Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67305
Title: ผลของการปรับสภาพอนุภาคนาโนอลูมินาด้วยสารคู่ควบไซเลนต่อความทนแรงอัด และการเปลี่ยนสีของซี่ฟันเรซิน อะคริลิกชนิดบ่มตัวด้วยความร้อน
Other Titles: Effect of Silanized Alumina Nanoparticles on Compressive Strength and Color Alteration of Heat-Polymerized Acrylic Resin Tooth
Authors: อวัศดาภรณ์ เกตุเห่ง
พิสัยศิษฎ์ ชัยจรีนนท์
บุญชัย เชาวน์ไกลวงศ์
ณัฐวรรธน์ ปลื้มสำราญ
ภัทริกา อังกสิทธิ์
แมนสรวง อักษรนุกิจ
พิริยะ ยาวิราช
Authors: อวัศดาภรณ์ เกตุเห่ง
พิสัยศิษฎ์ ชัยจรีนนท์
บุญชัย เชาวน์ไกลวงศ์
ณัฐวรรธน์ ปลื้มสำราญ
ภัทริกา อังกสิทธิ์
แมนสรวง อักษรนุกิจ
พิริยะ ยาวิราช
Keywords: อนุภาคนาโนอลูมินา;ความทนแรงอัด;สารอัดแทรก;พอลิเมทิลเมทาไครเลต;สารคู่ควบไซเลน
Issue Date: 2560
Publisher: คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร 38,2 (พ.ค.-ส.ค. 2560) 97-110
Abstract: วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของอนุภาคนาโนอลูมินาที่ไม่ผ่านการปรับสภาพพื้นผิวและผ่านการปรับสภาพพื้นผิวด้วยสารคู่ควบไซเลนต่อคุณสมบัติความทนแรงอัด และการเปลี่ยนสีของซี่ฟันเรซินอะคริลิกชนิดบ่มตัวด้วยความร้อน วัสดุและวิธีการ: เตรียมเรซินอะคริลิกสีเหมือนฟันชนิดบ่มตัวด้วยความร้อนรูปทรงกระบอกจำนวน 84 ชิ้นงานสำหรับทดสอบความทนแรงอัดมีความยาวและเส้นผ่าศูนย์กลาง 9 มิลลิเมตร และ 6 มิลลิเมตร ตามลำดับ และชิ้นงานรูปสี่เหลี่ยมจำนวน 168 ชิ้นงาน สำหรับทดสอบการเปลี่ยนสี แบ่งออกเป็นชนิดใสและชนิดสีเหมือนฟันมีความยาว 10 มิลลิเมตร ความกว้าง 10 มิลลิเมตร และหนา 2 มิลลิเมตร ตามลำดับ ชิ้นงานของแต่ละการทดสอบแบ่งออกเป็น 7 กลุ่ม (n=12) กลุ่มทดลองคือ กลุ่มที่เติมอนุภาคนาโนอลูมินาที่ไม่ผ่านการปรับสภาพพื้นผิวด้วยสารคู่ควบไซเลนและกลุ่มที่เติมอนุภาคนาโนอลูมินาที่ผ่านการปรับสภาพพื้นผิวด้วยสารคู่ควบไซเลนร้อยละ 1 3 และ5 โดยน้ำหนัก และกลุ่มควบคุมคือ กลุ่มที่ไม่เติมอนุภาคนาโนอลูมินา นำชิ้นงานมาทดสอบความทนแรงอัดด้วย เครื่องทดสอบสากลและดูการเปลี่ยนสีด้วยเครื่องวัดค่าการดูดกลืนแสง วิเคราะห์ผลทางสถิติด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทางและทดสอบเชิงซ้อนด้วยวิธีทูกี้ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 ผลการศึกษา: มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของค่าความทนแรงอัดของเรซินอะคริลิกชนิดบ่มตัวด้วยความร้อนระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มที่เติมอนุภาคนาโนอลูมินาที่ผ่านการปรับสภาพพื้นผิวด้วยสารคู่ควบไซเลนร้อยละ 1 โดยน้ำหนัก มีค่าความทนแรงอัดสูงสุด (294.41±20.24 เมกะปาสคาล) และกลุ่มที่เติมอนุภาคนาโนอลูมินาที่ไม่ผ่านการปรับสภาพพื้นผิวด้วยสารคู่ควบไซเลนร้อยละ 5 โดยน้ำหนัก มีความทนแรงอัดต่ำสุด (227.67±15.20 เมกะปาสคาล) การทดสอบการเปลี่ยนสีของเรซินอะคริลิกชนิดใส พบว่า กลุ่มร้อยละ 1โดยน้ำหนัก ของอนุภาคนาโนอลูมินาที่ผ่านการปรับสภาพพื้นผิวด้วยสารคู่ควบไซเลนมีการเปลี่ยนสีน้อยที่สุดและในเรซินอะคริลิกชนิดสีเหมือนฟัน พบว่า กลุ่มร้อยละ 5 โดยน้ำหนัก ของอนุภาคนาโนอลูมินาที่ผ่านการปรับสภาพพื้นผิวด้วยสารคู่ควบไซเลน มีการเปลี่ยนสีน้อยที่สุด สรุป: การเติมอนุภาคนาโนอลูมินาที่ผ่านการปรับสภาพพื้นผิวด้วยสารคู่ควบไซเลนร้อยละ 1 โดยน้ำหนักลงในเรซินอะคริลิกชนิดบ่มตัวด้วยความร้อน ทำให้ค่าความทนแรงอัดเพิ่มขึ้นสูงที่สุดแต่จะทำให้มีการเปลี่ยนสีเพิ่มขึ้นอย่างไรก็ตามการเปลี่ยนสีอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ทางคลินิก
Description: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคม
URI: http://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext____451.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67305
ISSN: 0857-6920
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.