_US
dc.subjectอัตราการอยู่รอดของรากฟันเทียมen_US
dc.subjectภาวการณ์แทรกซ้อนของรากฟันเทียมen_US
dc.subjectรากฟันเทียมระบบพีดับบลิวพลัสen_US
dc.titleการศึกษาย้อนหลัง 3 ปี ของอัตราการอยู่รอดหลังการใส่รากฟันเทียมที่ผลิตในประเทศไทย (พีดับบลิว พลัส)ในผู้ป่วยจำนวน 23 รายen_US
dc.title.alternativeA 3 Years Retrospective Analysis of Survival Rate of Thai Dental Implant (PW PLUS®) in 23 Patientsen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.