Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67320
Title: | ผลของการปนเปื้อนจากถุงมือที่ใช้ทางทันตกรรมต่อกำลังยึดของวัสดุบูรณะเรซินคอมโพสิตกับเนื้อฟัน |
Other Titles: | Effect of Dental Gloves Contamination to Resin-dentin Bond Strength |
Authors: | ทวีศักดิ์ ประสานสุทธิพร อรณิชา ธนัทวรากรณ์ จุฑาทิพย์ ศรีริเกตุ จุฑามาศ ตั้งสกุลนุรักษ์ เจนวิทย์ บรรจงรุจากุล ชุติมณฑน์ จินดาเชื้อ ณัฏฐา ยังถาวร อิทธิพร สุธีพิเชฐภัณฑ์ สุมนา จิตติเดชารักษ์ |
Authors: | ทวีศักดิ์ ประสานสุทธิพร อรณิชา ธนัทวรากรณ์ จุฑาทิพย์ ศรีริเกตุ จุฑามาศ ตั้งสกุลนุรักษ์ เจนวิทย์ บรรจงรุจากุล ชุติมณฑน์ จินดาเชื้อ ณัฏฐา ยังถาวร อิทธิพร สุธีพิเชฐภัณฑ์ สุมนา จิตติเดชารักษ์ |
Keywords: | ถุงมือทางทันตกรรม;การปนเปื้อน;ค่ากำลังยึด ติด;วัสดุเรซินคอมโพสิต;เนื้อฟัน |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | เชียงใหม่ทันตแพทยสาร 38,1 (ม.ค.-เม.ย. 2560) 83-91 |
Abstract: | วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลจากการปนเปื้อนของถุงมือที่มีแป้งและไม่มีแป้งต่อกำลังยึดติดของวัสดุบูรณะเรซินคอมโพสิตกับเนื้อฟัน เมื่อใช้ร่วมกับสารยึดติดระบบเซลฟ์เอทช์ชนิด 2 ขั้นตอน วิธีการศึกษา: ฟันกรามซี่ที่สามจำนวน 40 ซี่ ตัดบริเวณด้านบดเคี้ยวจนถึงชั้นเนื้อฟันส่วนต้น ทำการขัดเรียบผิวเนื้อฟันด้วยกระดาษทรายน้ำความละเอียด 600 แบ่งกลุ่มฟันตัวอย่างออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม กลุ่มที่ 2 และ 3 ทำการปนเปื้อนวัสดุเรซินคอมโพสิตด้วยถุงมือที่มีแป้งโดยไม่มีการเช็ดหรือเช็ดผิวถุงมือด้วยแอลกอฮอล์เข้มข้นร้อยละ 70 กลุ่มที่ 4 และ 5 ทำการปนเปื้อนวัสดุเรซินคอมโพสิตด้วยถุงมือที่ไม่มีแป้งโดยไม่มีการเช็ดหรือเช็ดผิวถุงมือด้วยแอลกอฮอล์เข้มข้นร้อยละ 70 นำวัสดุบูรณะเรซินคอมโพสิตอุดลงบนเนื้อฟันที่ถูกเตรียมด้วยสารยึดติดระบบเซลฟ์เอทช์ 2 ขั้นตอน (Clearfil™ SE Bond) เก็บฟันตัวอย่างในน้ำกลั่นที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 24ชั่วโมง นำมาตัดให้ได้ชิ้นงานทรงแท่งที่มีพื้นที่หน้าตัด 1 x 1 ตารางมิลลิเมตร และนำไปทดสอบกำลังยึดติดแบบดึงระดับจุลภาค โดยเปรียบเทียบค่ากำลังดึงเฉลี่ยในแต่ละกลุ่มด้วย สถิติ one-way ANOVA และ Tukey test ตรวจความล้มเหลวในการยึดติด ด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงร่วมกับกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด เปรียบเทียบชนิดของความล้มเหลวโดยใช้สถิติ Chi-square (p<0.05) ผลการศึกษา: ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มควบคุมให้ค่ากำลังยึดติดสูงสุดคือ 65.08 MPa โดยค่ากำลังยึดติดลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อมีการปนเปื้อนจากถุงมือในกลุ่ม 5, 3, 2 และ 4 (58.01, 53.98, 52.64, และ 49.41 MPa) ตามลำดับ (p<0.05) สรุป: ควรหลีกเลี่ยงการใช้ถุงมือสัมผัสหรือตกแต่งวัสดุบูรณะเรซินคอมโพสิต เนื่องจากทำให้ค่ากำลังยึดติดระหว่างวัสดุบูรณะเรซินคอมโพสิตและเนื้อฟันมีค่าลดลงถึงแม้ว่าจะทำการเช็ดผิวถุงมือด้วยแอลกอฮอล์แล้วก็ตาม |
Description: | เชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคม |
URI: | http://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2560_38_1_431.pdf http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67320 |
ISSN: | 0857-6920 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.