Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67457
Title: โครงการพัฒนาผ้าทอมือด้วยการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและหน้าที่การใช้งาน: กรณีศึกษาจังหวัดราชบุรี
Other Titles: The Development of Hand-woven Textiles: The Change of Appearance and Function, A Case Study from Ratchaburi Province
Authors: วิทวัน จันทร
Authors: วิทวัน จันทร
Keywords: จก;ไท-ยวน;ผ้าทอราชบุรี;ทฤษฎี Alex Faickney Osborn
Issue Date: 2562
Publisher: คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: วารสารวิจิตรศิลป์ 10,2 (ก.ค.-ธ.ค. 2562) 159-180
Abstract: การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาผ้าทอมือในจังหวัดราชบุรี ให้มีความร่วมสมัยทั้งด้านรูปแบบและหน้าที่การใช้งานในชีวิตประจำวัน รวมถึงตอบโจทย์ทางการตลาด และต้องการให้คนรุ่นใหม่กลับมาเห็นความสำคัญของศิลปะผ้าจกของจังหวัดราชบุรี โดยใช้ทฤษฎีการออกแบบและการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของ Alex Faickney Osborn เป็นแนวทางในการออกแบบ กระบวนการหาข้อมูลใช้วิธีลงพื้นที่สำรวจปัญหาและจัดเก็บข้อมูลทั้งแบบปฐมภูมิและทุติยภูมิ คือ การสำรวจเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สนทนาปัญหาต่างๆ กับช่างทอและผู้ประกอบการในพื้นที่รวมถึงบุคคลทั่วไป นำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อให้ได้มาซึ่งต้นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ร่วมสมัยแต่ยังคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดราชบุรี สืบเนื่องจากที่มาของปัญหาก่อนการวิจัยพบว่าช่างทอผ้าส่วนใหญ่ขาดแนวคิดและขาดการชี้นำแนวทางในการพัฒนาด้านการออกแบบ ทำให้ขาดทิศทางในการพัฒนารูปแบบผ้าทอมือแนวประยุกต์ให้น่าสนใจและแตกต่างไปจากผลิตภัณฑ์ผ้าทอแบบดั้งเดิม ส่งผลให้เกิดการผลิตซ้ำเป็นจำนวนมากจนเกิดปัญหาตามมาในเรื่องราคาและการตลาด ผลจากการวิจัยสรุปได้ว่าทฤษฎีการออกแบบและการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของ Alex Faickney Osborn สามารถนำมาสร้างสรรค์และพัฒนารูปแบบของผ้าทอมือของจังหวัดราชบุรีได้ จากความบันดาลใจในลวดลายผ้าจกโบราณสร้างสรรค์ให้เกิดเป็นลวดลายใหม่ การใช้หลักการลดทอน เพิ่มขยาย รวมถึงการสลับตำแหน่งการจัดวางลวดลายใหม่ การปรับเปลี่ยนวัสดุจากเส้นไหมประดิษฐ์หรือเส้นใยสังเคราะห์มาเป็นไหมและเส้นใยพิเศษ (Antara) สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการออกแบบสิ่งทอได้ ประเด็นปัญหาหลักที่ทำให้ผ้าทอมือในจังหวัดราชบุรีมีรูปแบบไม่ร่วมสมัยนั้นมีเหตุผลมาจากช่างทอเคยชินกับการทอผ้าแบบเดิม ไม่กล้าที่จะริเริ่มหรือทดลองสิ่งใหม่ ขาดการสืบทอดภูมิปัญญาดั้งเดิมด้านการย้อมสีธรรมชาติจากบรรพบุรุษ และขาดแหล่งข้อมูลด้านแหล่งวัตถุดิบที่ใช้ในการทอผ้า เช่น เส้นไหมและเส้นใยฝ้ายชนิดอื่นๆ จึงทำให้ลวดลายรูปแบบและสีสันมีลักษณะที่คล้ายกันในทุกหมู่บ้าน ส่งผลให้เกิดปัญหาตามมาในหลายๆ ด้าน เช่น แนวโน้มความต้องการของตลาดที่ลดลง การลดราคาผ้าทอ และการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ต่ำกว่าต้นทุน
Description: วารสารวิจิตรศิลป์ ได้เผยแพร่บทความทางด้านศิลปกรรม ในระบบวารสารวิจิตรศิลป์ออนไลน์ (ThaiJO) มีกำหนดออกปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม
URI: https://www.tci-thaijo.org/index.php/fineartsJournal/article/view/141923/153331
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67457
ISSN: 1906-0572
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.