Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67386
Title: | ประสิทธิภาพของสารสกัดจากผกากรอง (LantanacamaraL.) ต่อการชักน าให้เกิดตัวเต็มวัยหนอนเยื่อไผ่ (Omphisa fuscidentalisHampson) นอกฤดูกาล |
Other Titles: | Efficacy of Lantana (Lantana camara L.) Extract on Induction of Off-seasonal Adult Bamboo Borer (Omphisa fuscidentalis Hampson) |
Authors: | ไพฑูรย์ โถยะโล อรุณฉาย สายอ้าย มนพร มานะบุญ พูลแก้ว |
Authors: | ไพฑูรย์ โถยะโล อรุณฉาย สายอ้าย มนพร มานะบุญ พูลแก้ว |
Keywords: | ผกากรอง;หนอนเยื่อไผ่;สารสกัด |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | วารสารเกษตร 36, 1 (ม.ค.-เม.ย. 2563), 1-13 |
Abstract: | หนอนเยื่อไผ่เป็นหนอนของผีเสื้อกลางคืน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Omphisa fuscidentalisHampson ผีเสื้อหนอนเยื่อไผ่มีการเจริญ 4ขั้น ได้แก่ ไข่ หนอน ดักแด้และตัวเต็มวัย มีวงชีวิตนานประมาณ 1ปี โดยตัวหนอนวัยสุดท้ายอยู่ในระยะพักตัวที่เรียกว่าลาร์วัล ไดอะพอส (larval diapause) นานถึง 9เดือน ทำให้ผีเสื้อเพศเมียวางไข่ได้ปีละ 1ครั้ง อย่างไรก็ตามมีรายงานว่าหากหยดฮอร์โมนจูวีไนล์สังเคราะห์ (juvenile hormone analogue) ให้กับหนอนวัยสุดท้าย จะทำให้ตัวหนอนเข้าดักแด้และดักแด้สามารถเจริญเป็นตัวเต็มวัยได้ การนำฮอร์โมนจูวีไนล์สังเคราะห์ไปประยุกต์ให้เกิดตัวเต็มวัยนอกฤดูกาลจึงมีความเป็นไปได้สูง อนึ่ง การใช้ฮอร์โมนจูวีไนล์สังเคราะห์ อาจทำให้เกิดการตกค้างของสารภายในสิ่งแวดล้อม งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำสารสกัดจากผกากรอง (Lantana camaraL.) ที่สามารถออกฤทธิ์เลียนแบบฮอร์โมนจูวีไนล์มาทดแทนและศึกษาผลของสารสกัดจากผกากรองต่อการเจริญและการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะสืบพันธุ์ในตัวหนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย โดยนำส่วนลำต้นและกิ่งแก่ของผกากรองมาสกัดด้วยวิธีสกัดแบบไหลย้อนกลับ (reflux extraction) ด้วยอะซิโตน เตรียมสารละลายที่มีความเข้มข้นของสารสกัด 3 ความเข้มข้น ได้แก่ 0.01, 0.1และ 1 ไมโครกรัมต่อไมโครลิตร นำสารสกัดแต่ละความเข้มข้นไปหยดให้กับหนอนเยื่อไผ่วัยสุดท้าย หลังจากนั้นบันทึกข้อมูลการเข้าดักแด้และการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะสืบพันธุ์ในตัวหนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าสารสกัดทุกความเข้มข้นสามารถชักนำให้หนอนเข้าดักแด้ได้อย่างไม่แตกต่างกันทางสถิติ โดยสารสกัดที่ความเข้มข้น 0.01และ 0.1ไมโครกรัมต่อไมโครลิตร ทำให้หนอนเยื่อไผ่เข้าเป็นดักแด้ได้ร้อยละ 95.85±2.24และ 98.81±1.19 ตามลำดับ ส่วนสารสกัดที่ความเข้มข้น 1 ไมโครกรัมต่อไมโครลิตร ทำให้หนอนเข้าเป็นดักแด้ได้ร้อยละ 93.77±4.51 โดยใช้เวลาเร็วที่สุดเท่ากับ 38.93±0.73วัน (P<0.05) อีกทั้งเมื่อหยดสารสกัดจากผกากรองที่ความเข้มข้น 1 ไมโครกรัมต่อไมโครลิตรให้กับหนอนวัยสุดท้าย พบว่า สารสกัดไม่มีผลต่อสัณฐานวิทยาของอัณฑะและรังไข่เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม นอกจากนั้นยังพบว่าสารสกัดทำให้ตัวเต็มวัยมีอสุจิลดลงแต่ไม่มีผลต่อจำนวนไข่เจริญเต็มที่ อีกทั้งพบว่ารังไข่มีโปรตีนสะสมไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) |
Description: | วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 1 |
URI: | https://www.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/234667/161366 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67386 |
ISSN: | 0857-0841 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.