Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67439
Title: | วิธีการส่งเสริมการป้องกันภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์: การทบทวนอย่างเป็นระบบ |
Other Titles: | Interventions to Promote Anemia Prevention among Pregnant Women: A Systematic Review |
Authors: | ลลิตวดี เตชะกัมพลสารกิจ กรรณิการ์ กันธะรักษา นันทพร แสนศิริพันธ์ |
Authors: | ลลิตวดี เตชะกัมพลสารกิจ กรรณิการ์ กันธะรักษา นันทพร แสนศิริพันธ์ |
Keywords: | วิธีการส่งเสริมการป้องกันภาวะโลหิตจาง;สตรีตั้งครรภ์;การทบทวนอย่างเป็นระบบ |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | พยาบาลสาร 45,1 (ม.ค.-มี.ค. 2561) 62-74 |
Abstract: | การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาในระยะตั้งครรภ์เป็นปัจจัยส่งเสริมให้สตรีตั้งครรภ์เกิดภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กซึ่งมีผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์ และทารกในครรภ์ วิธีการส่งเสริมการป้องกันภาวะโลหิตจางที่มีประสิทธิภาพจึงมีความสำคัญ การทบทวนอย่างเป็นระบบครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสรุปวิธีการส่งเสริมการป้องกันภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์และผลลัพธ์ของการส่งเสริมการป้องกันภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์ จากรายงานการวิจัยปฐมภูมิตั้งแต่ปีพ.ศ. 2540 ถึง 2557 โดยใช้กระบวนการทบทวนอย่างเป็นระบบของสถาบันโจแอนนาบริกส์ (The Joanna Briggs Institute for Evidence Based Nursing & Midwifery [JBI], 2014) ผลการสืบค้น พบงานวิจัยกึ่งทดลองที่ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการส่งเสริมการป้องกันภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์ และผ่านเกณฑ์การคัดเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนดจำนวน 10 เรื่อง ผู้วิจัยใช้วิธีการวิเคราะห์โดยการสรุปเชิงเนื้อหา เนื่องจากผลการศึกษาไม่สามารถนำมาวิเคราะห์เมต้าได้ เพราะวิธีการส่งเสริมการป้องกันภาวะโลหิตจาง และการวัดผลลัพธ์มีความแตกต่างกันวิธีการส่งเสริมการป้องกันภาวะโลหิตจางที่พบจากการทบทวนอย่างเป็นระบบครั้งนี้มีหลากหลายวิธี งานวิจัยทั้ง 10 เรื่องเป็นงานวิจัยกึ่งทดลองทั้งหมด มีวิธีการจัดกระทำโดยให้ความรู้แบบกลุ่ม เป็นการบรรยายทั้งจากผู้วิจัยเอง และจากโภชนากร รวมทั้งมีการใช้สื่อที่เหมาะสม นอกจากนี้มีการให้ความรู้ร่วมกับการสนับสนุนทางสังคม การให้ความรู้ร่วมกับการสร้างแรงจูงใจ และการให้ความรู้ร่วมกับการตั้งเป้าหมายร่วมกัน ระหว่างผู้วิจัยและกลุ่มควบคุม งานวิจัย 9 เรื่อง มีการจัดกระทำในไตรมาสที่ 2 และ 3 สำหรับงานวิจัยอีก 1 เรื่องจัดกระทำตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ถึงไตรมาสที่ 3 และงานวิจัยทุกเรื่องได้สร้างโปรแกรมสุขศึกษาตามกรอบแนวคิดทฤษฎีทางการพยาบาลได้แก่ ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรค ทฤษฎีการดูแลตนเอง ทฤษฎีการให้ความรู้ด้านสุขภาพ และทฤษฎีความสำเร็จตามเป้าหมาย ซึ่งวิธีการส่งเสริมการป้องกันภาวะโลหิตจางนั้นส่งผลให้กลุ่มทดลองมีความรู้ มีพฤติกรรมในการป้องกันภาวะโลหิตจางโดยการรับประทานยาเสริมธาตุเหล็กอย่างถูกต้อง และสม่ำเสมอ การรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง การรับประทานอาหารที่ส่งเสริมการดูดซึมของธาตุเหล็ก รวมทั้งหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ขัดขวางการดูดซึมของธาตุเหล็ก นอกจากนี้กลุ่มทดลองยังมีระดับความเข้มข้นของโลหิตซึ่งได้แก่ ระดับฮีมาโตคริต ระดับฮีโมโกลบินหรือระดับซีรั่มเฟอริตินสูงขึ้นผลการทบทวนอย่างเป็นระบบครั้งนี้ ให้ข้อเสนอแนะว่าการเลือกวิธีการส่งเสริมการป้องกันภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์ควรมีการให้ความรู้โดยการใช้สื่อที่เหมาะสม เพื่อส่งผลให้สตรีตั้งครรภ์เกิดความรู้ มีพฤติกรรมในการป้องกันภาวะโลหิตจาง หรือมีระดับความเข้มข้นของโลหิตสูงขึ้น สำหรับวิธีการจัดกระทำควรเป็นลักษณะกลุ่ม และควรมีการให้ความรู้ร่วมกับการสนับสนุนทางสังคม การสร้างแรงจูงใจ การกำหนดเป้าหมายร่วมกัน และมีกรอบแนวคิดทฤษฎีทางการพยาบาลที่เหมาะสม สำหรับด้านการวิจัยควรมีการศึกษาวิจัยเชิงทดลองโดยเฉพาะงานวิจัยแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมเพื่อยืนยันผลลัพธ์ของวิธีการส่งเสริมการป้องกันภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์ต่อไป |
Description: | วารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาล |
URI: | https://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/136158/101616 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67439 |
ISSN: | 0125-5118 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.