Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67385
Title: | การเปรียบเทียบพันธุ์มันสำปะหลังต่อการเข้าทำลายของไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne incognita(Kofoid and White) Chitwood)และประสิทธิภาพของราปฏิปักษ์รูปการค้าในการควบคุม |
Other Titles: | Comparison of Cassava Varieties on Infection of Root-knot Nematode, Meloidogyne incognita (Kofoid and White) Chitwood and Efficiency of Commercial Products of Antagonistic Fungi for Controlling |
Authors: | ภูมิ ต๊ะอุ่น วีระศักดิ์ ศักดิ์ศิริรัตน์ ศิวิลัย สิริมังครารัตน์ ดวงรัตน์ ธงภักดิ์ |
Authors: | ภูมิ ต๊ะอุ่น วีระศักดิ์ ศักดิ์ศิริรัตน์ ศิวิลัย สิริมังครารัตน์ ดวงรัตน์ ธงภักดิ์ |
Keywords: | ราปฎิปักษ์รูปการค้า;การควบคุม;ไส้เดือนฝอยรากปม;Meloidogyne incognita;พันธุ์มันสำปะหลัง |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | วารสารเกษตร 36, 1 (ม.ค.-เม.ย. 2563), 25-45 |
Abstract: | การทดสอบพันธุ์มันสําปะหลังที่นิยมปลูกจํานวน 10 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ระยอง 5,7,9,11,13,72และ 90,เกษตรศําสตร์ 50 ห้วยบง 60และ 80 ต่อการเข้าทําลายของไส้เดือนฝอยรากปม Meloidogyne inognita(RKN) ในสภาพเรือนทดลอง โดยปลูกมันสําปะหลังในกระถาง (Ø15เซนติเมตร) เมื่อมันสําปะหลังอายุ21 วันจึงราดไข่ไส้เดือนฝอย (3,000 ไข่/ต้น/กระถาง) หลังจากนั้น45 วัน จึงประเมินค่าตัวชี้วัดปริมาณไส้เดือนฝอย(จํานวนปมต่อระบบราก,จํานวนไข่ต่อราก 1 กรัม และจํานวนตัวเต็มวัยเพศเมียต่อราก 1 กรัม) รวมทั้งตัวชี้วัดการเจริญเติบโตของพืช(ความสูงของต้น,น้ำหนักต้นและรากสด และน้ำหนักรากสด) ผลการทดสอบ พบว่าพันธุ์ระยอง 9 อ่อนแอต่อ RKN มากที่สุด ส่วนในการทดสอบประสิทธิภาพของราปฏิปักษ์ รูปการค้า 4 ชนิด ได้ แก่ Beauveria bassiana, Paecilomyces lilacinus, Metarhizium anisopliae และ Trichoderma harzianum เพื่อควบคุม RKN ของมันสําปะหลังพันธุ์ระยอง 9ซึ่งปลูก 1 ต้นต่อกระถาง เปรียบเทียบกับการใช้สารเคมีกําจัดไส้เดือนฝอย carbosulfan, กรรมวิธีควบคุม 1 (ต้นมันสําปะหลังที่มีการราดไข่ไส้เดือนฝอยเพียงอย่างเดียว) และกรรมวิธีควบคุม 2 (ต้นมันสําปะหลังที่ไม่มีการใช้ทั้งเชื้อราปฏิปักษ์และสารเคมี carbosulfan รวมทั้งไม่มีการราดไข่ไส้เดือนฝอย) โดยใช้ราปฏิปักษ์รูปการค้าทั้ง 4 ชนิด ตามอัตราแนะนําในฉลาก ให้กับต้นมันสําปะหลังที่ 7, 5, 3 และ 0 วันก่อนการราดไข่ วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ มี19 กรรมวิธี 4 ซ้ำ หลังจากนั้น 45 วัน จึงประเมินค่าตัวชี้วัดปริมาณไส้เดือนฝอยและตัวชี้วัดการเจริญเติบโตของพืช ผลการทดลอง (16 มีนาคม -1 พฤษภาคม 2561) พบว่า ราปฏิปักษ์รูปการค้าทั้ง 4 ชนิดและสารเคมี carbosulfan มีค่าจํานวนกลุ่มไข่ต่อระบบรากอยู่ระหว่าง 60.35 -276.80 กลุ่มไข่ สามารถลดการเกิดปมลงได้ 60.28-91.34% ซึ่งมีประสิทธิภาพดีกว่ากรรมวิธีควบคุม 1 อย่างชัดเจน (696.96 กลุ่มไข่) (P<0.05) ในการควบคุม RKN ทั้งการใช้ที่ 7, 5, 3 และ 0 วัน ก่อนการราดไข่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้รา T. harzianum7 วัน ก่อนการราดไข่ มีค่าตัวชี้วัดปริมาณ RKN ทุกค่าน้อยกว่ากรรมวิธีอื่นๆทั้งหมดที่มีการทดสอบด้วยไข่ RKN และสามารถลดการเกิดปมลงได้มากที่สุด 91.34% |
Description: | วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 1 |
URI: | https://www.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/207469/161371 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67385 |
ISSN: | 0857-0841 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.