Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67319
Title: ผลของโปรเเอนโธไซยานิดินต่อแรงยึดติดแบบดึงระดับจุลภาคของเนื้อฟันในโพรงฟัน ที่ผ่านการล้างด้วยโซเดียมไฮโปคลอไรต์กับเรซินคอมโพสิตเมื่อใช้สารยึดติดระบบเซลฟ์เอทช์
Other Titles: Effect of Proanthocyanidin on the Microtensile Bond Strength of Pulp Chamber Dentin after NaOCl Irrigation to Resin Composite using Self-etching Bonding System
Authors: อินทรา วงศ์เยาว์ฟ้า
อนุพงศ์ ทรงเกียรติศักดิ์
Authors: อินทรา วงศ์เยาว์ฟ้า
อนุพงศ์ ทรงเกียรติศักดิ์
Keywords: แรงยึดติดแบบดึงระดับจุลภาค;สารยึดติดชนิด เซลฟเอทช์;โซเดียมไฮโปคลอไรต์;โปรเเอนโธไซยานิดิน;โซเดียมแอสคอร์เบต;คลอเฮกซีดีน
Issue Date: 2560
Publisher: คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร 38,1 (ม.ค.-เม.ย. 2560) 63-70
Abstract: เพื่อศึกษาผลของโปรเเอนโธไซยานิดินต่อแรงยึดติดแบบดึงระดับจุลภาค ของระบบยึดติดเซลฟ์เอทช์ กับเนื้อฟันบริเวณเนื้อฟันในโพรงฟันที่ผ่านการล้างด้วยโซเดียมไฮโปคลอไรต์ โดยใช้ฟันกรามแท้ถอนจำนวน 20 ซี่ ทำการกรอเปิดโพรงฟัน จากนั้นล้างเนื้อฟันบริเวณโพรงฟันด้วย EDTA ตามด้วยโซเดียมไฮโปคลอไรต์ จากนั้นล้างด้วยน้ำกลั่น และแบ่งฟันเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 ไม่ได้รับการปรับปรุงการยึดติดใดๆ และกลุ่มที่ 2-4 ทำการปรับปรุงการยึดติดโดยล้างโปรเเอนโธไซยานิดิน โซเดียมแอสคอร์เบต หรือคลอเฮกซีดีน ตามล�ำดับ จากนั้นอุดด้วยเรซินคอมโพสิตร่วมกับสารยึดติดชนิดเซลฟ์เอทช์ แล้วตัดแต่งชิ้นงานได้กลุ่มละ 20 ชิ้น ทำการทดสอบแรงยึดติดแบบดึงระดับจุลภาค พบว่ากลุ่มที่ 2-4 มีค่าเฉลี่ยแรงยึดติดแบบดึงระดับจุลภาคสูงกว่ากลุ่มที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) สรุปคือการล้างเนื้อฟันในโพรงฟันด้วยโปรเเอนโธไซยานิดิน โซเดียมแอสคอร์เบตหรือคลอเฮกซีดีน สามารถเพิ่มค่าแรงยึดติดระดับจุลภาพให้เนื้อฟันที่ได้การล้างด้วยโซเดียมไฮโปคลอไรต์ได้
Description: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคม
URI: http://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2560_38_1_429.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67319
ISSN: 0857-6920
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.